ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สุขภาพดีคือสิ่งที่ทุกคนปรารถนา

สุขภาพดีคือสิ่งที่ทุกคนปรารถนา 

สุขภาพดีเป็นสิ่งพรหมลิขิตให้แต่ไม่ทั้งหมด

 หลายคนไขว่ขว้าหาสุขภาพดี ใช้เงินใช้ทองซื้อทำสปา เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก ซื้ออาหารลดน้ำหนักมารับประทาน การมีสุขภาพที่ดีต้องอาศัยตัวเองดูแลสุขภาพ ให้เวลากับตัวเองเพียงวันละ 1 ชั่วโมงในการออกกำลังกาย อีก 7 ชั่วโมงในการนอนหลับ และรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ


ธรรมชาติคงไม่ให้สุขภาพที่ดีแด่คนที่ชอบทำร้ายตัวเองอยู่เรื่อย แม้ว่าจะทราบแล้วว่าสิ่งนั้นไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ สุขภาพไม่สามารถซื้อด้วยเงิน ถึงแม้คุณจะรวยเป็นมหาเศรษฐีหากคุณไม่ดูแลตัวเองให้ดี เงินที่มีอยู่เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น
หลายท่านคิดว่าการออกกำลังกายเสียเวลา ท่านลองจิตนาการ ถึงภาระงานที่ท่านรับผิดชอบ ในแต่ละวันว่ามีมากน้อยเพียงใด หากท่านไม่ดูแลตัวเองและเกิดโชคร้ายท่านเป็นโรคอัมพาตหรือโรคหัวใจ ภาระที่ท่านว่ามากมายจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย ภาระเหล่านั้นใครจะเป็นคนดูแล และหากโชคร้ายถึงขั้นช่วยตัวเองไม่ได้ ใครจะมาเป็นคนดูแลท่าน ท่านเพียงเสียเวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมง หรือท่านอาจจะใช้เวลาในการดูทีว ีและออกกำลังกายไปด้วยกันซึ่งก็จะทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดีขึ้น
หลายท่านเชื่อว่า คนผอมเท่านั้นที่มีสุขภาพดี จึงทำการลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเป็นการใหญ่เพื่อให้น้ำหนักได้มาตรฐาน แต่การลดน้ำหนักอาจจะเป็นเรื่องลำบาก และการอดอาหารเป็นเวลานานๆอาจจะมีอันตรายต่อสุขภาพ จึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้เปลี่ยนมุมมองใหม่
การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่หมายถึงการที่เราดูแลตัวเองอย่าถูกต้องตั้งแต่เรื่อง การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การป้องกันโรค การลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ ร่างกายเรากระปี้กระเปร่าพร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน เนื้อหาที่จะกล่าวจะเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของท่าน
การปฏิบัติตามแนวทางไม่ได้ต้องการให้ท่านมีอายุยาวหมื่นๆปีแต่ต้องการให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย สามารถหลีกเลี่ยงโรคที่ป้องกันได้ อายุยืนยาวขึ้น  การที่จะมีสุขภาพที่ดีต้องประกอบไปด้วยการดูแลดังต่อไปนี้

ที่มา : http://www.siamhealth.net/public_html

ปี 2568 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2568 สธ.เร่งพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม

/data/content/23525/cms/cdjnqrsw2379.jpg
          วันที่  19 มีนาคม ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค   นพ.ณรงค์   สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลทั่วประเทศ  เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ จัดโดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุขว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  โดยประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 64.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้น  9.4 ล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากร  โดยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน   คาดว่าภายใน ในปี 2568  ไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)  จะมีประมาณ 14.4 ล้านคน  หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ในประชากรทุกๆ 5 คน
         นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ผลการศึกษาปัญหาการเจ็บป่วยจากการตรวจร่างกายของผู้สูงอายุไทยในปี 2552 โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ปรากฎว่ามีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 85 หรือประมาณ 6 ล้านคน ที่สามารถดูแลตนเองได้  และมีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง ติดบ้าน ต้องพึ่งพิงคนอื่นช่วยดูแลกว่า 1 ล้านคนคิดเป็นเกือบร้อยละ 15  
        โดยมีประมาณ 960,000 คน ที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน  อีกประมาณ 63,000 คน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย โรคเรื้อรัง 5 อันดับที่พบมากในผู้สูงอายุคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน  โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อม   นอกจากนี้พบว่า มีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี  มองเห็นไม่ชัดเจน และเกือบครึ่งหนึ่ง มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร  เนื่องจากเหลือฟันแท้ในปากไม่ถึง 20 ซี่ สร้าง ปลัด สธ. กล่าวอีกว่า   แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าตัว จากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2550 จึงต้องเร่งพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสม  โดยในปี 2557  สธ.ได้จัดสรรงบประมาณ 39 ล้านบาท พัฒนาระบบการดูแล 3  เรื่อง คือ
1.การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่นโรคซึมเศร้า  โดยเน้นที่ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)กว่า 8,000 แห่งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)   ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่บ้านชุมชน    สธ.ได้พัฒนาสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุคล้ายคู่มือการดูแลเด็กแรกเกิด  เพื่อดูแลอย่างต่อเนื่อง   อยู่ระหว่างการประเมินผล 
2.พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชื่อมโยงจากสถานพยาบาลสู่ชุมชน  เช่นการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน
3.ส่งเสริมให้ชุมชน ท้องถิ่นมีระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การสร้างตำบล/อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว   เป็นต้น 
         ที่มา : มติชนออนไลน์

