ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผงชูรส มีประโยชน์หรือโทษกันแน่


ผงชูรส ประโยชน์และโทษ
สารปรุงแต่งรสอาหาร ผงชูรสมีที่มาเริ่มจากในปี พ.ศ.2451 ศาสตราจารย์ ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล ประเทศญี่ปุ่น ค้นพบว่าผลึกสีน้ำตาลที่สกัดจากสาหร่ายทะเลที่ชื่อว่าคอมบุ คือ กรดกลูตามิก และเมื่อลองชิมพบว่ามีรสใกล้เคียงกับซุปสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นอาหารประจำวันของชาวญี่ปุ่นที่บริโภคกันมาหลายร้อยปี 

จึงตั้งชื่อรสชาติของกรดกลูตามิกที่สกัดได้ว่า "อูมามิ" หลังจากนั้นได้จดสิทธิบัตรการผลิตกรดกลูตามิกในปริมาณมากๆ อันเป็นที่มาของอุตสาหกรรมผงชูรสในปัจจุบัน 
ผงชูรสมีการขายในเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ภายใต้ชื่อการค้าเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า อายิโนะโมะโต๊ะ หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ ผลิตโดยใช้วิธีการย่อยแป้งสาลีด้วยกรด เพื่อให้ได้กรดอะมิโนแล้วจึงแยกกลูตาเมตออกมาภายหลัง 

กระบวนการผลิตในปัจจุบันเริ่มจากใช้ขบวนการย่อยสลายแป้งมันสำปะหลังทางเคมี โดยใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริกที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส จนได้สารละลายน้ำตาลกลูโคส จากนั้นผ่านกระบวนการหมักโดยใช้ยูเรียและเชื้อจุลินทรีย์จนได้แอมโมเนียกลูตาเมต ส่งผ่านกระบวนการทางเคมีต่อโดยใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก จนได้เป็นกรดกลูตามิก และผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สารละลายผงชูรสหยาบ นำไปผ่านขบวนการฟอกสีโดยใช้สารฟอกสี จนเป็นสารละลายผงชูรสใส แล้วผ่านขั้นตอนสุดท้ายด้วยการทำให้ตกผลึกจนกลายเป็นผลึกผงชูรส 

อาการแพ้ผงชูรส หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ไชนีสเรสทัวรองซินโดรม" (Chinese Restaurant Syndrome) หรือ "โรคภัตตาคารจีน" เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมากนั่นเอง จะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก 

ประโยชน์ผงชูรสคงแค่เพิ่มความอร่อย แต่มีโทษมหันต์ถ้ากินในปริมาณมากเกินไป กำหนดไว้ไม่ควรบริโภคเกิน 2  ช้อนชาต่อวัน 

หากบริโภคมากเกินไปผงชูรสจะไปทำลายสมองส่วนควบคุมการเจริญเติบโต และระบบสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำลาย ระบบประสาทตา สายตาเสีย ก่อให้เกิดมะเร็งได้โดยเฉพาะอาหารที่หมักผงชูรสแล้วนำไปปิ้ง ย่าง นอกจากนี้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ถ้าบริโภคมากเกินไปจะผ่านเยื่อกั้นระหว่างรกภายในร่างกายของผู้เป็นมารดากับทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับผลกระทบจากผงชูรสด้วย 

วิธีการเลือกซื้อไม่ควรใช้ผงชูรสปลอม และเลือกซื้อผงชูรสที่ในภาชบรรจุนะปิดผนึกเรียบร้อย

ที่มา :  http://www.foodsafety.bangkok.go.th/new2/read_article.php?cat_id=6&txt_id=405



หัวข้อ : เตือนใช้ผงปรุงรสเสี่ยงป่วยโรคหัวใจ
ZigmaKwang
คำถามที่ Q14869 วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 เวลา 21:55 น.
คะแนนโหวต : 0

Joined : 02 ตุลาคม 2553
ระดับความขยัน : 1181
ค่าประสบการณ์ : 11
ค่าใจ : 35
ค่าใจดี : 16
ดูเว็บ BLOG ของ ZigmaKwang

ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีที่ประชาชนมีความนิยมในการใช้ผงปรุงรส หรือก้อนปรุงรสเพิ่มมากขึ้นว่า จากการเก็บข้อมูลส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว พบว่าส่วนผสมส่วนใหญ่ร้อยละ 40 ประกอบไปด้วยโซเดียมหรือเกลือ รองลงมาคือ ไขมันปาล์มร้อยละ 18-20 และผงชูรสร้อยละ 15-20 แต่หากเป็นชนิดที่ไม่มีผงชูรส ก็จะเปลี่ยนเป็นเกลือเพิ่มขึ้น และน้ำตาล ร้อยละ 8-10 เพื่อทำให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น

นอกจากนี้ก็จะมีเนื้อสัตว์อบแห้งเพื่อเลียนแบบของธรรมชาติ โดยทั้งผลิตภัณฑ์ชนิดก้อนและผงมีส่วนประกอบที่ไม่ต่างกันมากนัก

ผศ.ดร.วันทนีย์กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลด้านโภชนาการ ในการเติมส่วนประกอบดังกล่าวลงในอาหาร คือ อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป โดยพบว่าก้อนปรุงรส 1 ก้อน มีปริมาณโซเดียม 1,800 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา โดยปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันอยู่ที่ 1,000-1,500 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งในการบริโภคแต่ละวัน จะได้รับโซเดียมจากแหล่งต่างๆ อยู่แล้ว ทั้งในผัก ผลไม้ และจากการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ ทำให้เมื่อใส่ผงปรุงรสโอกาสที่จะได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ และหากรับประทานติดต่อกันอย่างต่อเนื่องก็ทำให้เกิดผลต่อสุขภาพได้ในที่สุด

"ประชาชนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยการใช้ผักทดแทน เช่น แครอต หัวไช้เท้า กระดูก เพราะการเติมผงหรือก้อนปรุงรสมีความเสี่ยงที่จะทำให้ได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ และพบว่าประชาชนมักเพิ่มเครื่องปรุงชนิดอื่นลงไปอีก ทั้งซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล ยิ่งทำให้ได้รับปริมาณเพิ่มขึ้น โดยการได้รับโซเดียมมาก สัมพันธ์กับโรคความดัน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือด หัวใจ หลอดเลือดสมอง หากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ก็จะยิ่งได้รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก" ผศ.ดร.ววันัทนีย์กล่าว
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Slogan ไม่มีชัยชนะใดยากและยิ่งใหญ่เท่าชนะใจตัวเอง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : http://www.nongmaiclub.com/board_show_question.php?qs_qno=14869&idgroup=&search=&status_s=&order=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น