ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด PTP ร่วมกับ สวทช. NSTDA Investors’ Day 2013

NSTDA สำนักงานพัฒนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่สร้างคุณค่ำให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐาน
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จำกการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ และถ่ายทอดให้มีผู้นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์  บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมผงปรุงครบรสโซเดียมต่ำ
2 in 1 ใช้ปรุงอาหารก็ได้ ใช้ชงดื่มบำรุงสุขภาพก็ดี  ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. เช่นกัน







คณะทีมงานผู้บริหาร สวทช. พาเลซกันเป็นทีม ให้การสนับสนุน
ผู้ประกอบการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ด้วยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ฯพณฯ องคมนตรี อำพล เสนาณรงค์ ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน กับ บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสโซเดียมต่ำ จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพปลอดสารเคมี

ฯพณฯ องคมนตรี อำพล เสนาณรงค์ ผู้มอบรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร Food Innovation Contest 2009  จาก : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งประเทศไทย

จากวันนั้นต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ซองแดง สูตรธรรมดา วันนี้ ฯพณฯ ให้เกียรติมาเป็นสักขีพยาน ซองขาว สูตร 
Low Sodium 2 in 1 ใช้ปรุงอาหารก็ได้ ชงดื่มบำรุงสุขภาพก็ดี แถมยังป้องกันความเสี่ยงต่อโรคด้วย www.ptpfoods.com






บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ขอกราบขอบพระคุณ ฯพณฯ องคมนตรี อำพล เสนาณรงค์ 
 สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์  คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรฯ    สถาบัน องค์กร สมาคม ภาครัฐ และเอกชน ร่วมถึงสื่อสารมวลชน ที่ให้การสนับสนุนต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ มา ณ โอกาสนี้

Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

ลูกเดือยพันธุ์ใหม่เสริมธาตุเหล็กแบบชีวภาพแก้ปัญหาภาวะขาดธาตุเหล็กในเด็กเล็ก

การวิจัยพบว่าลูกเดือยพันธุ์ใหม่เสริมธาตุเหล็กแบบชีวภาพแก้ปัญหาภาวะขาดธาตุเหล็กในเด็กเล็กและคนยากจนทั่วโลกได้

ภาวะขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาด้อยโภชนาการที่พบได้ทั่วไป องค์การอนามัยโลกชี้ว่ากึ่งหนึ่งของหญิงมีครรภ์ และเด็กก่อนวัยเรียนจำนวนหนึ่งในห้า ในประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน 
ไมเคิล แฮมบิดจ์ หมอเด็กประจำมหาวิทยาลัย University of Colorado เปิดเผยว่า ผู้ใหญ่ที่ขาดธาตเหล็กจะไม่สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ ส่วนหญิงมีครรภ์ที่ขาดธาตุเหล็กมักจะประสบกับปัญหาระหว่างการคลอดลูก นอกจากนี้ภาวะขาดธาตุเหล็กยังมีผลกระทบอย่างถาวรต่อเด็กเล็กด้วย

เขากล่าวว่าผลกระทบต่อเด็กเล็กอย่างหนึ่งที่วงการแพทย์กังวลก็คือผลเสียต่อการพัฒนาของตัวสมอง และผลเสียนี้หากเกิดขึ้นเเล้วจะแก้ไขได้ยากเมื่อเด็กโตขึ้น
นายแพทย์แฮมบิดจ์กับผู้ร่วมทีมงานวิจัยได้ทำการทดสอบแป้งที่ทำจากลูกเดือย (pearl millet) สายพันธุ์พิเศษที่เสริมธาตุเหล็กแบบชีวภาพ ลูกเดือยเป็นพืชที่คนรู้จักกันดีในพื้นที่แห้งเเล้งในอินเดียและในอาฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ทนทานต่อความเเห้งเเล้ง

