ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

กินเพื่อสุขภาพ... ดีอย่างยั่งยืน



หลายคนทราบแล้วว่า อาหาร กับ สุขภาพ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก โรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้ร่างกายมีอาการทุรนทุราย หลายอย่างเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารด้วยส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น เช่น เลือกรับประทานผักมากกว่าเนื้อสัตว์ เลี่ยงที่จะบริโภคไขมัน แต่บางคนก็ทำจนเกินความพอดี ทำให้ขาดความสุขในการลิ้มรสชาติของอาหาร (แต่ถ้านั่นคือความสุขอย่างหนึ่งก็ไม่ว่ากัน) การรับประทานเพื่อสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องอดๆ อยากๆ ปทุมรัตน์ เพียรชอบ ผู้จัดการ Wellness บริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านเทคโนโลยีอาหาร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Food Science จากมิชิแกน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เทรนด์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเกิดขึ้นทั่วโลก และมีมากมายหลายแนวคิด และแนวคิดหนึ่งที่เนสท์เล่คิดว่า จะสร้างสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับผู้บริโภคชาวไทย ก็คือแนวทาง Balanced Diet & Lifestyle หรือ กินอยู่อย่างสมดุลและวิถีการใช้ชีวิต หมายถึงการสะท้อนข้อคิดในการ บริโภคอาหาร และ การใช้ชีวิต ให้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน
ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีหนังสือให้อ่านมากมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่า จะมีนิสัยเสาะแสวงหาการอ่านมากน้อยเพียงใดด้วย
อาหารที่สมดุล-พฤติกรรมตัวเอง
แนวคิดในการบริโภคแบบ Balanced Diet & Lifestyle แยกเป็นสองส่วน คือ Balanced Diet หรือ อาหารที่สมดุล หมายถึง ความหลากหลาย ต้องรับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย อาหารมีด้วยกัน 5 หมู่ ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ อย่ารับประทานอาหารอย่างเดิมซ้ำๆ กันไม่ยอมเปลี่ยน หรือรับประทานอาหารอยู่ประเภทเดียว
และอาหารทั้ง 5 หมู่นั้น ต้องรับประทานใน สัดส่วนที่พอเหมาะ กับ ไลฟ์สไตล์ นั่นก็คือการพิจารณาสัดส่วนอาหารให้เหมาะกับ วัย เพศ ขนาดของร่างกาย และ พฤติกรรมการใช้ชีวิต
เราควรรู้ว่าตนเองต้องการพลังงานกี่กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งหลักพื้นฐานเบื้องต้นคือ
 
