ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ร่วมส่งความปรารถนาดีในวันปีใหม่ ให้สุขกาย สุขใจ กันถ้วนหน้า


MONDAY, DECEMBER 24, 2012

บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ร่วมส่งความปรารถนาดีในวันปีใหม่ ให้สุขกาย สุขใจ กันถ้วนหน้า


ในศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ท่านพร้อมครอบครัว ประสบแต่ความสุขด้วยจตุรพิธพรชัย สมบูรณ์พูนผลในสิ่งที่พึงปรารถนาทุกประการ

สุขเอ๋ย สุขใจ สุขภายใน เมื่อใจหยุด
สุขใส ผ่องพิสุทธิ์ ยิ่งผ่องผุด ดุจจันทร์ฉาย
ยิ่งนิ่ง ยิ่งสว่าง ยิ่งกระจ่าง นุ่มนวลพราย
ยิ่งหยุดยิ่งมากมาย ความสุขสุด อนันต์ทวี





ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด
ผู้ผลิตและจำหน่าย Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสหอมหัวใหญ่ เพื่อสุขภาพ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยารักษาโรคมีผลข้างเคียงเมื่อรับประทานร่วมกับส้มโอ


มียารักษาโรคหลายชนิดมากขึ้นที่มีปฏิกริยาทางต่อร่างกายเมื่อรับประทานร่วมกับส้มโอ




ในช่วง 4 ปีระหว่างปีพุทธศักราช 2551 ถึง 2555 มียารักษาโรคที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายหากรับประทานร่วมกันส้มโอเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 17 ชนิดเป็น 43 ชนิด ในช่วง 4 ปีนั้น บรรดานักวิจัยกล่าวว่ามียารักษาโรคที่ออกมาสู่ตลาดปีละ 6 ชนิดเป็นอย่างน้อยที่มีผลข้างเคียงรุนแรงนี้
 

ส้มโอมีเอ็นไซม์ที่เรียกว่า CYP23A4 ที่มีปฏิกริยากับยารักษาโรคบางชนิดในกระเพาะอาหารและลำใส้ ทำให้ผลของยาลดลงหรือไม่ก็ไปเพิ่มฤทธิ์ของยาในกระเเสเลือดให้รุนแรงมากขึ้นถึงขั้นเป็นอันตรายได้

ยาที่มีปฏิกริยาทางลบหากรับประทานร่วมกับส้มโอได้แก่ยาลดไขมันในเส้นเลือดและยาลดระดับความดันโลหิต

คุณเดวิด เบลลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์ที่สถาบันวิจัยสุขภาพ Lawson Health Research Institute ในออนโตริโอ้ประเทศแคนาดากล่าวว่าผู้ผลิตยาหลายบริษัทระบุผลข้างเคียงของยาหากรับประทานร่วมกับส้มโอบนฉลากยาแต่แพทย์จำนวนมากยังไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้

เขากล่าวว่าจำเป็นต้องเผยแพร่ข้อมูลนี้ให้แพทย์รับรู้เพื่อให้สามารถแนะนำในการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่ผู้ป่วย
ยารักษาโรคที่ได้รับผลกระทบจากน้ำส้มโอมักจะเป็นยารับประทาน คุณเดวิด เบลลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านยากล่าวว่าโดยปกติแล้วฤทธิืยาจะเข้าไปในกระแสเลือดเพียงเล็กน้อยหลังจากคนไข้กลืนยาลงไป แต่ระดับฤทธิ์ของยาจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับอันตรายหากมีการรับประทานส้มโอหรือดื่มน้ำส้มโอตามลงไปหรือก่อนหน้าเนื่องจากเอนไซม์ CYP23A4 จากส้มโอจะไปทำปฏิกริยากับยาในกระเพาะอาหาร

คุณเบลลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านยากล่าวว่าปริมาณน้ำส้มโอที่ดื่มไม่ว่าจะมากเป็นลิตรๆหรือจะแค่แก้วเดียวก็ล้วนมีผลต่อฤทธิ์ของยาบางชนิดเช่นเดียวกัน ปฏิกริยาทางลบนี้อาจะทำใ้ห้เกิดอาการเลือดออกในลำใส้ การทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และเกิดการเสียชีวิตอย่างฉับพลัน อาการป่วยจากฤทธิ์ของยาที่ทวีคูณขึ้นอาจจะเกิดขึ้นหลังดื่มน้ำส้มโอไปนานแล้วก็ได้

คุณเบลลี่กล่าวว่าก่อนซื้อยา คุณควรสอบถามแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกรที่ร้ายขายยาเสียก่อนว่ายาที่จะซื้อนั้นสามารถรับประทานร่วมกับส้มโอหรือน้ำส้มโอได้หรือไม่

บทความเกี่ยวกับผลร้ายของยาหากรับประทานกับส้มโอโดยคุณเดวิด เบลลี่ผู้เชี่ยวชาญด้านยาแคนาดาและทีมงานวิจัยตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ในวารสาร Canadian Medical Association Journal

ที่มา : http://www.voathai.com/content/grapefruit-study-tk/1566222.html

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สุดๆกับวันสบายๆ อารมณ์ดี


    