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเมื่อย่างสู่วัยสูงอายุ

  ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเมื่อย่างสู่วัยสูงอายุ

how to take care old people

วัยสูงอายุ

เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สภาพร่างกายจะเห็นได้ว่าเสื่อมลงตามอายุขัย สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ขี้หงุดหงิด มีความวิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือจากการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุได้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอารมณ์และจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ อาจเกิดมาจากมีเวลาว่างมากเกินไป เพราะเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึม น อกจากนั้นยังอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุจากความเสื่อมทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่อาจไม่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพ หลาย ๆ โรคพร้อมกัน
โรคที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีทั้งโรคที่เกิดขึ้นทางร่างกาย และจากปัญหาทางจิตใจ ได้แก่
  1. โรคอ้วน
  2. โรคเบาหวาน
  3. โรคหัวใจขาดเลือด
  4. โรคความดันโลหิตสูง
  5. โรคไขมันในเลือดสูง
  6. โรคข้อเสื่อม
  7. โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก
  8. โรคทางประสาทตา เช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก
  9. โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์
  10. อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคอ้วน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคนี้มักนำมาซึ่งโรคอื่น ๆ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค
อย่างไรก็ตามปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือ ปัญหาทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ในผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลมาจากความเสื่อมทางด้านสรีระ โดยเฉพาะระบบการย่อย และดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุเอง ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการดำรงชีวิต เช่น สภาพทางเศรษฐกิจด้วยลงกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการพบปะสังสรรค์ทางสังคมน้อยลงก็ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอารมณ์เศร้าซึม หรือแม้กระทั่งปัญหาการเบื่ออาหาร เนื่องจากรับรู้รสอาหารด้อยลง การเลือกรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงประเภทที่หลากหลาย และความครบถ้วนของสารอาหารที่ควรได้รับ หรือไม่ควรได้รับมากน้อยเกินไป
ปัญหาทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ในผู้สูงอายุ ลักษณะการขาดสารอาหารที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ น้ำหนักตัวน้อยอันเนื่องมาจากการเสื่อมถอยของระบบทางเดินอาหาร และย่อยอาหาร และการขาดวิตามินแร่ธาตุ ผู้สูงอายุมีโอกาสขาดวิตามิน และแร่ธาตุสูง ถ้าการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่ครบถ้วนตามที่ร่ายกายต้องการ การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดนั้นยังเกี่ยวพันกับการบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอ หรือมีคุณภาพไม่ดีพออีกด้วย ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะขาดวิตามินแทบทุกชนิด ที่พบบ่อยคือการขาดวิตามินซี มักพบในรายที่รับประทานผักและผลไม้น้อย เป็นโรคโลหิตจางเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็ก และอีกโรคหนึ่งที่สำคัญที่มักพบโดยทั่วไปก็คือ โรคกระดูกพรุน อันเนื่องมาจากการขาดแคลเซียม และมีภาวะการขาดโปรตีน วิตามินดี และวิตามินซี ร่วมด้วย ดังนั้นการดูแลโภชนาการผู้สูงอายุที่ควรได้รับนั้นจึงมีความสำคัญ และต้องมีความครบถ้วนอย่างพอดีต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันทั้งปัญหาโรคอ้วน และปัญหาทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ยังควรดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจของผู้สูงอายุให้แข็งแรงแจ่มใส ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอเหมาะกับวัย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นดูแลรักษาร่างกายเป็นประจำ พบปะสังครรค์กับครอบครัว และผู้ใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมยามว่างทำเพิ่มเติมและทำจิตใจให้เป็นสุข
อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึงผู้ที่อยู่ในวัย 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบัน เป็นปีที่จะเกษียณอายุของทางราชการ แต่ในอนาคตจะมีคนอายุ 60 ปี แต่ยังแข็งแรงทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิต ความคิดความอ่าน การตัดสินใจยังดีอยู่ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุน่าที่จะขยับไปอยู่ที่วัย 65 ปีขึ้นไป สำหรับปัญหาเรื่องอาหารการกิน หรือโภชนาการในวัยนี้ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณโดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมากๆ จะเป็นปัญหาได้
เครดิต: http://www.108health.com/108health/topicdetail.php?mtopicid=302&subid=6&refmain_id=2#ixzz2FkwYNP7k

ไฮเทคสุดๆ น้องดินสอ เยี่ยมชม Kuu Ne คูเน่ ... นวัตกรรมคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

KuuNe ผงปรุงครบรสโซเดียมต่ำปลอดสารเคมี
KuuNe F&F ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคุมน้ำหนัก
เริ่มแล้วงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อ SMEs 
สนับสนุนโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ตลาดนัดคลองผดุงกรุงเกษม 17-25/10/58



 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคุมน้ำหนัก ปลอดสารเคมี  KuuNe F&F ฟิตแอนด์เฟิร์ม
 ผลิตภัณฑ์ KuuNe คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ โซเดียมต่ำปลอดสารเคมี


KuuNe คูเน่ นวัตกรรมคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว
บูธ B 16 โซนแอร์ 10.00 - 18.00น. วันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ 10.00 - 20.00น.
www.ptpfoods.com
www.facebook.com/kuunepage
Line@wfk7799w
Lineid: OatEcho
คมชาญ 086-791 7007