ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้บริโภคควรทำอย่างไรเพื่อจะหลีกเลี่ยงสารพิษเหล่านี้?



ผู้บริโภคควรทำอย่างไรเพื่อจะหลีกเลี่ยงสารพิษเหล่านี้?




ในประเทศไทยนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารที่มีพิษตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่ก็มีขั้นตอนของการปฏิบัติที่เป็นไปได้ ที่จะลดปริมาณพิษตกค้างในอาหาร ตามคำแนะนำ 7 ข้อดังต่อไปนี้
  1. ซื้ออาหารที่ติดฉลาก “อาหารอินทรีย์” หรือ “อาหารปลอดภัยสารพิษ” ประเทศไทยปัจจุบันมีร้านที่ขายอาหารคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ได้จัดแผนกสำหรับขายพืชผักอินทรีย์และพืชผักปลอดภัยจากสารพิษโดยเฉพาะ
  2. หลีกเลี่ยงที่จะไม่กินผักและผลไม้ที่มีรายงานว่ามีระดับของสารพิษตกค้างสูง ซึ่งรวมทั้งผลไม้นำเข้า เช่น สตรอเบอรี่ องุ่น และผัก เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว อ่านหนังสือพิมพ์และฟังวิทยุ เพื่อจะได้ทราบว่ามีการพบอาหารอะไรบ้างที่มีการปนเปื้อน
  3. หลีกเลี่ยงการซื้อและการรับประทานผักและผลไม้นอกฤดู มีเกษตรกรบางรายพยายามที่จะปลูกพืชผลเพื่อให้ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล ซึ่งสามารถขายได้ราคาดี แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากด้วย
  4. ใช้น้ำล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ก่อนนำไปปรุงและรับประทาน และถ้าหากคุณไม่รับประทานผักในวันที่ซื้อ ก็ให้ล้างเสียก่อนที่จะนำไปเก็บในตู้เย็น สารตกค้างบางชนิดจะอยู่บนผิวของผักและผลไม้ ที่อาจขจัดออกไปได้ด้วยการปลอกผิวออกหรือใช้แปรงปัดออกไป
  5. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว แทนการรับประทานดิบๆ การปรุงอาหารด้วยการหุงต้มนั้น จะช่วยลดปริมาณของสารกำจัดศัตรูพืช เพราะว่าความร้อนจะไปทำลายสารเคมีบางตัวได้
  6. มองหาป้ายสัญลักษณ์ “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” เมื่อออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ภัตตาคารและร้านอาหารที่มีป้ายนี้ ได้รับการตรวจสอบจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
  7. ระมัดระวังการใช้สารเคมีในห้องครัวของท่าน อย่าเก็บสารกำจัดศัตรูพืช (เช่น ไบกอน เรด) และอาหารเอาไว้ในตู้เดียวกัน อย่าใช้สารกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวนี้ ใกล้กับอาหาร หรือในบริเวณพื้นที่ที่ใช้เตรียมอาหาร
นอกเหนือจากคำแนะนำข้างต้นแล้ว ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งยังหลีกเลี่ยงที่จะซื้อผลผลิตที่รูปลักษณ์ภายนอกสวยงาม เพราะเชื่อว่าผักที่มีรอยจากการทำลายของแมลง เช่น มีรูที่ใบ แสดงให้เห็นว่าไม่มีการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชก่อนการเก็บเกี่ยว ความเชื่อนี้ก็มีความจริงอยู่บ้าง แต่เกษตรกรอินทรีย์ก็ผลิตผักที่มีลักษณะสวยงามได้เช่นกัน และเกษตรกรที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชอาจฉีดพ่นสารเคมีหลังจากที่ผักถูกทำลายด้วยศัตรูพืช ดังนั้นลักษณะภายนอกอย่างเดียวไม่สามารถระบุว่าผักปลอดภัย แต่ต้องคำนึงถึงชนิดของอาหาร แหล่งที่ซื้อ และการเตรียมอาหารด้วย

ที่่มา :  http://www.ipmthailand.org/th/Your_poison/21_what_can_consumers.htm

ข้อแนะนำ  เราหลี่กเลี่ยงสารเคมีในชีวิตประจำวัน จากมลพิษ สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ของใช้ การสัมผัส การหายใจเท่าที่ป้องกันได้  หากแต่ที่ทำได้คือ หยุดเสี่ยง บริโภคสารเคมีเข้าสู่ร่างกายโดยตรง อย่างน้อยก็มีสุขภาพดีไม่ต้องสิ้นเปลืองค่ายารักษาและทุกข์ทรมานกับโรคภัยไข้เจ็บ เราหันมาป้องกันดีกว่าเยียวยากันนะ 


สนับสนุนโดย  คูเน่  โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น