26 วิธีอารมณ์ดีตลอดกาล

ศิลปะ หางานอดิเรกเกี่ยวกับด้านศิลปะมาทำ เช่น การถ่ายภาพ วาดภาพ ร้องเพลง เต้นรำ เป็นต้น เพื่อให้ตัวท่านเองมีาจิตใจอ่อนโยน มีหัวใจศิลปิน อารมณ์ท่านก็จะดีตามไปด้วย การอาบน้ำ
การอาบน้ำด้วยน้ำเย็นจะช่วยให้ท่านสดชื่น มีชีวิตชีวา เพราะฉะนั้นในแต่ละวันควรให้ความสำคัญกับการอาบน้ำ เพราะจะเป็นช่วงเวลาส่วนตัวที่ทุกคนได้ผ่อนคลายที่สุดของแต่ละวันหลังจากทำงานมาเครียดๆ
มิตรสหาย ควรจะหาเพื่อนที่อารมณ์ดีมาเป็นคู่สนทนา เมื่อคุยกับเพื่อนคนนี้จะต้องมีเรื่องสนุกคุยกันจะเป็นการช่วยให้ท่านได้มีโอกาสผ่อนคลาย โดยอาจจะเป็นการโทรศัพท์ไปคุยกันก็ได้เพื่อให้มีความสนุก
เปิดเผย ท่านจะต้องไม่เป็นคนที่เก็บกดปัญหาต่างๆ จะต้องหาคนพูดคุย คนปรึกษา ถ้าปัญหาที่ท่านเผชิญอยู่เก็บไว้คนเดียวอารมณ์ของท่านจะหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา
รู้จักพอ ท่านจะต้องฝึกเป็นผู้มีความเพียงพอในเรื่องต่างๆ แล้วไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใครจะได้จะเสียอะไร ตัวท่านจะต้องรู้จักตัวเองว่า ความพอดีของตัวท่านเองอยู่ที่ไหนแล้วอารมณ์ของท่านจะสดใส อย่าวิ่งตามกระแสสังคม
อาหาร ในแต่ละมื้ออาหารท่านควรจะรับประทานให้พออิ่ม อย่าให้มากหรือน้อยจนเกินไป และที่สำคัญ ควรรับประทานอาหารที่มีผักมากๆ เนื่องจากการย่อยจะง่าย ท้องไส้ไม่ปั่นป่วน ควรจะทานเนื้อให้น้อยๆ เน้นผลไม้ให้มาก ชีวิตระหว่างมื้ออาหารท่านก็จะสดใสไม่หงุดหงิด
การให้ ท่านจะต้องรู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากการให้ เช่นให้รอยยิ้ม ให้คำชม ให้การช่วยเหลือ ให้อาหาร มีความปรารถนาดีกับคนรอบข้าง แล้วท่านจะได้รู้ว่าวันที่ท่านมีโอกาสให้วันนั้นจะเป็นวันที่ท่านมีความสุขอย่างแท้จริง
บำบัดรักษา เมื่อเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายใจ เช่นเป็นไข้ เป็นหวัด ก็ให้รีบรักษาเนื่องจากอาการเจ็บป่วยทางกายทำให้จิตใจไม่สดชื่นไปด้วย
ทำให้คนอื่นเกิดความประทับใจ เมื่อแรกพบท่านด้วยการแสดงความเป็นคนอารมณ์ดีแล้วคนอื่นจะจดจำท่านได้ดี มีคนคิดถึง
เรื่องขำขัน พยายามหาเรื่องที่ขำขันมาเล่าให้กันฟัง เพื่อสร้างความสดชื่นให้กับวงสนทนา แต่ต้องหลีกเลี่ยงการนำเรื่องความผิดพลาดของคนอื่นมาเล่าตลกกัน เพราะถ้าท่านโดนด้วยตัวเองคงจะอารมณ์ไม่ดี
ท่านต้องฝึกตัวเองเป็นฆาตกร เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่ากิเลสตัณหาในตัวของท่าน เมื่อฆ่าความไม่ดีไมงามทั้งหลายออกจากจิตใจ ชีวิตก็จะเป็นสุขสนุกสนาน
หัวเราะ การหาโอกาสหัวเราะให้ได้ในแต่ละวันจะเป็นกำไรชีวิต แถมอารมณ์ก็ดีด้วย ถ้าอยู่คนเดียวก็ลองนึกถึงเรื่องที่ท่านเคยขำ แล้วท่านจะหัวเราะ การหัวเราะแต่ละครั้งจะช่วยยืดอายุท่านได้ 12 นาที
ตื่นเช้า การตื่นเช้าต้อนรับวันใหม่จนเป็นนิสัยจะทำให้ท่านรู้สึกสบายใจเนื่องจากไม่ต้องเร่งรีบจนเกินไปในการเดินทางไปทำงาน ตลอดวันทำงานรับรองอารมณ์ท่านจะดีอย่างแน่นอน
ทางสายกลาง ท่านจะต้องพยายามทำตัวเองให้มีความพอดี มีความสมดุล ไม่วิ่งตามโลกตามกระแสสังคมมากเกินไป เมื่อสังคมภายนอกเปลี่ยนแปลงท่านก็จะอยู่ได้อย่างไม่เจ็บปวด
ผู้ชมหน้าเวที กำลังจ้องมองท่านอยู่ ให้สมมุติว่าตัวท่านเป็นนักแสดงที่ยิ่งใหญ่ เป็นดาราระดับซูปเปอร์สตาร์ ทุกอย่างที่ท่านกำลังทำหรือจะทำคือการแสดง แล้วท่านจะมีอารมณ์ดีตลอดกาล
มองโลกในแง่บวก ความไม่ดี ความคิดเชิงลบเป็นตัวส่งเสริมความหงุดหงิดของอารมณ์ จงเลือกที่จะคิดในสิ่งที่สร้างสรรค์ มองในมุมที่สบายใจ ใช้ความเป็นธรรมในการตัดสินปัญหา
จดข้อความที่น่าสนใจ มีข้อคิด กลอน คำกล่าว คติเตือนใจ หลายๆอันที่น่าสนใจและเมื่อได้เห็นได้อ่านแล้วสบายใจ ก็ให้จดไว้ใกล้โต๊ะทำงาน เมื่อท่านมองดูแล้วก็จะสบายใจ เช่น " คนอ่านน่ารัก "
อ่าน หาหนังสือที่ช่วยให้อารมณ์ขันมาอ่าน เช่นการ์ตูน ขำขัน นิยายตลก และอาจรวมไปถึงไปถึงการดู วีดีโอตลก ฟังเทปตลก เป็นต้น เหล่านี้สามารถสร้างอารมณ์ที่สดชื่นได้ตลอด
นอน อยากมีอารมณ์ดีจะต้องนอนให้เพียงพอถ้าท่านนอนน้อย วันต่อมาไปทำงานท่านจะรู้สึกว่าเฉื่อยๆ ไม่กระฉับกระเฉง ง่วงนอน คนเราจะต้องนอนวันละประมาณ 7-8 ชั่วโมง ระวังอย่านอนมากเกิน
คิดถึงคนที่เรารักเรื่องที่เราประทับใจ คิดถึงอนาคตของครอบครัวที่มีความสุข พ่อ แม่ ลูก การคิดถึงเรื่องที่มีความสุขจะทำให้ท่านอารมณ์ดีเพราะ " ความคิดเป็นตัวกำหนดชีวิตของท่าน "
เข้าใจอะไรง่าย ฝึกเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ แล้วทำความเข้าใจ บางคนเป็นคนมีปัญหาชอบตั้งคำถามจนคนอื่นรำคาญใจ ตัวเองก็พลอยหงุดหงิดไปด้วย
วิตามิน ชนิดต่างๆ มีความสำคัญต่อนร่างกายเช่น วิตามิน อี มีผลต่อผิวหนัง วิตามินซีมีส่วนช่วยให้ฟันแข็งแรง ดังนั้น ถ้าร่างกายได้รับวิตามินชนิดต่างๆ ตามที่ร่างกายต้องการก็จะทำให้สุขภาพดี
ความปรารถนา ท่านจะต้องกำหนดให้เป็นพันธกิจของตัวเองเลยว่า "ข้าพเจ้าจะเป็นคนที่อารมณ์ดีตลอดกาล ไม่ว่าปัญหาใดๆ จะเข้ามาในชีวิตก็ตาม"
งดเว้น การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น อุบัติเหตุ รายได้ของครอบครัว ทะเลาะวิวาท แถมบั่นทอนสุขภาพ ควรอยู่ให้ห่างของมึนเมา
ร้องออกมาเสียงดังๆ เมื่อท่านทำอะไรบางอย่างสำเร็จ เช่นทำงานโครงการที่ใช้เวลานาน แข่งกีฬาชนะ ขายสินค้าได้ แต่ก็ควรระวังก่อนจะร้องออกมาดูคนรอบข้างด้วย
การมีใจจดจ่อ ต่อเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของท่านแต่ละอย่าง คิดอย่างรอบคอบเพื่อลดความผิดพลาด อันเป็นบ่อเกิดของอารมณ์ที่ไม่ดี
ท้ายสุดทุกท่านถ้าทำได้ตามข้อแนะนำเบื้องต้นแล้ว อารมณ์ท่านก็จะดีตลอดกาล เริ่มตั้งแต่วันนี้ ขอฝากคำกลอนเป็นข้อคิดให้กับท่านผู้อ่านทุกท่าน