ผู้หญิง ต้องการพลังงาน 1,600-2,000 กิโลแคลอรี/วัน
 
เด็ก ต้องการพลังงาน 1,200-1,800 กิโลแคลอรีวัน
 
ผู้ชาย ต้องการพลังงาน 2,000-2,500 กิโลแคลอรี/วัน
 
ผู้ใช้แรงงานหนัก (หรือผู้ออกกำลังกาย) ต้องการพลังงานมากกว่า 3,000 กิโลแคลอรี/วัน

และที่ควรรู้มากขึ้นไปอีกคือ ปริมาณอาหารแต่ละประเภทที่บริโภคในแต่ละวัน ให้พลังงานเท่าใด เช่น ข้อมูลที่บอกว่าผักปริมาณ 1 ทัพพี ให้พลังงาน 10 กิโลแคลอรี นั้นมีปริมาณแค่ไหน ข้าวปริมาณ 1 ทัพพีให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี นั้นมีปริมาณแค่ไหน เพราะเมื่อคำนวณคร่าวๆ แล้วจะได้ทราบว่าเราควรรับประทานอาหารปริมาณเท่าใดในแต่ละวัน
สรุปสั้นๆ ว่า ต้องรับประทานอาหารที่ 'หลากหลาย' และ 'พอเหมาะ'
ผู้บริโภคหลายคนอาจบอกว่า 'ฟังง่าย แต่ทำยาก' แต่คุณปทุมรัตน์ให้กำลังใจว่า ถ้าตั้งใจแล้วจะทำได้ เพราะรู้วิธี เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารกันบ้าง เพื่อสุขภาพที่ดีและยั่งยืนตามแนวทางของ Balanced Diet & Lifestyle ดังนี้
ตอนเช้าทำตัวเหมือนรวย ตอนเย็นทำตัวเหมือนยาจก
ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนเมือง หรือใครก็ตามที่มีวิถีชีวิตการทำงานที่เร่งรีบ และละเลยการบริโภค อาหารเช้า หรือรับประทานอาหารเช้าแต่น้อย เพราะต้องรีบเดินทาง นั่นคือลักษณะหนึ่งของการกินอยู่อย่างไม่สมดุล และทำร้ายสุขภาพตนเองทุกวัน ซึ่งเป็นผลมาจาก ไลฟ์สไตล์ หรือพฤติกรรมนั่นเอง
คุณปทุมรัตน์กล่าวว่า การไม่รับประทานอาหารเช้า มีผลทำให้สมองมีคุณภาพที่ด้อยลง-เสื่อมลงก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากเวลาที่ร่างกายคนเรานอนหลับ 10-12 ชั่วโมง สารอาหารจะไม่เหลือเลย ร่างกายจะไม่มีน้ำตาล ให้สมองใช้งานในวันรุ่งขึ้น
วิธีแก้ไขคือ เมื่อทราบเช่นนี้แล้วก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างความสมดุล คือต้องรับประทานอาหารเช้า หัดรับประทานทีละเล็กทีละน้อย ก่อนจะไปทำงานลองถามตัวเองว่า รับประทานอะไรแล้วหรือยัง
เช่นเดียวกับ อาหารเย็น บางคนรับประทานอาหารเย็นจนกระทั่งดึก อยากขอเตือนว่าควรรับประทานเย็นให้ห่างๆ จากเวลาที่จะหลับตานอน ถ้าเป็นไปได้คืออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะเวลาที่คนเราเข้านอน ระบบประสาทต่างๆ เริ่มพักผ่อน ทำให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานไม่เต็มที่ หรือไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อระบบย่อยอาหารไม่ดี จะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรทิ้งช่วงเวลา ในการรับประทานอาหารเย็นกับเวลานอน อย่าให้ตัวเรากินใกล้กับเวลานอนจนเกินไป
เหมือนกับที่นักโภชนาการมักพูดกันว่า ให้เราทำตัวเหมือนคนรวยตอนเช้า รับประทานอาหารให้เยอะๆ รับประทานให้อิ่ม ส่วนตอนเย็นทำตัวเหมือนยาจก รับประทานอาหารแต่พอประมาณ
กว่าสมองจะรู้ว่า 'อิ่ม'
ในการรับประทานอาหาร สมองใช้เวลา 15 นาทีกว่าจะรับรู้ว่าข้อมูลว่าร่างกายอิ่มแล้ว เพราะฉะนั้นอย่ารีบรับประทาน การรีบรับประทาน มีโอกาสทำให้ร่างกายได้ปริมาณอาหาร และพลังงานเกินจำนวนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เมื่อร่างกายได้พลังงานเกินความต้องการ และเผาผลาญไม่หมด ก็ทำให้เกิดปัญหาความอ้วนตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ กับร่างกายนั่นเอง
วิธีแก้ไขคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ด้วยการเคี้ยวอาหารให้ช้าลง เมื่อร่างกายอิ่ม คุณอาจสังเกตเห็นว่าอาหารที่เหลือในจาน คือส่วนเกินที่ไม่ควรสั่งในมื้อต่อๆ ไป
เพิ่มความเข้มข้นให้โภชนบัญญัติข้อที่มักละเลย
หลักโภชนาการ 9 ข้อในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี อยู่ในหลักสูตรการศึกษา และคนไทยส่วนใหญ่ทราบอยู่แล้ว ดังนั้น คุณปทุมรัตน์จึงขอเน้นโภชนบัญญัติ ข้อที่คนส่วนใหญ่มัก 'ละเลย' หรือยัง 'ด้อยในการปฏิบัติ' ให้หันมาเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กน้อย เพื่อสร้างความสมดุลในการรับประทานอาหาร (balanced diet) นั่นเอง
   
 
โภชนบัญญัติข้อที่ 3: รับประทานพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้ใยอาหาร ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ลองนึกดูคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนส่วนใหญ่ ที่ต้องบริโภคผัก-ผลไม้วันละเกือบครึ่งกิโลกรัม แต่ปัจจุบันมีวิธีที่จะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหารเพียงพอต่อวัน โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคแต่ผัก-ผลไม้ นั่นก็คือการบริโภค ธัญพืชเต็มเมล็ด ซึ่งเป็นทางเลือกและมีแทรกอยู่ในมื้ออาหารหลักๆ ในแต่ละวัน เช่น ข้าวกล้อง ที่มี 'จมูกข้าว' ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยอาหาร ข้าวโพด ลูกเดือย ก็ถือเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปซีเรียลอาหารเช้า ขนมปังโฮลวีต ก็มีส่วนผสมของธัญพืชเต็มเมล็ดมากมาย แม้กระทั่งอาหารจานหลักบางอย่าง ซึ่งคนนิยมรับประทาน ก็มีส่วนผสมของธัญพืชเต็มเมล็ดแล้วเช่นกัน เช่น โซบะโฮลวีต พาสต้าโฮลวีต
   
 
โภชนบัญญัติข้อที่ 6: กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ร่างกายของผู้หญิง ผู้ชาย และคนใช้แรงงาน (หรือออกกำลังกาย) ต้องการพลังงานจากไขมันไม่เกินวันละ 25 กรัม (5 ช้อนชา) 35 กรัม (7 ช้อนชา) และ 45 กรัม (9 ช้อนชา) ตามลำดับ แต่ลองพิจารณาในแต่ละวัน เวลาที่เราสั่งอาหารจานเดียว หรือสั่งผัดผักมาเป็นกับข้าวสักจาน แม่ค้ามักเทน้ำมันลงไปจนเจิ่งนองก้นกระทะ โอกาสที่ร่างกายจะได้รับพลังงานจากไขมัน เกินความจำเป็นในแต่ละวันนั้นมีมาก เมื่อสะสมมากเข้าในแต่ละวัน คนเราจึงอ้วนได้ง่าย ดังนั้นถ้าเลี่ยงได้ ควรเลี่ยงอาหารที่เป็นของทอด อาหารประเภทผัด แกงกะทิ รวมทั้งเลี่ยงการใช้น้ำมันที่ผ่านการทอดแล้วความรู้เกี่ยวกับการบริโภคไขมันที่ควรรู้เพิ่มเติมคือ ไม่ควรบริโภคน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) กรดไขมันทรานส์ (Trans Fat) และอาหารที่มี คอเลสเตอรอลสูง (ไขมันจากสัตว์) ซึ่งอาจจะทำให้คอเลสเตอรอลโดยรวม และคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL Cholesterol) มีปริมาณสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคเบาหวาน
   
