ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สุดยอดความก้าวหน้าในวงการเทคโนโลยีประจำปี 2015 มีอะไรบ้าง?

สุดยอดความก้าวหน้าในวงการเทคโนโลยีประจำปี 2015 มีอะไรบ้าง?

วงการเทคโนโลยีในช่วงปีที่ผ่านมามีความก้าวหน้าไปมากในเรื่องของหุ่นยนต์ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ เทคโนโลยีแบบควบคุมตนเอง และแหล่งพลังงานสะอาด

ความก้าวหน้าในด้านคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เครื่องยนต์กลไก เซนเซอร์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้ทำให้วงการเทคโนโลยีในปี 2015 ที่กำลังจะผ่านไป เข้าใกล้กับโลกของหุ่นยนต์แห่งอนาคตมากขึ้น 
http://av.voanews.com/Videoroot/Pangeavideo/2015/12/4/48/48814b96-fd1f-490e-8170-6f9b70cafdbd.mp4

รถยนต์แบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองและรถยนต์ไฟฟ้า

เทคโนโลยีที่ดูเหมือนจะถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2015 คือ รถยนต์แบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้บริษัทรถยนต์ใหญ่ๆทั่วโลกต่างหันมาพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น รวมถึงเปลี่ยนมาใช้แหล่งพลังงานจากไฮโดรเจน                      
คุณ Takahiro Hachigo ซีอีโอของ Honda กล่าวว่าทางบริษัทต้องการสร้างสังคมที่ทั้งผลิต ใช้ และเชื่อมต่อกับพลังงานไฮโดรเจน

ในส่วนของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง หรือ Driverless Car ก็กำลังขยับใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที และเมื่อเร็วๆนี้ รถบรรทุกแบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองของ Mercedes ก็สามารถเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการทดสอบวิ่งบนทางด่วนที่การจราจรคับคั่งได้อย่างประสบผลสำเร็จ
http://av.voanews.com/Videoroot/Pangeavideo/2015/08/c/c1/c1107265-f202-4f4f-acee-9cbd28a1ea82.mp4

เครื่องพิมพ์สามมิติหรือ 3D Printer

เทคโนโลยีอีกแขนงหนึ่งที่ก้าวหน้าไปไม่น้อย คือเครื่องพิมพ์สามมิติหรือ 3D Printer ซึ่งสามารถพิมพ์สิ่งของได้มากมายหลายประเภทตั้งแต่ขนมไปจนถึงรถยนต์ และมีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่า อีกไม่นานบ้านที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติ อาจนำมาใช้แก้ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยได้                                                       
คุณ May Yihe ซีอีโอของบริษัท Winsun Engineering บอกว่าทางบริษัทใช้ขยะจากครัวเรือนหรือสิ่งของเหลือใช้ทางอุตสาหกรรม มาเป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างบ้านที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติ
http://av.voanews.com/Videoroot/Pangeavideo/2015/11/0/03/03e61509-772a-4d64-8e6f-021b07220e21.mp4

เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญหาประดิษฐ์

เทคโนโลยีที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในช่วงปีที่ผ่านมา คือเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญหาประดิษฐ์ ซึ่งปี 2015 นี้มีการเปิดตัวหุ่นยนต์แบบใหม่หลายชนิด ตั้งแต่หุ่นยนต์รับรองแขก หุ่นยนต์บาร์เทนเดอร์ ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่เรียกว่า exoskeleton ที่ทำให้ผู้ป่วยอัมพาตกลับมาเดินได้อีกครั้ง และอวัยวะเทียมที่สามารถควบคุมการทำงานจากสมองของผู้สวมใส่ได้
ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ Thorvaldur Ingvarsson ระบุว่าเมื่อใส่เซนเซอร์เข้าไปในกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อนั้นจะสามารถรับสัญญาณที่ส่งมาจากสมอง แล้วส่งต่อไปยังอวัยวะเทียมเพื่อให้สมองสามารถสั่งการควบคุมอวัยวะเทียมชิ้นนั้นได้

http://av.voanews.com/Videoroot/Pangeavideo/2015/01/b/b0/b0074278-92da-40f1-bc66-143074717a85.mp4

เทคโนโลยีไร้คนขับหรือโดรน (Drone)