" ถ้าครั้งหนึ่งในชีวิตเคยผิดพลาด
ต้องฉลาดเรียนรู้สู่ความหวัง
นำสิ่งนั้นมาเสริมเพิ่มพลัง
ทิ้งความหลังเพื่อชีวิตใหม่สดใสเทอญ "
http://kunkhong.blogspot.com/2008/08/26.html

กิจกรรมตัวอย่างสำหรับการออกกำลังกาย



การเล่นกีฬาแต่ละชนิดจะให้ผลต่อหัวใจเหมือนกันหรือไม่
การออกกำลังกายจะมีผลดีต่อปอด และหัวใจ คือการออกำลังกายที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีความหนักพอควร ดังนั้นการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายแต่ละชนิดจะมีผลต่อหัวใจ และปอดไม่เหมือนกัน ตารางข้างล่างเป็นการแสดงการออกกำลังกายที่มีผลต่อปอด และหัวใจ
ออกกำลังกายอย่างเบาLight-Intensity Activities ต้องใช้เวลาในการออกกำลังกาย 60 นาที
  • การเดินอย่างช้า
  • การเล่นกอลฟ์
  • การว่ายน้ำอย่างช้า
  • การทำสวน
  • การขี่จักรยานที่มีความต้านต่ำ
  • การกวาดบ้านหรือดูดฝุ่น
  • การทำกายบริหาร
  • Badminton
  • Baseball
  • Bowling
  • Football
  • Gardening
  • การทำงานบ้าน Housework
  • Ping-pong
  • Social Dancing
การออกกำลังกายปานกลาง Moderate-Intensity Activities: ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 30-60 นาที