 
โภชนบัญญัติข้อที่ 7: หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด หมายถึงลดการบริโภคน้ำตาล-เกลือ ความจริง น้ำตาล ทำให้อาหารอร่อย บางทีก็ทำให้อาหารเหนียวหนืดขึ้น ตามความจำเป็นในการทำอาหารบางประเภท แต่ความหวานจากน้ำตาลเป็น พลังงานที่สูญเปล่า (Empty Calories) เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่มีเส้นใยอาหาร ไม่มีสารอาหาร ไม่มีวิตามิน-เกลือแร่ให้กับร่างกาย สิ่งที่น้ำตาลให้ได้อย่างเดียวคือเรื่องของ 'ความหวาน' ยิ่งรับประทานน้ำตาลเข้าไปมากเท่าไร ก็ยิ่งไปแย่งโควตาของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน ยิ่งเราเติมน้ำตาลในก๋วยเตี๋ยวหรือเครื่องดื่ม ก็ยิ่งแย่งที่พลังงานของร่างกาย และทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับใยอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหวานแค่ไหนจึงจะพอดี ขอให้แนวคิดไว้ว่า อาหารว่างหรือขนมไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หรือดื่มกาแฟ เติมน้ำตาลไปกี่ช้อนแล้ว วันหนึ่งดื่มกาแฟกี่ครั้ง...ให้ระวัง สิ่งที่เราเติมเอง เราควบคุมได้ แต่สิ่งที่เขาเติมมาให้อยู่แล้ว จะควบคุมอย่างไร
   
 
อีกเรื่องหนึ่งคือ เกลือ ซึ่งทำให้อาหารมีความเค็ม และแทรกอยู่เต็มไปหมดในน้ำปลา   ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่างๆ บะหมี่สำเร็จรูปในซอง ขนมกรุบกรอบ ผักดอง และของขบเคี้ยวจำพวก 'ของดอง' ถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องปรุงรสที่ให้ความเค็ม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ให้ความเค็มที่มีคุณภาพ (โซเดียมต่ำ) ไม่จำเป็นต้องเลิกใช้ เพียงแต่ขอให้ลดการบริโภค อาหารที่ปรุงรสเค็มจัด เช่น ชิมอาหารก่อนปรุงรส หรือเหยาะซอสปรุงรสเค็มแต่น้อย เพราะร่างกายต้องการโซเดียมเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาความดันต่ำ

บทสรุป
เราจะไม่ห้ามผู้บริโภคว่า ไม่ควรรับประทานอะไร เพราะบางครั้งอาจทำให้เขารู้สึกต่อต้านตั้งแต่แรก แต่เราจะสอนให้เขารู้จักสร้างความสมดุลให้ร่างกาย เช่น ตอนบ่าย รับประทานเค้กหรือขนมหวานได้ แต่ช่วงเย็นควรเลือกรับประทานอาหารประเภทให้พลังงานน้อย แต่เพิ่มผักและผลไม้ หรือในวันที่รู้ตัวว่าได้แคลอรีเกิน ก็จะต้องออกกำลังกายมากขึ้น คุณปทุมรัตน์กล่าว
Balanced Diet & Lifestyle คือแนวคิดหนึ่งในการบริโภคอาหาร และใช้ชีวิตให้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน ด้วยหลัก 4 ประการง่ายๆ คือ กินหลากหลาย-เพิ่มผักผลไม้, ลดหวาน มัน เค็ม, กินเท่าไรใช้ให้หมด และ อ่านเป็นกินเป็น เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สนับสนุนโดย  บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด  ผู้ผลิตและจำหน่าย Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสหอมหัวใหญ่ เพื่อสุขภาพ ปลอดสารเคมี โซเดียมต่ำ ใช้ปรุงอาหาร ต้ม ผัด แกง ทอด หมัก และยำ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผ่านการทดสอบคัดสรรจากโภชนากรให้ใช้ในครัวของโรงพยาบาล (อนุภาคหอมหัวใหญ่ เกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

ที่มา :  http://www.yourhealthyguide.com/article/an-healthy-eating.html


Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว  
www.ptpfoods.com,  www.facebook.com/kuune
โทร. 086-791 7007  คมชาญ

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ภัยจากอาหารเป็นพิษ - การใช้สารปรุงแต่งอาหาร


(1)  การใช้สารปรุงแต่งอาหาร  หรือ  ภัยจากอาหารเป็นพิษ  (เลือกมา 1 อย่าง)  เช่น  ภัยของอาหารจากจุลินทรีย์  ,  ภัยของอาหารจากสารเคมี  เป็นต้น  
วัตถุเจือปนอาหาร  
          คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน  ( Codex Committee on Food Additives and Contaminants ; CCFAC , 1972 )  และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความว่า  
“ วัตถุเจือปนอาหาร “  หมายถึง   สารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร    อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้    เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือ มีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น    แต่ไม่รวมถึง สารปนเปื้อน  หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร  
โดยที่การใชัวัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงด้วย

                      คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่  ไม่เป็นพิษ  ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล  ไม่ทำให้สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ  และ  ต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้        


ทำไมจึงต้องใช้วัตถุเจือปนอาหาร        
          ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของคนเราไม่ว่ายุคสมัยใด ก็ยังคงเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เช่นเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าทันสมัย อำนวยความสะดวก ความสุขและความพอใจให้มนุษย์เรามากขึ้น ในเรื่องอาหารก็เช่นเดียวกัน ระยะแรกก็กินอาหารพืช ผัก ตามธรรมชาติ ต่อมาก็มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร และพัฒนาเรื่อยมา รู้จักการเก็บถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือบริโภคนอกฤดูกาล ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบในสังคมเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาหาร ทำให้มีการผลิตอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค การใช้วัตเจือปนอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตอาหารได้ตามความต้องการ


วัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีหลายประการ  ได้ก่        
1. เพื่อเก็บถนอมหรือยืดอายุการเก็บของอาหารไว้ ตัวอย่างเช่นในระยะที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากเกินไปในฤดู โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุณหภูมิและความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสภาวะเร่งการเสียของอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ จึงจำเป็นต้องใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหาร        
2. เพื่อปรุงแต่งลักษณะสี กลิ่น รส ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ        
3. เพื่อช่วยในกระบวนการผลิต เช่น การใช้วัตถุป้องกันการเกิดฟองที่มากเกินไปในกระบวนการผลิต น้ำมันพืช น้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นต้น        
4. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้มีอาหารหลากหลายชนิด        


วัตถุเจือปนที่ใช้ในอาหารแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน

1. วัตถุกันเสีย
          หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารเพื่อป้องกันการเสีย บูดเน่าของอาหาร สารนี้จะไปควบคุมการเจริญเติบโต หรือทำลาย
จุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพของอาหาร วัตถุกันเสียที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย  ได้แก่
กรดและเกลือของกรดต่างๆ เช่น  กรดน้ำส้ม  กรดเบนโซอิค  กรดซอร์บิค  กรดโพรพิออนิค        
สารประกอบไนไตรท์  สารนี้มักเติมลงในอาหารเนื้อสัตว์เพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีชมพู / แดง ที่คงที่ และเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium botulinum ซึ่งสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาหารที่มักพบว่าใส่สารประกอบไนเตรดและไนไตรท์ ได้แก่  เนื้อเค็ม  เนื้อแดดเดียว  ปลาแดดเดียว  ไส้กรอก  หมูแฮม  เบคอน  เกลือซัลไฟท์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์  สารนี้เมื่อรวมตัวกับน้ำจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูรัส ซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายหรือชะงักการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ป้องกันการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในอาหารพวกผัก ผลไม้แห้ง น้ำหวานต่าง ๆ ไวน์ วุ้นเส้นแห้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง เส้นหมี่แห้ง ผลิตภัณฑ์มันฝรั่ง และ ผลไม้บรรจุกระป๋อง        

2. วัตถุกันหืน      
            หมายถึง สารที่ใช้เพื่อชะลอการเสียของอาหารอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ลักษณะการเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยานี้ รวมถึงการมีกลิ่นผิดปกติ เช่น กลิ่นหืน กลิ่น สี รส ผิดปกติไปจากเดิม อาจเกิดสารประกอบใหม่ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย  ปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและน้ำมันมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำมัน ไขมัน เนย เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และอาหารที่ปรุงสุกโดยการทอดด้วยน้ำมัน        
วัตถุกันหืนที่ใช้กันมาก ได้แก่  BHA  BHT  TBHQ  PG
 

3. สี      
การใช้สีผสมอาหาร เพื่อแต่งสีให้อาหารมีลักษณะคล้ายธรรมชาติ หรือเพื่อให้มีสีสม่ำเสมอ และอาจใช้เพื่อจำแนกกลิ่น รสของอาหารก็ได้        สีที่ใช้ผสมอาหารมี 2 จำพวก ได้แก่  
3.1  สีธรรมชาติ จาก  ใบเตย  กระเจี๊ยบ  ใบย่านาง  ดอกอัญชัน  ลูกตาล  สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้         
3.2  สีสังเคราะห์ ซึ่งสร้างจากสารเคมีต่างๆ     สีสังเคราะห์มีความคงตัวดีกว่าสีธรรมชาติ แต่ต้องใช้เฉพาะชนิดที่อนุญาตให้ใช้และปริมาณที่กำหนดเท่านั้น
รายชื่ออาหารที่ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 พ.ศ. 2525 ได้แก่  อาหารทารก  อาหารเสริมสำหรับเด็ก  นมดัดแปลงสำหรับทารก  ผลไม้สด  ผลไม้ดอง  ผักดอง  เนื้อสัตว์สดทุกชนิด (เว้นแต่สีจากขมิ้นและผงกะหรี่สำหรับไก่สด)  เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง  เช่น  ปลาเค็ม  กุ้งเค็ม  เนื้อเค็ม  กุ้งหวาน  ปลาหวาน  ไก่ย่าง  หมูย่าง  เนื้อย่าง (ยกเว้นสีจากขมิ้น และผงกะหรี่)  แหนม  กุนเชียง  ทอดมัน  กะปิ  ข้าวเกรียบต่าง ๆ  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  เส้นบะหมี่  แผ่นเกี๊ยว  หมี่ซั่ว  สปาเก็ตตี้  มักกะโรนี        

4. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ใช้ปรับสภาพความเป็น กรด-ด่าง ของอาหารวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์อาหาร  ตัวอย่างเช่น
-เพื่อให้อาหารมีความคงตัวดี เช่น การเติมแยม เยลลี่ ต้องปรับสภาพความเป็นกรดให้พอดี ถ้ากรดมากเกินไป ผลิตภัณฑ์จะเละ        
- เพื่อให้อาหารมีสีตามต้องการ ตัวอย่าง น้ำกระเจี๊ยบ จะมีสีแดงสด เมื่อมีความเป็นกรดสูงพอดี ถ้า
 ความเป็นกรดต่ำลงคือมีความเป็นด่างมากขึ้น จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน 
- เพื่อป้องกันการเกิดสารสีน้ำตาลในผักผลไม้ที่ปอกเปลือกหรือหั่นแล้ว ถ้าจุ่มหรือแช่ผักผลไม้ 
 เหล่านั้นในสารละลายกรด เช่น  กรดซิตริก  น้ำมะนาว จะป้องกันการเกิดสารสีน้ำตาลได้    
- เพื่อปรุงแต่งกลิ่น รสให้ผลิตภัณฑ์อาหาร กรดชนิดต่าง ๆ ที่เติมลงในอาหารช่วยเพิ่มกลิ่นรส เช่น  ทำให้มีรสเปรี้ยว 
 รวมทั้งกลิ่นเฉพาะ เช่น กรดทาร์ทาริก จะให้รสองุ่นและรสมะขาม  หรือ  กรดมาลิก จะให้รสแอปเปิ้ล  เป็นต้น 

5. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยคงสภาพอาหาร    

          กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยคงรูปผัก ผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ แปรรูปให้คงสภาพเดิมมากสุด    ในการแปรรูปผักผลไม้ เช่น ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง มักพบว่าอาหารจะนิ่ม เละ หรือแตก ในครัวเรือนของคนไทย จะใช้น้ำปูนใส ทำให้ผักผลไม้มีความคงตัวไม่เละ ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้ เกลือแคลเซียมคลอไรด์  
โปแตสเซียมคลอไรด์  แมกนีเซียมคลอไรด์  เติมลงในระหว่างการแปรรูปผักและผลไม้ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งหรือกรอบ ลักษณะเนื้อสัมผัสดีขึ้น    อาหารที่ใช้วัตถุคงรูป ได้แก่ ผักดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง เป็นต้น

กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยทำให้อาหารเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำและน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งการทำให้ส่วนผสมเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องใช้อิมัลซิไฟเออร์ช่วยประสานให้น้ำและน้ำมันรวมตัวกันได้โดยไม่แยกชั้น อิมัลซิไฟเออร์ตามธรรมชาติได้แก่ เลซิทินในไข่แดง และในถั่วเหลือง อิมัลซิไฟเออร์สังเคราะห์ ได้แก่  โมโนแซคคาไรด์ และอนุพันธ์ โพรพีลีนไกลคอลเอสเทอร์  เช่น  การเติมอิมัลซิไฟเออร์ ในผลิตภัณฑ์ น้ำสลัด  มายองเนส  ซอส และ  น้ำจิ้มบางชนิด        

6. วัตถุป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน
           หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารผงแห้ง เพื่อช่วยเก็บหรือดูดความชื้นไว้โดยที่สารนี้ไม่ชื้น สารนี้อาจไปรวมตัวกับน้ำในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือจับน้ำจากบรรยากาศที่เก็บอาหารก็ได้    
สารเคมีที่ใช้ ได้แก่  แคลเซียมซิลิเกต  แมกนีเซียมสเตียเรท  แมกนีเซียมไตรซิลิเกต  ไตรแคลเซียมโมโนฟอสเฟต    อาหารประเภทผงแห้งต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มผง  กาแฟผง  ซุปผง มักพบปัญหาการรวมตัวเป็นก้อนแข็ง เมื่อเติมน้ำจะไม่ละลายหรือละลายได้ยาก การที่อาหารมีความชื้นเพิ่มขึ้นเกิดการเสื่อมคุณภาพจากจุลินทรีย์ได้  จึงต้องเติมวัตถุป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน เพื่อทำให้อาหารคงสภาพเป็นผงแห้ง    
อาหารที่ใช้วัตถุเจือปนกลุ่มนี้ ได้แก่  ครีมเทียมผง  กาแฟผง  เครื่องดื่มผง  น้ำตาลทรายชนิดผงละเอียด  เจลาตินผง  หัวหอมผง  กระเทียมผง  ซอสผง  แป้งเค้กสำเร็จรูป  ผงฟู        


เอกสารอ้างอิง
` พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
` สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 2543 คู่มือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน
` ศิวพร ศิวเวช 2535 วัตถุเจือปนในผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ
` Furia Thomas E. 1972. CRC Handbook of Food Additives 2nded. New York : CRC Press.
 (2)  การประกอบอาหาร  หรือ  การถนอมอาหาร  หรือ  การแปรรูปอาหาร  (เลือกมา 1 อย่าง) โดยมี ชื่ออาหาร พร้อม ภาพประกอบ  ,  วัตถุดิบ/ส่วนผสม/เครื่องปรุง , ขั้นตอนการประกอบอาหาร  ,  วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือที่ต้องจัด
ยำทะเล
เครื่องปรุงและส่วนผสม

หอยแมลงภู่แกะเอาแต่เนื้อ

100

กรัม

ปลาหมึกกล้วยหั่นชิ้น

100

กรัม

กุ้งชีแฮ้

200

กรัม

ลูกชิ้นปลา

100

กรัม

หัวหอมใหญ่หั่นเสี้ยว

1

หัว

ต้นหอมซอย

2

ต้น

ขึ้นฉ่ายหั่นท่อน

1-2

ต้น

พริกขี้หนูสวนโขลกละเอียด

1

ช้อนโต๊ะ

รากผักชีหั่นละเอียด

1

ช้อนชา

กระเทียมโขลกละเอียด

1

หัว

น้ำตาลทราย

1

ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว

1/4

ถ้วย

น้ำปลา

1/4

ถ้วย

 