ทีมนักวิจัยได้ผสมพันธุ์ลูกเดือยเสียใหม่เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีระดับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เป็นวิธีปรับพันธุ์ข้าวแบบดั้งเดิมโดยไม่ใช้การตกแต่งพันธุกรรม วิธีนี้เรียกว่า การเสริมอาหารแบบชีวภาพ (Biofortification) เป็นวิธีผสมพันธุ์พืชให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น

ทีมงานของนายแพทย์แฮมบิดจ์ในอินเดียได้ใช้แป้งจากลูกเดือยพันธุ์ใหม่ที่ปริมาณธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นนี้ ไปปรุงเป็นอาหารท้องถิ่น แล้วนำไปเลี้ยงเด็กเล็กชาวอินเดียจำนวนยี่สิบเอ็ดคนที่ขาดธาตุเหล็ก

นายเเพทย์แฮมบิดจ์กล่าวว่าเจ้าหน้าที่นำแป้งลูกเดือยที่มีธาตุเหล็กสูงไปปรุงเป็นจาปาติหรือโรตี และอาหารอย่างอื่นให้เด็กๆรับประทานเพื่อแก้ปัญหาภาวะขาดธาตุเหล็กในเด็กเล็ก

นายแพทย์แฮมบริดจ์กล่าวว่าเด็กเล็กกลุ่มที่รับประทานอาหารที่ปรุงทำจากแป้งลูกเดือยเสริมธาตุเหล็กแบบชีวภาพนี้เป็นประจำได้รับธาตุเหล็กเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ส่วนเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับประทานอาหารที่ทำจากแป้งเสริมธาตุเหล็กแบบชีวภาพยังคงอยู่ในภาวะขาดธาตุเหล็ก

ขณะเดียวกัน มีการศึกษาโดยทีมงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ทดลองใช้เเป้งลูกเดือยเสริมธาตเหล็กในการบำบัดภาวะขาดธาตุเหล็กในกลุ่มผู้หญิงที่อายุยังน้อยจำนวนยี่สิบคนในสาธารณรัฐเบนิน ในอาฟริกา โดยนำแป้งลูกเดือยเสริมธาตุเหล็กไปปรุงเป็นอาหารให้รับประทานเป็นประจำทำให้หญิงกลุ่มนี้ได้รับปริมาณธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเป็นเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์จากปริมาณที่ร่างกายต้องการทั้งหมดต่อวัน ในขณะที่แป้งลูกเดือยธรรมดาให้ธาตุเหล็กเพียงเเค่ยี่สิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆชี้ว่าลูกเดือยเป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากเป็นธัญพืชที่ราคาถูกกว่าธัญพืชชนิดอื่นๆ คนจนซื้อหาได้ นอกจากนี้ ยังเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากในการเพาะปลูก จึงเหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะโลกร้อน

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

สธ. เปิดตัวโครงการ“สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” ให้วัคซีนสร้างอนาคตคนไทยอายุยืน 80 ปีในปี 2566


         กระทรวงสาธารณสุขเปิดตัวโครงการ “สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” กระตุ้นคนไทยรายบุคคลหันมาใส่ใจสุขภาพ ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพดีด้วยตนเอง ป้องกันและลดป่วยจากโรคติดต่อ โรคเรื้อรัง สิ่งเสพติด พลิกโฉมทุกหน่วยงานในสังกัดทำงานเชิงรุก เสมือนเป็นวัคซีนสุขภาพแก่ประชาชนแต่ละช่วงวัย ทั้งการส่งเสริมสุขภาพดี  ป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู และการคุ้มครองผู้บริโภค หวังสร้างอนาคตคนไทยมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น อายุยืนไม่น้อยกว่า 80 ปี และมีอายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 72 ปี ในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือในพ.ศ. 2566
          วันนี้ (19 สิงหาคม 2556) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ประดิษฐ  สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าว ว่า ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่  (Good Health Starts Here) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในเรื่องสุขภาพ และเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งการป้องกัน และการส่งเสริมให้มีสุขภาพดี แข็งแรง เปลี่ยนจากเดิมที่มักจะบอกประชาชนในเชิงลบฝ่ายเดียว เริ่มต้นว่าอย่าทำ เพราะจะทำให้เป็นโรค แต่โฉมหน้าการทำงานตามเป้าหมายใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขจากนี้ไปคือ การทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ทั้งกายและจิต โดยใช้ปรัชญาว่า สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่
        นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า คำว่าที่นี่หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีสุขภาพดี เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้เลือดออก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี หรือโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจากการใช้สิ่งเสพติดต่างๆ ล้วนเกิดมาจากพฤติกรรมของตนเอง ในปี 2555 ทั้งประเทศมีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คน ในจำนวนนี้ 1.2 แสนคน  หรือประมาณร้อยละ 30 เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุ จึงต้องเร่งสร้างความตระหนัก กระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นวัคซีนสุขภาพตัวเอง เช่น กินอาหารไม่หวาน มัน เค็ม เกินไป ออกกำลังกาย ไม่ใช้สิ่งเสพติดทุกชนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดการป่วยจากโรคต่างๆได้ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีอย่างมีคุณภาพอย่างยั่งยืน
                    