  • เดินอย่งเร็ว
  • การเล่นกอลฟ์โดยการแบกถุงกอลฟ์
  • การว่ายน้ำอย่างต่อเนื่อง
  • การตัดหญ้า
  • การเล่นเทนนิสชนิดคู่
  • ขี่จักรยาน 5-9 ไมล์
  • การขัดพื้นหรือล้างหน้าต่าง
  • การยกน้ำหนัก
  • Basketball
  • Handball
  • Soccer
  • Squash
  • Tennis 
  • Volleyball
  • Walking Moderately
การออกกำลังกายอย่างหนัก Vigorous-Intensity Activities: ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 20-30 นาที
  • การวิ่งแข่ง การวิ่งจ็อกกิ่ง
  • การว่ายน้ำแข่ง
  • การตัดหญ้าโดยใช้มือ
  • การเล่น Tennis เดี่ยว
  • การขี่จักรยานขึ้นเขาหรือขี่มากกว่า 10 ไมล์
  • การเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์
  • การบริหารใน ฟิตเนส
  • Aerobic Dancing
  • Bicycling
  • Jogging
  • Jumping Rope
  • Running in Place
  • Stair-climbing
  • Stationary Cycling
  • Swimming
  • Walking Briskly
เนื่องจากการออกกำลังกายแต่ละชนิดมีความหนักหรือการใช้ออกซิเจนไม่เท่ากัน ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้จึงต้องแต่ต่างกัน กิจกรรมที่เบาหรือปานกลางต้องใช้เวลามากกว่ากิจกรรมที่หนัก โดยทั่วไปมีหลักดังนี้
  • การออกกกำลังกายอย่างเบาควรจะใช้เวลาในการออกกำลังประมาณ 60 นาที
  • การออกกกำลังกายชนิดปานกลางใช้เวลาในการอออกกำลังกายประมาณ 30-60 นาที
  • การออกกกำลังกายชนิดหนักใช้เวลาในการอออกกำลังกายประมาณ 20-30 นาที

“ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค”


โครงการ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” ภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือ (โซเดียม) ในประเทศไทย” ซึ่งเป็นความร่วมมือของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์, กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารรสชาติเค็ม โดยเน้นรณรงค์ลดการบริโภคเค็มลงครึ่งหนึ่งก่อน เพื่อลดความเสี่ยงป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังข้างต้นซึ่งล้วนเป็นโรคที่ต้องใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลสูง
โครงการได้เข้าร่วมงาน Thailand Medical Expo 2012 ในระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การแสดงสินค้าไบเทค บางนา ซึ่งภายในงานมีการออกบู๊ทจากคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงพยาบาลชั้นนำ ราชวิทยาลัยต่างๆในการดูแลของแพทยสมาคม ซึ่งโครงการฯได้เป็นตัวแทนของ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ออกบู๊ทแสดงตัวอาหารที่นิยมบริโภคทั่วไปพร้อมทั้งแสดงปริมาณเกลือที่เป็นส่วนผสมของอาหารเหล่านั้น และยังมีการให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจ โดยนักกำหนดอาหารและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีการเล่นเกมแจกของรางวัล ซึ่งบู๊ทของโครงการฯเป็นที่สนใจของทั้งนักเรียนนักศึกษา แพทย์ และประชาชนผู้เข้าร่วมงาน

ในวันที่ 2 ต.ค. 2555 โครงการฯได้รับเกียรติจาก อาจารย์ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหาร มาสาธิตการประกอบอาหารลดเค็มได้แก่ ผักม้วน 5 สีน้ำแดง ซึ่งได้รับความสนใจจากคนในงานเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการแจกอาหารให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชิมกันอย่างถ้วนหน้า และในช่วงบ่าย มีการเสวนาเรื่อง “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” โดย นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานโครงการฯ แพทย์หญิงวีรนุช รอบสันติสุข สาขาโรคความดันโลหิตสูง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช และนักกำหนดอาหาร โดยได้รับเกียรติจาก ทญ.กิตติลักษณ์ จุลลัษเฐียร (จุ้มจิ้ม AF1) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดียิ่ง
ที่มา : เครือข่ายลดบริโภคเค็ม  http://www.thaihealth.or.th/node/31513

