ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ KuuNe คูเน่ ... ส่งความสุข สุขสันต์วันคริสต์มาส และวันปีใหม่ 2014

Merry Christmas and Happy New Year 2014 
สุขสันต์วันคริสต์มาสและวันปีใหม่ 2557



May the miracle of Christmas fill your heart with warmth and love.
Christmas is the time of giving and sharing.
It is the time of loving and forgiving.



ขอให้ปาฏิหาริย์แห่งคริสต์มาสเติมหัวใจคุณด้วยความอบอุ่นและความรัก

คริสต์มาสเป็นช่วงเวลาของการให้และการแบ่งปัน

เป็นช่วงเวลาแห่งความรักและการให้อภัย



Health, Peace, and sweet content be yours.
 ขอให้คุณมีสุขภาพดี มีความสงบทางใจ และพบเจอแต่ความสุขในชีวิต

May the peace and blessings of Christmas be yours.
May the coming year be filled with happiness.

ขอให้สันติภาพและสิ่งดี ๆ จงอยู่กับคุณ

ขอให้ปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ เป็นปีที่เต็มไปด้วยความสุข


ด้วยความรักและปรารถนาดีจาก บริษัทปกธนพัฒน์ จำกัด
ผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ
Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว



วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ทูลเกล้าถวาย ผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

ทรงโปรดเกล้าให้บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด เข้าวังสวนกุหลาบน้อมทูลเกล้าถวายผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ในงานมูลนิธิ เพื่อนพึ่ง(ภา) เกษตรแฟร์ 2556  โดยมีอธิการบดี มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และคณะ ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้


รองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แะลคณะ
ร่วมเป็นเกียรติในงาน

  
มุ่งมั่นและตั้งใจ กับนวัตกรรมเพื่อประชาชน

รางวัล 10 สุดยอดนวัตกรรมแห่งปี 2556

10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม 2013 Top Ten Innovation Business 2013


บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด  ผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ  ได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับที่ 5 ของ 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2556  โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบเกียรติบัตร ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2556


 นางสุมลมาลย์ กัลยาศิริ รองปลัด กระทรวงอุตสาหกรรม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 
ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี / ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม 
เป็นประธานพิธีเปิดและมอบเกียรติบัตร 
และนายศุภชัย หล่อโลหการ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ร่วมเป็นเกียรติ


 

ธุรกิจนวัตกรรม Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ โซเดี่ยมต่ำ 2 in 1 
ใช้ปรุงอาหารก็ได้ ใช้ชงดื่มเพื่อสุขภาพก็ดี ไม่มีเนื้อสัตว์ ปลอดสารเคมี ธรรมชาติ 100%
ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เป็นทั้งอาหารและยาอายุวัฒนะ มีประโยชน์ช่วยป้องกันความเสี่ยง
ต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ ต้านสารก่อมะเร็ง อีกทั้งยังลดการอักเสบของเซล
ช่วยชะลอความชรา ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
จากสถาบันอาหาร ภายใต้มาตรฐานการผลิต GMP  ได้รับเครื่องหมายรับรอง อย. และ ฮาลาล

  

Mr. Hans Dotterwech ชาวเยอรมัน ร่วมเป็นหนึ่งในสักขีพยาน พร้อมสื่อมวลชน ชื่นชมกับผลงาน 
Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ


ความคิดของคนส่วนใหญ่ ทุ่มเทและทำงานหนักมาทั้งชีวิต เพื่อความสุขสบายยามชรา โดยละเลยไม่ได้ดูแลสุขภาพ ในที่สุดเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตก็ต้องมาถูกใช้ในการ ผ่าตัด เยียวยา รักษา สุขภาพแย่ๆ จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต ... 
เรียนรู้สุขภาพด้วยกันไปด้วยกันกับ Beyond the Fact Innovation by Kuu Ne คูเน่ 


ผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ มีจำหน่ายแล้วที่ 
Central Food Hall, Tops Market, Lemon Farm, Golden Place ทุกสาขา และ
ร้านค้าผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพทั่วไป
สนใจติดต่อ คมชาญ 086-791 7007
www.facebook.com/kuunepage
www.ptpfoods.com

Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดลับอายุยืนจากพระไตรปิฎก

เคล็ดลับอายุยืนจากพระไตรปิฎก

  