                    
          ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดให้ความสำคัญเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดี แข็งแรง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้านับจากนี้ คือในพ.ศ. 2566 คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 80 ปี และมีอายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 72 ปี โดยข้อมูลจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2552 พบคนไทยชาย-หญิงมีอายุยืนเฉลี่ย 74.25 ปี และมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี 66.5 ปี โรคที่ทำให้คนไทยสูญเสียปีที่มีสุขภาพดี ส่วนใหญ่มาจากโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มะเร็งตับ โรคซึมเศร้า เอดส์ ข้อเข่าเสื่อม และมาจากอุบัติเหตุจราจร รวมทั้งโรคจากเหล้าบุหรี่ ได้แก่ ติดสุรา ตับแข็ง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยเฉลี่ยคนไทยเจ็บป่วยเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลปีละ 3 ครั้งต่อคน และในปี 2554 มีผู้มารับบริการตรวจรักษาในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรวม 172,416,262 ครั้ง เฉพาะผู้ใช้สิทธิ 30 บาทฯและสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 16,489,248 ครั้ง                                                
        นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกัน ทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขที่มี 9 กรม จะทำงานเชิงรุกตามบทบาทหน้าที่ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพดี  การควบคุมป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู และการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นวัคซีนสุขภาพแก่ประชาชนในแต่ละช่วงวัย ประกอบด้วย 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มเด็กและสตรี ให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์  ส่งเสริมการให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน 2.กลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการตามวัย  3.กลุ่มวัยรุ่นและวัยเรียน อายุ 6 - 15 ปี ได้รับวัคซีนกระตุ้นตามเกณฑ์ มีศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ คลินิกวัยรุ่นทำงานเชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน  เป็นวัคซีนป้องกันโรคทางพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ต่างๆ เช่นยาเสพติด เหล้า บุหรี่ การขับรถ ติดเชื้อเอชไอวี ปัญหาท้องไม่พร้อม เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน  4.วัยทำงาน อายุ 15 - 60 ปี ต้องกระตุ้นความทรงจำ ให้คงรักษาภูมิต้านทานต่อปัญหาด้านสุขภาพ มีการปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงด้วย 3อ. 2ส. และ5.กลุ่มผู้สูงวัยและผู้พิการ  จัดคลินิกผู้สูงอายุและผู้พิการคุณภาพ เพื่อถนอมวัยให้แข็งแรงที่สุดจนถึงบั้นปลายของชีวิต
          ทางด้านนายแพทย์โสภณ  เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำตราสัญลักษณ์ประจำโครงการ สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ โดยใช้ตัวอักษรคำว่า “สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ และมีลูกศรชี้ขึ้น” ซึ่งจากนี้ไป ทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะใช้สัญลักษณ์นี้ เป็นรูปแบบเดียวกันในการจัดทำสื่อต่างๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ออนไลน์ และอื่นๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อว่า เป็นคำแนะนำในการทำกิจกรรมที่สร้างสุขภาพดี  จากกระทรวงสาธารณสุขไปถึงประชาชน ประชาชนสามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามคำแนะนำ เริ่มต้นทำด้วยตัวเอง เพื่อการมีสุขภาพดี ป้องกันโรค และลดการเจ็บป่วย
          รวมทั้ง ได้จัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายดังกล่าว เชิญชวนประชาชนหันมาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น เผยแพร่ทางวิทยุ และโทรทัศน์ เริ่มตั้งแต่ 20 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป

การแพทย์ทางร่วม เข้าถึงการป้องกันไม่ใช่รักษา แต่เข้าถึง กาย ใจ จิต ...

นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร คุณหมอนักค้น'จิต'

ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลนครธน

 เริ่มนำมาใช้ร่วมกับการแพทย์ทางร่วมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โยคะ ชี่กง ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด สมาธิภาวนา ซึ่งคุณหมอได้ศึกษาและทดลองเรียนรู้ด้วยตนเอง จนมั่นใจว่าการแพทย์ทางร่วมและทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine) เหล่านี้ คือคำตอบของการดูแลสุขภาพที่ใช้ต้นทุนไม่มากและไม่มีผลข้างเคียง

 เหตุผลเพราะตอนนี้การแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเราอิงกับตะวันตก ณ ขณะนี้อเมริกาคือเบอร์หนึ่ง ผมว่ามันถึงทางตัน แล้วประเทศเราค่อนข้างเสียเปรียบ ทุกอย่างที่อเมริกาวางมาเราเสียเงินหมดเลย แม้แต่ตอนนี้ตัวอเมริกาเองก็ติดหล่ม อเมริกาถือเป็นประเทศอันดับหนึ่งของการแพทย์แผนปัจจุบัน เขาใช้รายได้ถึง 17.6% ของจีดีพี เข้าไปในการบริการสาธารณสุข แต่สุขภาพของคนอเมริกันอยู่ระดับแย่ๆ นะครับ อันดับที่ 30 กว่า เพราะคนอเมริกานี่ป่วยเยอะ เทคโนโลยีมันไม่ได้ทำให้คนสุขภาพดี สังเกตมั้ยว่าการแพทย์เราเจริญขึ้น สิ่งที่เราพบคือคนอายุยืนขึ้น แต่เราเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น เราอายุยืนขึ้นแต่ทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น เหตุผลก็คือว่า คนที่เป็น active aging คือคนที่มีอายุเยอะแล้วช่วยเหลือตัวเองได้มันลดลง แต่ passive aging คือคนอายุเยอะแล้วช่วยเหลือตัวเองไม่ได้กลับสูงขึ้น นั่นหมายความว่า เราอายุยืนขึ้นแต่คุณภาพชีวิตแย่ลง การแพทย์เราดีขึ้น แต่โรคมันรุมเร้าเรามากขึ้นกว่าเดิมซะอีก
ผมเองเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน พอศึกษามาถึงจุดหนึ่ง ผมคิดว่ามันไม่ตอบโจทย์ แล้วพอเห็นคนเจ็บป่วยเยอะๆ มากขึ้น ผมก็คิดว่ามันควรจะต้องมีทางออก การแพทย์ที่สมัยก่อนเขาเรียกว่าการแพทย์ทางเลือก สำหรับผม ผมมองเป็นการแพทย์ทางร่วม คือเสริมเข้าไป ปรากฏว่าการแพทย์แผนปัจจุบันที่เรามีอยู่มันดีมากๆ ครับ มันดีในแง่พวกโรคเฉียบพลัน กระดูกหัก ไส้ติ่งอักเสบ หรือหัวใจวายเฉียบพลัน แต่โรคเรื้อรังไม่ดีหรอกครับ ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน หัวใจขาดเลือด ความดัน ภูมิแพ้ หรือโรคกล้ามเนื้อกระดูกข้อต่อ แพทย์แผนปัจจุบันที่มีอยู่มันไม่ตอบโจทย์ ที่มันน่ากลัวมากๆ ก็คือว่า นอกจากภาวะแทรกซ้อนที่เราเจอจากการรักษา ค่าใช้จ่ายมันสูงขึ้น เพราะเราต้องพึ่งพาหลายอย่างจากต่างประเทศ
ผมคิดว่าการแพทย์ทางร่วม มันมีมาก่อนการแพทย์แผนปัจจุบันอีก เพราะวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มมาประมาณ 500 ปีนี่เอง แล้วการแพทย์แผนปัจจุบันจริงๆ เพิ่งเริ่มมาประมาณสัก 200-300 ปี ยาปฏิชีวนะเพิ่งมีมาประมาณ 90 ปีเท่านั้นเอง นั่นหมายความว่าการแพทย์แผนปัจจุบันมีมาไม่กี่ร้อยปี แต่การแพทย์ทางร่วมมีมาเป็นพันปี แล้วพวกนี้ผลข้างเคียงก็แทบไม่มีเลย แถมค่าใช้จ่ายต่ำมากๆ