พบคนไทยกินเค็มเกินต้องการ 2 เท่า เร่งรณรงค์ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค


          ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จับมือ สธ.-สสส. และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เร่งรณรงค์ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” พบคนไทยกินเค็มเกินต้องการ 2 เท่า ได้รับเกลือไม่รู้ตัว เหตุกินข้าวนอกบ้าน ชอบเติมเครื่องปรุงกลายเป็นภัยเงียบ เสี่ยงเป็นความดัน หัวใจ โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะกินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน เร่งให้ความรู้ ประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

          นพ.โสภณ  เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคเรื้อรังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขใหญ่ของไทย พบว่า คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 21.4 หรือ11.5 ล้านคน โรคไต ร้อยละ 17.5 หรือ 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด ร้อยละ 1.4 หรือ 0.75 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 1.1 หรือ 0.5 ล้านคน โรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง อาหารรสชาติเค็ม เป็นอาหารที่มีเกลือ หรือ โซเดียมสูง ถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง จึงแนะนำให้บริโภคเกลือไม่เกินวันละ 5 กรัม ถ้าเทียบเป็นปริมาณโซเดียมก็ไม่ควรเกิน วันละ 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา
          “จากการสำรวจพบว่า คนไทยบริโภค เกลือ และโซเดียมสูงกว่าเกินที่แนะนำ 2 เท่า หรือ 10.8 กรัม หรือ 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย (2550-2559) โดยกำหนดเป้าหมายหลักในการพัฒนาลดปัญหาโรควิถีชีวิต ที่สำคัญ 5 โรค (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง)” นพ.โสภณกล่าว
           ศ.นพ.เกรียง  ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ และเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม จะช่วยลดภาระโรค รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้จัดโครงการ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” ภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือ (โซเดียม) ในประเทศไทย” ซึ่งเป็นความร่วมมือของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย,สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์, กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารรสชาติเค็ม
          ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลักของคนไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) ซื้ออาหารกลางวันนอกบ้าน ประเภทอาหารที่ทานบ่อยคือ ข้าวราดแกง อาหารจานเดียว/อาหารตามสั่ง และก๋วยเตี๋ยว ที่สำคัญพบว่าประชากรมีพฤติกรรมการปรุงเพิ่ม โดยเติมเครื่องปรุงรสเป็นนิสัย คนไทยได้รับโซเดียมจากการกินอาหารในแต่ละมื้อโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมักอยู่ในอาหารแปรรูป โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสซึ่งนิยมใช้มาก 5 ลำดับแรก คือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม เมื่อเทียบจะพบว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม
        ผศ.นพ.สุรศักดิ์  กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าอาหารถุงปรุงสำเร็จ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815-3,527 มิลลิกรัม อาทิ ไข่พะโล้  แกงไตปลา คั่วกลิ้ง ฯลฯ ส่วนอาหารจานเดียว มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งจาน อาทิ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู และข้าวคลุกกะปิ ฯลฯ ทั้งนี้การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดเค็ม ทำได้ง่ายๆ คือ 1.หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส 2.หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงในอาหารจานเดียว 3.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม อาหารแปรรูป 4.เลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยำ เพื่อทดแทนรสชาติเค็ม 5.น้ำซุปต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ควรรับประทานแต่น้อยหรือเทน้ำซุปออกบางส่วนแล้วเติมน้ำเพื่อเจือจางลง และ6.สังเกตปริมาณโซเดียมที่ฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหารสำเร็จรูป และขนมถุง ก่อนรับประทาน
ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข  http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news_thaihealth/31089