เทคโนโลยีไร้คนขับหรือโดรน (Drone) มีทั้งแบบบนฟ้า บนบกและในทะเล ซึ่งปี 2015 ถือเป็นปีที่โดรนถูกนำมาใช้ในด้านต่างๆมากที่สุด ตั้งแต่สำรวจใต้ทะเล บินตรวจดูการลักลอบล่าสัตว์ในแอฟริกา ช่วยเกษตรกรสำรวจพื้นที่การเกษตรและวิเคราะห์ผลผลิต บินสำรวจประชากรสัตว์ป่าพันธุ์หายาก ไปจนถึงการใช้ในการขนส่งสินค้าต่างๆ

http://av.voanews.com/Videoroot/Pangeavideo/2015/11/0/0e/0ea331ec-46a8-4a17-ab92-8b8f4637eb3d.mp4

ความก้าวหน้าด้านซอฟต์แวร์ในปี 2015

ปีนี้เป็นปีที่มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลายและซับซ้อนมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแอพที่นำมาใช้ในด้านสุขภาพและทางการแพทย์ เช่นแอพที่ใช้ตรวจผลเลือดได้ทันทีภายใน 15 นาที โดยไม่ต้องส่งตัวอย่างเลือดนั้นไปที่ห้องแล็บเหมือนเมื่อก่อน

เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง หรือ Virtual Reality

ซอฟต์แวร์อีกอย่างหนึ่งที่ที่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่กำลังเร่งพัฒนาอย่างจริงจังคือ เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง หรือ Virtual Reality ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์ ด้วยแว่นตาครอบศีรษะซึ่งสามารถพาเราเข้าไปอีกโลกหนึ่งได้ทันที                                       
คุณ John Hick ผู้เชี่ยวชาญด้านวิดีโอเกมส์กล่าวว่า Virtual Reality คือเทคโนโลยีที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในขณะนี้ และจะกลายมาเป็นจุดสนใจมากขึ้นในปีที่กำลังจะมาถึง

นอกจากนั้น ปี 2015 ยังเป็นปีที่บริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ๆกันอย่างครึกโครม ซึ่งรวมถึงระบบปฏิบัติการ Window 10 ของ Microsoft ที่ให้บริการดาวน์โหลดฟรีได้เป็นครั้งแรกอีกด้วย
(ทรงพจน์​สุภาผล เรียบเรียงจากรายงานของผู้สื่อข่าว George Putic)
ที่มา : http://www.voathai.com/content/tech-2015-wraps/3108317.html

สังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์

สังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์



 โลกยุคโลกาภิวัตน์ 

          คำว่า “โลกาภิวัตน์” หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก (ของข่าวสาร) การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมผัส หรือ รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง สืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ที่ไร้พรมแดน อันเป็นยุคที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคม ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น กระแสโลกทั้งในรูปของทุนและข้อมูล รวมทั้งค่านิยมบางประการ เช่น สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ได้ขยายตัวครอบคลุมไปทั่วโลก 

           ลักษณะสำคัญของโลกาภิวัตน์ จึงเป็นความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายกิจกรรม
การดำเนินงาน ซึ่งแต่เดิมอาจจะผูกขาดอยู่ ณ ศูนย์หรือแหล่งไม่กี่แห่งในโลก ออกไปยังท้องถิ่นหรือศูนย์ใหม่ๆ หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สังคมยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นโลกที่มนุษย์สามารถข้ามพรมแดนของประเทศและสามารถทะลุกาลเวลาได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ไร้พรมแดน โลกในสายตาของผู้ที่อาศัยเทคโนโลยี จึงเป็นโลกใบเล็กที่สามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว 
          
           ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้าน (Global Village) ภูเขาและทะเล ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ ที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน 


          ลักษณะสำคัญของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน
          คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

          สังคมโลกาภิวัตน์คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องมือที่จะรับและแปลงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและไม่ค่อยมีข้อจำกัด คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการจัดเก็บ บันทึกข้อมูล จัดระบบข้อมูล และนำมาใช้สื่อสารถึงกันในเวลาอันรวดเร็วทุกมุมโลก ในระยะไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ไปอย่างมาก จากเครื่องที่มีขนาดใหญ่ราคาแพง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก มีคุณภาพ ราคาถูก และศักยภาพสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์
          

          เกิดการเพิ่มขึ้นของแรงงานด้านข่าวสาร จำนวนแรงงานที่ทำงานเกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แรงงานเหล่านี้ได้แก่ผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา การคมนาคม การพิมพ์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารมวลชน ทุกประเภท การเงิน การบัญชี รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และงานที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาจัดการกับ ข่าวสารทุกชนิด

          เกิดการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าทำให้โลกตะวันตกมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดเป็นแรงกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างไม่หยุดยั้ง สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารอันทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลใหม่ ๆ หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          ระบบเศรษฐกิจประสานเป็นหนึ่งเดียว ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ระบบเศรษฐกิจจะมีการประสานเป็นหนึ่งเดียว ทำให้พรมแดนแต่ละประเทศไม่อาจขวางกั้นพลังทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจยังได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสาร (Information based economy) ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต การจัดการ และเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ตัวอย่างธุรกิจชนิดนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ การพิมพ์ โทรศัพท์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น ข่าวสารกลายเป็นเรื่องสำคัญและเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ผู้ต้องการใช้ข่าวสารต้องเสียค่าใช้จ่าย ข่าวสารกลายเป็นแหล่งทุน และเป็นบ่อเกิดของการว่าจ้างแรงงาน

          ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมโลก


          ผลกระทบด้านสังคม
          การครอบโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากระบบสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมและอำนาจของเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก (Neo - Westernization) ครอบงำทาง ความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคนิยม แพร่หลายเข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมประจำชาติของแต่ละประเทศ ผลที่ตามมา คือ เกิดระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน

          หมู่บ้านโลก (Global Village) จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำ ให้สังคมโลกไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้าน เดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทำอะไร ก็สามารถรับรู้ได้ ทั่วกันทั่วโลก เมื่อมาอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน สิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่างมิอาจ หลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกสามารถรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
จากผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า มีปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า POP CULTURE เกิดขึ้น ปรากฏการณ์นี้ คือรูปแบบวัฒนธรรมที่มีการประพฤติ ปฏิบัติในวงกว้าง เช่นการบริโภค อาหารแบบ FAST FOOD ตามวิถีแบบอเมริกันชนความเป็นอยู่ การศึกษา ต่างๆ ที่เป็นแบบแผน เดียวกัน ในการดำเนินชีวิต 

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
          ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า จากการผลิตที่เหมือนกันในปริมาณที่เป็นจำนวนมาก มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต โดยมีลักษณะการใช้งานเฉพาะ ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่า สิ้นเปลืองน้อยกว่า จะเข้ามาแทนที่ เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอาจได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน แล้วนำมาประกอบในประเทศที่ 5 แล้วส่งขายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นลักษณะของการเกิดบริษัทข้ามชาติทุนข้ามชาติ ที่เข้าไปเสาะแสวงหาผลกำไร อย่างไร้พรมแดนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก แล้วกำไรเหล่านั้น ถูกส่งไปพัฒนา หรือถูกส่งไปยังบริษัทใหญ่ในประเทศแม่ เป็นแบบฉบับธุรกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจ การเงิน หลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ด้วย การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นการผลิตอย่าง ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ระบบการเงินก็จะต้องปรับมาบริการแบบ 24 ชั่วโมงด้วย กระแสเงินตราต่าง ๆ ได้ผ่านเข้าออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเวลาที่วัดกันเป็นเสี้ยววินาที โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอัตราเร็วนี้คือความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจและผลกำไรอย่างมากมาย นอกจากนั้น กระแสการแข่งขันด้านการค้าและการแสวงหาตลาดได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสภาพข้ามชาติอย่างแท้จริง การค้าและช่องทางการเข้าสู่ตลาดโลกมิอาจดำเนินไปในรูปแบบที่เรียกว่า ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ที่เคยเป็นลักษณะหนึ่งของการแข่งขัน เพื่อผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ในอดีต การดำเนินกิจกรรมทางการค้าได้พัฒนาซับซ้อนและมีกลไกมีวิธีการหลากหลายมากขึ้น ในยุคนี้จะได้เห็น “การทูตแผนใหม่” (New Diplomacy) ที่มุ่งไปที่พันธมิตรทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม แทนการใช้ระบบการเมืองดังที่เคยปรากฏในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

          ผลกระทบด้านการเมือง
          เกิดความรู้สึกท้องถิ่นนิยม (Localism) กระแสโลกาภิวัตน์สร้างความรู้สึกท้องถิ่นนิยมแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคแห่งข่าวสาร ซึ่งประชาชนใน ท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วจากสื่อมวลชน ทำให้เกิดการปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้จักเห็นคุณค่าอนุรักษ์ รักษา และหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตน พร้อมทั้งตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลกลาง หากรัฐบาลกลางหวังจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่นโดยไม่โปร่งใส ก็จะถูกต่อต้านจาก ประชาชนในท้องถิ่น ดังที่เราได้พบเห็นที่กลุ่ม ประชาชน ออกมาเรียกร้อง สิทธิ ความเสมอภาคต่างๆ
 

ที่มา :  https://sites.google.com/site/xaseiynniyukhlokaphiwathn/sangkhm-lok-yukh-lokaphiwathn

ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของวงการสาธารณสุขโลก

ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของวงการสาธารณสุขโลก

Antibiotics


วงการแพทย์ได้ใช้ยาเพนนิซิลินบำบัดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดมาตั้งแต่ 87 ปีที่แล้วแต่มาถึงตอนนี้มีเชื้อเเบคทีเรียหลายชนิดดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น
ในปี 2015 องค์การอนามัยโลกเตือนว่าเรากำลังถอยหลังกลับไปสู่ยุคก่อนหน้ายาปฏิชีวนะที่จะมีคนเสียชีวิตกันมากขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียทั่วๆ ไป  
ด็อกเตอร์ไมเคิ่ล เบล แห่งสำนักงานควบคุมโรคแห่งสหรัฐหรือ CDC กล่าวว่าในอินเดียเพียงประเทศเดียว ประมาณว่ามีเด็กทารกราว 58,000 คนที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคดื้อยาเพียงชนิดเดียวภายในหนึ่งปีเท่านั้น สำนักงาน CDC ประมาณว่ามีคนในสหรัฐฯเสียชีวิต 23,000 รายในปี 2014 จากเชื้อโรคดื้อยา
ด็อกเตอร์ไมเคิ่ล เบล กล่าวว่าปัญหาเชื้อโรคดื้อยาเป็นปัญหาใหญ่ ที่ผ่านมาเราเคยมียาปฏิชีวนะหลายชนิดเพื่อใช้บำบัดโรค และเมื่อยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งใช้ไม่ได้ผล เราจะปรับไปใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงขึ้น แต่มาถึงขณะนี้เราไม่มียาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงหลงเหลืออยู่อีกแล้ว
เชื้อแบคทีเรียวิวัฒนาการตลอดเวลา เชื้อแบคทีเรียที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถกำจัดได้จึงขยายพันธุ์ต่อไป
ปกติตัวยาปฏิชีวนะเองไม่ก่อให้เกิดการดื้อยา แต่การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาชนิดต่างๆ 
ที่เลวร้ายกว่านั้น คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถใช้บำบัดการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือเป็นหวัดธรรมดา
เพื่อแก้ปัญหานี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางพัฒนายาตัวใหม่ๆออกมา พร้อมไปกับการหาทางคงรักษายาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ต่อไป 
ผลการศึกษาโดยสำนักงานป้องกันโรคแห่งสหรัฐพบว่า โรงพยาบาลในสหรัฐใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงเกินไปและใช้ยามากความจำเป็น ทางสำนักงานได้ร้องขอให้บรรดาแพทย์ในโรงพยาบาลมีความระมัดระวังมากขึ้นในการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค นอกจากนี้ สำนักงาน CDC ยังกำลังศึกษาถึงต้นเหตุต่างๆ ของการติดเชื้ออีกด้วย 
ปัญหาเชื้อเเบคทีเรียดื้อยา นอกจากจะเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปเเล้ว ยังมีสาเหตุความบกพร่องในการรักษาความสะอาดซึ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาแพร่ระบาด 
บนหน้าเว็บไซต์สำนักงาน CDC เเนะนำให้ประชาชนทั่วไปให้รับประทานยาปฏิชีวนะจนหมดตามปริมาณที่แพทย์สั่ง แม้ว่าอาการป่วยจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ต้องเพิ่มความพยายามในการลดปัญหาเชื้อเเบคทีเรียดื้อยาในระดับทั่วโลกอย่างเร่งด่วนอีกด้วย เพื่อป้องกันวิกฤติการณ์ทางสาธารณสุขอย่างที่เคยเกิดขึ้นในยุคก่อนหน้ายาปฏิชีวนะ  
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)
ที่มา : http://www.voathai.com/content/health-antibiotic-resistance-tk/3121115.html

คนไทยทั้งประเทศ เสียภาษีแค่ 2 ล้านคน และครึ่งหนึ่งมาจากคน 30000 คน

คนไทยทั้งประเทศ เสียภาษีแค่ 2 ล้านคน และครึ่งหนึ่งมาจากคน 30000 คน


รายงานผลสำรวจของสำนักงานสถิตแห่งชาติในปี 2553 ระบุว่าแรงงานในระบบของไทยทั้งหมดมีประมาณ 38 ล้านคน แบ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน และกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น หมอ วิศวะ ก่อสร้าง เกษตรกร แท็กซี่ หาบเร่แผงลอยอีก 21 ล้านคน