วิธีการทำ ยำทะเล
1. ล้างกุ้งให้สะอาด เด็ดหัวและหาง ผ่าหลังชักเส้นดำออก ล้างปลาหมึก ล้างหอยแมลงภู่ให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. ตั้งน้ำให้เดือด ใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา นำปลาหมึกลงลวกพอสุก ตักขึ้น ลวกลูกชิ้นปลา หอยแมลงภู่ พอร้อนทั่วตักขึ้น ใส่กุ้ง ต้มพอสุก
3. ผสมพริกขี้หนูโขลก รากผักชี กระเทียมโขลก น้ำตาลทราย น้ำมะนาว และน้ำปลา เข้าด้วยกันเพื่อเป็นน้ำปรุงรส
4. คลุกเคล้ากุ้ง หอยแมลงภู่ ปลาหมึก ลูกชิ้นปลา และน้ำปรุงรสให้เข้ากัน ใส่ต้นหอม หอมใหญ่ ขึ้นฉ่าย แล้วคลุกเคล้าเบา ๆ ให้เข้ากัน
5. ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ

คุณประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทานหอยแมลงภู่นิวซีแลนด์
ที่สำคัญคือ 1.  ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ  2.ช่วยลดอาการอักเสบ
ผิว
มีการกล่าวไว้อย่างถูกต้องถึงความสำคัญของการให้อาหารผิวจากภายใน หรือที่เรียกว่า “ความงามจากภายใน” และเป็นไปได้ว่าหอยแมลงภู่ กรีน ลิฟท์ มัสเซิล สดๆ จากธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดในการสร้างความงามจากภายใน รวมถึงปรับปรุงรูปโฉมให้กับคุณ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผิวพรรณ เส้นผมและเล็บ คุณประโยชน์เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นอีกได้เมื่อใช้ร่วมกับน้ำมันปลาโอเมก้า 3/ดีเอชเอ ที่มีคุณภาพดี

ระบบหมุนเวียนโลหิต
การบริโภคหอยแมลงภู่ กรีน ลิฟท์ มัสเซิลเป็นประจำช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอาการหัวใจวาย หรือปัญหาจากการระบบหมุนเวียนโลหิต ทั้งยังอาจเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังหลอดเลือด และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้มีระบบหมุนเวียนโลหิตที่ดีทั่วทั้งร่างกายอันมีผลต่ออวัยวะสำคัญและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ระบบภูมิคุ้มกัน
ต้านทานการอักเสบอันเนื่องมาจากไวรัสและแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยให้เกิดความหนาแน่นและเร่งการทำงานของแอนตี้บอดี้ซึ่งช่วยให้บาดแผลฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
กระดูกและฟัน
เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของกระดูกและฟัน สร้างความมั่นใจว่าระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องสามารถรองรับเนื้อเยื่อโดยรอบได้เป็นอย่างดี
ระบบสืบพันธุ์
อาจช่วยปรับปรุงโอกาสที่จะตั้งครรภ์โดยการเพิ่มความหนืดให้กับน้ำอสุจิชายและเมือกบริเวณปากมดลูกของหญิง
ระบบประสาท
กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ อวัยวะ และเนื้อเยื่อได้มากขึ้น เนื่องจากเซลประสาททำงานได้ดีขึ้นทั่วทั้งร่างกาย
คุณค่าทางโภชนาการ
กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรท ล้วนเป็นสิ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนตามความต้องการประจำวัน

ประโยชน์จากกุ้ง
แม้ว่าหลายคนจะคิดว่ากุ้งมี โคเลสเตอรอลสูง แต่จริงๆแล้ว โคเลสเตอรอลที่พบในกุ้งนั้นเป็นโคเรสเตอรอลชนิดที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย และกุ้งยังอุดมไปด้วย แร่ธาตุ โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และแคลเซียมที่อยู่ในเปลือกกุ้งยังสามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย

ประโยชน์จากปลาหมึก
 ในปลาหมึกจะมีกรดไขมัน กลุ่มโอเมก้า 3 อยู่สูงมาก แม้ว่าปลาหมึกจะมีโคเลสเตอรอลสูง แต่โอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในปลาหมึกนั้นจะไปช่วยต่อต้านไม่ให้ร่างกายมีโคเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ และยังพบว่า คลอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในปลาหมึกนั้นจะช่วยให้ผิวหนังแต่งตึง ใบหน้าไม่เหี่ยวย่นอีกด้วย

ประโยชน์จากขึ้นฉ่าย
ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของขึ้นฉ่ายพบว่า ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์สนับสนุนการใช้ที่มีมาแต่โบราณ คือ       
- มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ลดคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
- ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก
- ลดบวม
- ต้านการอักเสบ
- ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว
- ขับปัสสาวะ
- มีฤทธิ์รักษาโรคนอนไม่หลับ  ช่วยให้นอนหลับ
- เป็นยาดับร้อน ขับเสมหะ
- บำรุงสมองช่วยความจำ
แหล่งที่มา : 

 

 ตอนที่ 2   :  กิจกรรมบันทึกแนวคิด หน่วยที่  3 
หัวข้อ  :  นักเรียนจะนำความรู้เกี่ยวกับภัยของอาหารเป็นพิษไปแนะนำบุคคลในครอบครัวอย่างไรบ้าง ?
จะไปให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาหารที่น่าจะเจือปนด้วยพิษ สามารถทำได้โดยการพิจารณามองดูว่ามีลักษณะเป็นเช่นไีร เช่น  การมองดูที่ขนมหวานที่มีสีสันจัดจ้านจนเกินไป ทำให้รู้ว่าขนมชนิดนั้นอาจเจือปนไปด้วยสีผสมอาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนั้นการชิมอาหารชนิดนั้นๆ จะทำให้เรารู้ได้วาสเจือปนวารพิษหรือไม่ เช่นการชิมลูกชิ้นหมู ปรากฎว่ามีความเด้ง ยืดหยุ่นมากเกินไป อีกทั้งรสชาติยังไม่ใช่กลิ่นของหมู100% มีความรู้สึกแปลกๆ ที่ลิ้น เราก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่ามีสารบอแร็กซ์หรือสารเคมีที่ทำให้ลูกชิ้นเด้งได้ 