แม้ว่าวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลแค่ไหน แต่ถ้าลองตรองให้ดี สุดท้ายเราจะพบความลับที่น่าสนใจว่า สิ่งที่คิดว่าใหม่ทั้งหลาย แท้จริงเป็นสิ่งที่คนรุ่นเก่าคิดมาแล้วทั้งสิ้น

อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นใหม่ในโลกนี้ ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เคยกำเนิดเกิดขึ้นมาก่อนแล้วทั้งนั้น ชั่วแต่ว่าเราจะนำภูมิปัญญาและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้มากเพียงน้อยเพียงใดเท่านั้น
แม้แต่ประเด็นทันสมัยอย่าง การชะลอความชรา ที่ผู้คนในปัจจุบันกำลังให้ความสนใจ และนักวิทยาศาสตร์ได้ทุ่มเททุนทรัพย์มากมายเพื่อค้นคว้าวิจัย ก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แนะวิธีไว้ให้  ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วทั้งสิ้น
ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานโอวาทแก่พระเจ้า ปเสนทิโกศล  ในเรื่องธรรมะที่ทำให้อายุยืนว่า

คนที่มีสติอยู่ตลอดเวลา รู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า ครองอายุอยู่ได้นาน

พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังแล้วไม่รอช้า มีรับสั่งให้มหาดเล็กท่องจำพุทธโอวาทนี้ได้ และคอยกล่าวขึ้นมาขณะที่พระองค์เสวยทุกมื้อ ไม่ช้าไม่นานผลดีก็บังเกิดแก่พระองค์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงจนหาผู้ใดเทียบได้ยาก
นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้เคยตรัสกับพระอานนท์ไว้ด้วยว่า อานนท์ ผู้อบรมอิทธิบาท ๔ มาอย่างดีและทำจนแคล่วคล่องแล้วอย่างเรานี้ หากปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึง ๑ กัลป์ (คือ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้

หนังสือ สูตรลับ Anti-aging จากพระไตรปิฎก ของนายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์อายุรวัฒน์ สรุปไว้ว่า อิทธิบาท 4 น่าจะเกี่ยวพันกับเรื่องอายุยืนโดยตรงเลยทีเดียว เพราะเมื่อพิจารณาดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทั้ง ฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสา  ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขดังนี้

·    ฉันทะ ทำให้มีความพึงพอใจในการกระทำต่างๆ คนเราถ้าชอบใจ พอใจสิ่งใดแล้ว ก็ย่อมจะรู้สึกว่าการนั้นไม่เหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใด ทำงานไปก็เหมือนได้พักผ่อนสบายใจ

·        วิริยะ คือ ความเพียร ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกที่ควร

·       จิตตะ คือ ความจดจ่อใส่ใจ ซึ่งจะทำให้เกิดสมาธิและความสงบขึ้น ชีวิตจึงไม่ร้อนรน  ว้าวุ่นไปตามกระแสของโลก

·       วิมังสา คือ  การใคร่ครวญ ให้เหตุผลและสติปัญญานำทางชีวิต
จะเห็นได้ว่าธรรมทั้งสี่ประการนี้ นอกจากจะทำให้อายุยืนแล้วยังเป็นหลักที่จะนำความสำเร็จมาสู่ชีวิตด้วย
  1. สัปปายการี ให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สบายและเกี้อกูลแก่สุขภาพ เช่น ทำงานในที่อากาศปลอดโปร่ง ไม่เครียดกับงาน
  2. สัปปาเย มัตตัญญู ต้องรู้จักพอดีในสิ่งที่สบายนั้นด้วย  ไม่ใช่ว่าสบายมากจนกลายเป็นนอนหงายขี้เกียจอยู่ทั้งวัน
  3. ปริณตโภชี รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว ผักผลไม้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ย่อยยาก เช่น  เนื้อแดง
  4. กาลจารี ใช้ชีวิตให้เหมาะสมในเรื่องเวลา ไม่เคร่งเครียดบังคับตัวเองมากเกินไป รู้จักจัดเวลาให้พอดี ไม่หักโหมเกินกำลัง
  5. พรหมจารี ถือพรหมจรรย์ตามความเหมาะสม รู้จักปล่อยวางบ้าง อย่าเคร่งเครียดเบียดตัวเองจนตกขอบ ปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ ถือศีลกินเจตามสมควร และหมั่นขัดเกลาจิตใจให้กิเลสเบาบางลง
เมื่อพระให้ศีลให้พรมักจะลงท้ายด้วย อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง เพราะพรสี่ประการนี้เป็นสมบัติอันประเสริฐ เลิศยิ่งกว่าทรัพย์ใดๆ นายแพทย์กฤษดากล่าวว่า ในเรื่องอายุ พระท่านไม่ได้หวังให้เรามีอายุยืนนานแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ท่านมุ่งหวังให้เรามีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้อายุที่ยืนยาวนี้มีส่วนสร้างปัญญาหาทางพ้นทุกข์ให้แก่ตัว ไม่มัวเมากับสิ่งเร้าภายนอกทั้งหลาย