แต่ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน ได้รับค่าแรงไม่ถึง 300 บาทต่อวัน มีจำนวน 11.5 ล้านคน กลุ่มนี้อยู่นอกฐานภาษีของกรมสรรพากร เพราะมีรายได้ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ส่วนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่เหลือ 5.5 ล้านคน ได้รับค่าแรงเกินวันละ 300 บาท เมื่อรวมกับกลุ่มอาชีพอิสระจำนวน 21 ล้านคน จะมีจำนวนผู้เสียภาษี 26.5 ล้านคน ปรากฏว่าในปี 2554 มีคนมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 กับกรมสรรพากรแค่ 11.7 ล้านคน แต่อีก 14.8 ล้านคน ไม่มายื่นแบบเสียภาษี

มีคำถามว่า แล้วคนกลุ่มนี้อยู่ที่ไหน ประเด็นนี้ นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงว่า คนไทยมีประมาณ 66 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบ 38 ล้านคน ส่วนที่เหลือ 28 ล้านคน เป็นเด็ก คนชรา พระภิกษุ และผู้ช่วยครัวเรือน

พร้อมกับยืนยันว่า จริงๆ จำนวนผู้ที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91) ไม่ได้ลดลง ตรงกันข้ามตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 8 ล้านคน เป็น 9 ล้านคน และปัจจุบัน 11.7 ล้านคน แต่ในบรรดาคนที่มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91 จำนวน 11.7 ล้านคนนั้น มีผู้ที่เสียภาษีจริงๆ แค่ 2 ล้านคน อีกประมาณ 9 ล้านคน เข้ามายื่นภาษีฯ อยู่ในระบบแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี จึงหลุดออกไปอยู่นอกฐานภาษี

ข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุในรายละเอียดว่า กลุ่มผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคธรรมดา 2 ล้านคนนั้น มีผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 37% ของรายได้สุทธิ อยู่ประมาณ 30,000 คน ซึ่งจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ อย่างในปีงบประมาณ 2554 กรมสรรพากรเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 236,339 ล้านบาท ซึ่งมีผู้มีรายได้สูงประมาณ 30,000 คนนี้ จ่ายภาษีประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยจ่ายภาษีคนละ 4 ล้านบาทต่อปี ส่วนผู้เสียภาษีที่เหลืออีกประมาณเกือบ 2 ล้านคน จ่ายภาษีได้ประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยต่อหัวจ่ายภาษีคนละประมาณ 60,000 บาทต่อปี

ดังนั้น ประเทศไทยมีบุคคลธรรมดาที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงแค่ 2 ล้านคนเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีมนุษย์เงินเดือน11.7 ล้านคน


ธนาคารโลกระบุไทยจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่ามาตรฐาน

จากข้อมูลผลการศึกษาของธนาคารโลกปี 2551 ระบุว่า ประเทศไทยควรจะเก็บภาษีได้ 21.35% ของจีดีพี แต่ปรากฏว่าเก็บได้จริงเพียงแค่ 16.20% ของจีดีพีเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของไทยอยู่ในระดับต่ำมากแค่ 0.76% และถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.90% ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.08%
ปัจจุบัน โครงสร้างของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยเป็นระบบภาษีอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได มีอยู่ 5 อัตรา แปรผันตามช่วงของเงินได้ เริ่มจากยกเว้นภาษี, 10%, 20%, 30% และ 37% ตามแต่อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) อยู่ที่ระดับ 3.7-4.7% เท่านั้น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 52.6% ของจีดีพี นอกจากนี้ยังให้สิทธิลดหย่อนภาษีมากเกินไป จนทำให้ผู้ที่มีรายได้ดีนิยมใช้เป็นเครื่องมือหลบเลี่ยงภาษี

โครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปีที่ธนาคารโลกทำการศึกษา พบว่ามีผู้ประกอบการจดทะเบียนในรูปของบริษัท, ห้างหุ้นส่วนทั้งหมด 327,127 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 523 บริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บได้ทั้งหมด หรือ ประมาณ 28.5% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล

2. บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลมี 153,383 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บได้ หรือ ประมาณ 71.5% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนที่เหลืออีก 173,221 บริษัท ไม่ได้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร

ส่วนกลุ่มบริษัทห้างร้านที่เข้ามาอยู่ในฐานภาษีของกรมสรรพากรแล้ว ปรากฏว่ามีบริษัทเป็นจำนวนมากได้รับสิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท อาทิ บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอได้รับยกเว้นภาษี 8 ปี, ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี, กำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียภาษีที่อัตรา 15% และหากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เสียภาษีที่อัตรา 25% และถ้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใหม่เสีย 20% ทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงอยู่ที่ 23.9%