 ตอนที่ 3   :  คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้หน่วยที่  3 
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้หน่วยที่  3 
 1. การเก็บรักษาอาหารแตกต่างจากการถนอมและแปรรูปอาหารอย่างไร 
- การเก็บรักษาอาหารคือการเก็บอาหารให้มีความสดใหม่ พร้อมกับการปรุงอาหารในครั้งต่อไป แต่การถนอมและแปรรูปคือ การเปลี่ยนรูปแบบของอาหารเพื่อให้อาหารมีอายุนานขึ้น
2. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการเก็บรักษา  ถนอมและแปรรูปอาหาร
    - เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหารให้เก็บไว้กินได้นานมากขึ้น
3. หอมและกระเทียมมีวิธีการเก็บรักษาอย่างไร
หอมใหญ่ - ใช้กระดาษฟอยล์ห่อหอมหัวใหญ่ทีละลูกแยกกัน วิธีนี้จะทำให้หอมหัวใหญ่ยังคงกรอบและผิวไม่ช้ำ
กระเทียม - 
1. ตัดกระเทียมออกมาเป็นหัวๆ แล้วลอกเปลือกบางส่วนออก เก็บกระเทียมไว้ในตะกร้ามีรู ให้อากาศถ่ายเท แล้วเก็บไว้ในที่แห้งและไม่โดนแสงแดด เพื่อที่กระเทียมจะได้ไม่เสียเร็ว
2. นำกระเทียมมาแกะเป็นกลีบ ลอกเอาเปลือกกระเทียมออก นำไปใส่ขวดโหลแล้วเทน้ำมันมะกอกใส่ลงไปจนท่วมกระเทียม ปิดฝาทิ้งไว้ถ้าจะใช้ก็เอาออกมาตามปริมาณที่ต้องการ ก่อนจะใช้ก็นำมาล้างน้ำก่อน แต่ถ้านำไปทำประเภทผัดๆ ก็ไม่ต้องล้าง แต่วิธีนี้กลิ่นหอมของกระเทียมก็จะลดลงนิดนึงค่ะ
3. แกะกระเทียมออกเป็นกลีบ แล้วใส่เครื่องปั่น หรือว่าจะทุบแล้วสับเองก็ได้ แต่ทำทีละเยอะๆ แล้วเก็บใส่กล่องพลาสติกที่มีฝาปิด แล้วเทน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหารใส่ลงไป คนให้เข้ากันแล้วปิดฝานำเข้าตู้เย็น ถ้าจะใช้ก็ตักออกมาทำให้พอในแต่ละมื้อ วิธีนี้ก็สามารถเก็บไว้ได้ทีละหลายๆ เดือน
4. นำกระเทียมเป็นหัวมาลอกเปลือกออกบางส่วน หรือจะแกะกระเทียมออกเป็นกลีบ แล้วเลือกกระเทียมกลีบที่ดีๆ ใส่กล่องปิดฝา เอาเก็บไว้ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง เมื่อเวลาจะใช้จึงค่อยหยิบออกมาตามต้องการ
4. อาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวันประกอบด้วยอะไรบ้าง  และต้องรับประทานอย่างไรจึงจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย 
- ประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน หรือ อาหาร 5 หมู่

5. ถ้าทำกล้วยตากเพื่อจำหน่าย  นักเรียนจะเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วยวิธีใดบ้าง
- รูปแบบของผลิตภัณฑ์
- แปรรูปเพื่อความหลากหลายทางรสชาติ เช่น การนำมาเคลือบชอคโกแลต
6. การถนอมและแปรรูปเนื้อสัตว์วิธีใดจะทำให้ผลิตภัณฑ์เก็บได้นานและมีกลิ่นรสดีที่สุด
  - นำมาหมักเป็นสเต็คแล้วแช่แข็งไว้ในตู้แช่
  - การแช่เยือกแข็ง
7. การนำน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันมะพร้าวมาประกอบอาหาร  มีจุดเด่นและจุดด้อยต่างกันอย่างไร
ข้อดี
- น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่คุณภาพดี มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งช่วยลดคอเสเตอรอลไม่ดีได้ ยิ่งกว่านั้นในเมล็ดถั่วเหลืองยังมีโปรตีนสูง นิยมใช้ในการปรุงอาหาร ทำน้ำมันสกัด และเนยเทียม หาซื้อได้ทั่วไปราคาถูก 
- น้ำมันมะพร้าว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง ไม่ทำให้อ้วนเพราะเผาผลาญได้เร็วจึงไม่สะสม และไม่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น และความที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวจึงช่วยควบคุมการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกาย ช่วยลดอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณดี ไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย 
ข้อเสีย
- น้ำมันถั่วเหลือง  ไขมันในเลือดสูง, โรคหัวใจ, โรคไต, ภูมิแพ้ เป็นต้น 
- น้ำมันมะพร้าว การทานน้ำมันมะพร้าวที่ปริมาณเหมาะสมควรทานวันละ 1-2ช้อนโต๊ะ ข้อมูลตรงนี้มาจากงานวิจัยด้วยเพราะปริมาณ 1-2 โต๊ะ ร่างกายสามารถกำจัดออกได้หมด แต่บางคนหากมองว่าน้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์เลยดื่มเยอะ ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมดส่งผลใหเกิดการตกค้างในร่างกาย
8. การรู้จักนำเนื้อสัตว์  ผักหรือผลไม้  ที่มีมากในท้องถิ่นมาถนอมอาหารและแปรรูป  สร้างคุณธรรมและลักษณะนิสัยที่ดีอย่างไร 
- รู้จักวิธีการถนอมอาหาร ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการศึกษาวิธีการถนอม อาหาร เนื้อสัตว์และผัก และนำมาปฏิบัติใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- รู้จักค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ทำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา และมีระเบียบวินัยในตนเอง เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้คงอยู่ต่อไป