ส่วนวัณโณหรือผิวพรรณนั้น มีรากฐานสำคัญมาจากการเป็นผู้มีศีล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด หากมีศีลเป็นวัตรประจำใจ ผิวพรรณย่อมดีอยู่เสมอ เพราะเมื่อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทุกข์ร้อนจะไม่มากล้ำกราย เลือดลมจึงเดินสะดวก ทำให้ผิวพรรณผ่องใส

สำหรับสุขัง การที่บุคคลจะมีสุขได้นั้น จำต้องมีองค์ประกอบหลักๆคือ มีปัจจัยสี่พร้อม รวมทั้งมีสติและปัญญา รู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา ไม่ปรุงจิตให้ขึ้นลงตามสิ่งที่มากระทบ และหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ในทางที่ถูกที่ควร

ส่วนท้ายสุด พะลัง(พลัง) มีอยู่สองอย่าง คือ กำลังกายและกำลังใจ ที่ต้องหมั่นฝึกฝนเตรียมพร้อมไว้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง ด้วยการหมั่นออกกำลังกายและหมั่นฝึกจิตให้เข้มแข็งอยู่เสมอ

แม้เราจะพยายามต้านทานความชราไว้เพียงใด แต่สุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องเดินไปบนเส้นทางเดียวกัน การใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอทั้งกายและใจ จะช่วยให้เราเป็นผู้มีอายุยืนอย่างมีความสุข และสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมได้อย่างยาวนานที่สุด

เคล็ดลับชะลอวัยของนายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช
·      เลี่ยงอาหารที่อร่อยลิ้นจนเกินไป
·      เลี่ยงของทอดของมัน น้ำตาลและแป้งขาว
·      อย่ากินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ จะนำโรคมาให้
·      อย่าเสียดายจนตายด้วยปาก
·      อย่าอยากเหล้ายาและกาแฟจะแก่เร็ว
·      กินให้น้อย พลอยสดใส ไม่มึนหัว
บทความจากนิตยสารซีเคร็ต

สนับสนุนโดย Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

www.ptpfoods.com
www.facebook.com/kuunepage

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ผงชูรส และ ขบวนการผลิตผงชูรส

รู้ไว้ไม่เสียหาย...นะครับ
            ผงชูรส......และ............ขบวนการผลิตผงชูรส 


1. แป้งมันสำปะหลัง (TAPIOCA หรือ CASAWA STARCH) ใช้กรดกำมะถันหรือ กรดซัลฟูริค(H2SO4) ผ่านขบวนการย่อยสลายแป้งทางเคมีที่ 130องศาเซลเซียส (SACCHARIFICATION) 

2.สารละลายน้ำตาลคลูโคส (GLUCOSE SOLUTION) ใช้ยูเรีย ( UREA) และเชื้อจุรินทรีย์ (Corynebacterium glutanicum ) ผ่านขบวนการหมัก( FERMENTATION) 

3.แอมโมเนียกลูตาเมต (AMMONIUM GLUTAMATE) ใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริค (HCI) ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

4.กรดกลูตามิค (GLUTAMIC ACID) ใช้โซดาไฟ หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

5.สารละลายผงชูรสหยาบ ( MSG CRUDE SOLUTION) ใช้สารเคมีฟอกสี ผ่านขบวนการฟอกสี

6.สารละลายผงชูรสใส (MSG CLEAR SOLUTION) ผ่านขบวนการตกผลึก 

7.ผลึกผงชูรส (MSG CRYSTALS)

ผงชูรส (Monosodium glutamate)