สิ่งที่การแพทย์ทางร่วมเน้นมากๆ คือการป้องกัน ไม่ใช่การรักษา ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการแพทย์สายจิต การแพทย์สายพลังงาน การแพทย์ธรรมชาติบำบัด มันจะมาในแนวการป้องกันหมดเลย เพราะการป้องกันมันต้นทุนต่ำ เราทำด้วยตัวเองได้ ผลแทรกซ้อนแทบไม่มีเลย แต่เนื่องจากมนุษย์ในปัจจุบันเป็นยุคของความเร่งรีบ เขาต้องการอะไรที่มัน instant ใส่แพ็คเกจมาอย่างดี ส่งมาให้เรียบร้อย แล้วหายเลย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่มันจะง่ายอย่างนั้น มันไม่มีหรอก มันต้องทำ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการแพทย์ทางร่วมมีปัจจัยเหมือนๆ กันหมด อันที่หนึ่ง เน้นไปที่การป้องกันมากกว่าการรักษา สอง เน้นการดูแลตัวเอง เราเป็นแค่โค้ชเป็นคนบอก สาม คือเน้นในสิ่งที่เป็นเรื่องของธรรมชาติ สี่ คือ เน้นไปหาสมุทัย หรือสาเหตุมากกว่าที่จะไปตัวโรค นี่คือหลักการที่มันรวมๆ กันมา ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ประชาชนทำได้เองจริงๆ

การดูแลสุขภาพไม่มีสูตรสำเร็จที่เป็นคำตอบเดียวสำหรับทุกคน โลกนี้มี 6-7 พันล้านคน ก็ 6-7 พันล้านแบบ ยีนก็ไม่เหมือนกัน ขนาดพี่น้องยังไม่เหมือนกันเลย สิ่งที่ประชาชนทำได้ก็คือหาความรู้แล้วเอาความรู้นั้นมาเปลี่ยนให้เป็นปัญญา ปัญญาคืออะไร คือการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเอง ...เป็นอย่างนี้นี่เอง เรารู้แล้ว... ซึ่งผมยึดสิ่งเหล่านี้มาตลอด ข้อสำคัญคือต้องลอง ต้องปฏิบัติ ต้องแลก ไม่ใช่บอกว่าไม่มีเวลา เหนื่อย ทำไม่ได้ เพราะถ้าไม่แลกก็ไม่มีทางจะรู้

ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองแล้ว เราก็สามารถนำไปช่วยเหลือคนอื่นได้ ถ้าเรายังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไปช่วยเหลือคนอื่น บางทีมันอาจจะพลาดไป แต่ถ้าเราช่วยตัวเองได้แล้วไม่ช่วยเหลือคนอื่น ความสุขมันก็แค่นิดเดียว ความสุขมันจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคนรอบข้างเรามีความสุข

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/