9.  เราจะมีวิธีป้องกันมิให้สารพิษที่ตกค้างในอาหารเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร  โดยเฉพาะพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง
การป้องกันสารพิษจากอาหาร
โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารจำพวกปิ้งๆ อาหารทะเล อาหารตากแห้ง หรือรับประทานน้อยที่สุด เพื่อให้การสะสมสารพิษในร่างกายอยู่ในปริมาณที่น้อยหรืออาหารบางประเภท เช่น อาหารทะเล ควรมีการหมุนเวียนรับประทานอาหารประเภทอื่น โดยไม่ให้ซ้ำประเภทเพื่อให้โอกาสในการรับสารพิษน้อยลง

10.  สารปรุงแต่งอาหารที่เป็นอันตรายและไม่ใช้ใช้ใส่ในอาหารอย่างเด็ดขาดคือสารใด  เพราะเหตุใด
น้ำประสานทอง (บอแรกซ์ ผงกรอบ เม่งแซ เพ่งแซ)

จุดประสงค์ของการใช้ ทำลูกชิ้นให้กรอบ ทำให้แป้งมีลักษณะกรุบ (ในเต้าทึง)ทำหมูยอให้กรอบ ปนปลอมในผงชูรส (ซึ่งสังเกตลักษณะได้โดยเกล็ดคล้ายแผ่นเศษกระจกอาจเป็น ก้อนเล็กสีขาว)

อันตรายที่ได้รับ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบสมอง ซึ่งอาจทำให้มีอาการ คล้ายเยื่อหุ้มสมองอักเสบและที่รุนแรงมาก คือเป็นอันตรายต่อไตจะทำให้เกิดไตพิการและตายได้ถ้าได้รับสารนี้ ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน
11.  การถนอมอาหารในตู้เย็นมีวิธีการเก็บรักษาอาหารชนิดต่าง ๆ อย่างไร
การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็น 
การให้ความเย็น 
(Refrigeration) หมายถึงกรรมวิธีการกำจัดความร้อนออกจากสิ่งของหรือพื้นที่ที่ต้องการทำให้เย็นหรือต้องการให้มีอุณหภูมิลดลง ซึ่งการทำให้เย็นลงนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 

การแช่เย็น (Chilling) หมายถึงการทำให้อุณหภูมิของสิ่งของนั้นลดลง แต่อยู่เหนือจุดเยือกแข็งของสิ่งนั้น โดยของสิ่งนั้นยังคงสภาพเดิมอยู่ เช่นการแช่เย็นอาหารจะเป็นการลดอุณหภูมิของอาหารต่ำลงแม้ที่ -1o ซ. แต่ต้องไม่ทำให้น้ำหรือองค์ประกอบในอาหารนั้นแปรสภาพหรือแข็งเป็นน้ำแข็ง 

การแช่แข็ง (Freezing) หมายถึงการทำให้อุณหภูมิของสิ่งของนั้นลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็งของสิ่งนั้น 
(-1 ถึง -40o ซ.) การแช่แข็งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพขององค์ประกอบในสิ่งของเช่นในกรณีที่เป็นอาหาร ความเย็นจัดจะทำให้น้ำในเนื้อเยื่อของอาหารแปรสภาพเป็นน้ำแข็ง ทำให้จุลินทรีย์ไม่อาจนำไปใช้ได้ แต่ความเย็นจัดไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์ให้ตาย 

จุดเยือกแข็ง 
(Freezing point) คือ "อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน 1 บรรยากาศ หรืออุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน 1 บรรยากาศ"  
การถนอมอาหารด้วยความเย็นมีหลายวิธี 
1. การใช้น้ำแข็ง ความเย็นของน้ำแข็งที่ใช้ในการแช่อาหารจะลดอุณหภูมิของอาหารได้เร็ว และถ้ามีปริมาณน้ำแข็งเพียงพอก็จะทำให้อาหารนั้นเย็นลงจนมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับ 0o ซ. 
2. การใช้สารผสมแช่แข็ง การใช้น้ำแข็งผสมเกลือแกงหรือเกลืออนินทรีย์อื่น ๆ จะทำให้ได้สารผสมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0o ซ. 
3. การใช้น้ำแข็งแห้ง น้ำแข็งแห้งคือ คาร์บอนไดออกไซด์ที่เย็นจนแข็ง มีอุณหภูมิประมาณ -80o ซ. ใช้ในการเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการแช่แข็งมาแล้ว เหมาะสำหรับการขนส่งในระยะเวลา 2-3 วัน 
4. การใช้ไนโตรเจนเหลว ไนโตรเจนเหลวที่ความดันปกติจะระเหยกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ -196o ซ. ณ อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถทำให้อาหารเย็นลงได้อย่างรวดเร็ว 
และเนื่องจากไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่เป็นอันตรายกับอาหารและผู้บริโภค

5. การใช้เครื่องทำความเย็น เครื่องทำความเย็นที่ใช้กันโดยทั่วไป โดยเฉพาะตามบ้านเรือนคือ ตู้เย็น
เครื่องทำความเย็น 

ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/523481