ผงชูรส มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียม-แอล-กลูตาเมต (MONOSODIUM-L-GLUTAMATE) และมีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า เอ็ม เอส จี (MSG) ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษที่ขีดเส้นใต้ไว้นั่นเอง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “บี่เจ็ง” เป็นเกลือโซเดียมของกรดกลูตามิก ซึ่งเป็นกรดแอมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน มีอำนาจในการกระตุ้นประสาทรับรส ทำให้รู้สึกว่ากิน อาหารได้อร่อย 
ผงชูรสเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมรสชาติของ อาหารอย่างมีประสิทธิภาพมานานเกือบ ศตวรรษ องค์ประกอบหลักของผงชูรส คือ กรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า "กรดกลูตามิก" หรือ "กลูตาเมต" ซึ่งเป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารแทบทุกชนิด เราจะมา ทำความรู้จักกับผงชูรสให้มากขึ้นอย่างถูก ต้อง รวมไปถึงวิธีใช้ผงชูรสในการปรุงอาหาร อย่างเหมาะสมอีกด้วย 
การค้นพบผงชูรส
ความจริงบางประการว่าด้วยผงชูรสที่ คนไทยควรรู้ ผงชูรส ก็คือสารกลูตาเมต (glutamate) ที่มีในอาหารตามธรรมชาติอยู่แล้วและ กรดกลูตาเมต (glutamate acid )ก็มีอยู่ในตัวคนเราเสียด้วยซ้ำ ในน้ำปลา ซีอิ๊ว โชยุ ชีส ซอสมะเขือเทศ น้ำ ซุปไก่ ซอสถั่วเหลือง ในอดีตไม่เคยมีใคร ทราบว่ามีส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้อาหาร มีรสอร่อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2451(ค.ศ.1908) ดร.คิคูนาเอะ อิเคดะ (Professor Ikeda)ชาวญี่ปุ่นพบว่า กลูตาเมตนั่นเอง ที่ทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น หลังจากนั้นไม่ นานมนุษย์ก็สามารถหาวิธีผลิตกลูตาเมตได้ มีชื่อที่รู้จักกันดีว่า ผงชูรส หรือ โมโนโซเดียม กลูตาเมต การศึกษาของญี่ปุ่นต้นตำรับผงชูรสพบว่า กลูตาเมตให้รสที่ห้า คือรสอูมาอิ หรือรสอร่อยนั่นเอง ซึ่งรสนี้ไม่สามารถจัด อยู่ในรสชาติพื้นฐานทั้งสี่รสคือ เปรี้ยว หวาน เค็ม และขมได้ แม้ไม่รู้รสชัดเจนแต่ก็มี บทบาทในการรับรส

โครงสร้างทางโมเลกุลของผงชูรส (โมโนโซเดียม กลูตาเมท)
สมการเคมีของผงชูรส
COOH(CH2)2CH(NH2)COONa
ผงชูรส คือ สารเคมีที่มีสูตรเคมีดังนี้ 
COOH(CH2)2CH(NH2)COONa
ขบวนการผลิตผงชูรส
ผงชูรสผลิตจากกระบวนการทางเคมีหมักเช่น เดียวกับเบียร์ น้ำส้มสายชู หรือโยเกิร์ต โดย กระบวนการผลิตจะเริ่มต้นจากการหมักกาก น้ำตาลจากอ้อย หรือน้ำตาลจากแป้งมัน สำปะหลัง และต้องใช้สารเคมีหลายตัว เช่น กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในปัสสาวะของคน นอกจากนี้ยังต้องใช้โซดาไฟอีกด้วย ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติโดยผลิต ภัณฑ์สุดท้ายที่ได้จะเป็นผลึกขาวบริสุทธิ์ ละลายน้ำได้ง่าย และเข้ากับอาหารได้ทุก ชนิด
ขบวนการผลิตผงชูรสอาจเขียนเป็นแผนผังโดยย่อได้ดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง โปรดสังเกตสารเคมีที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีทั้งกรดและด่างโซดาไฟ รวมทั้งยูเรียด้วย
วิธีการผลิตผงชูรส
1. แป้งมันสำปะหลัง (TAPIOCA หรือ CASSAWA STARCH) ใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค (H2SO4) ผ่านขบวนการย่อยสลายแป้งทางเคมีที่ 130 องศาเซลเซียส (SACCHARIFICATION)
2. สารละลายน้ำตาลกลูโคส (GLUCOSE SOLUTION) ใช้ยูเรีย(Urea) และเชื้อจุลินทรีย์ (Corynebacterium glutanicum) ผ่านขบวนการหมัก (Fermentation)
3. แอมโมเนียมกลูตาเมต (Ammonium Glutamate) ใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริค (HCl) ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
4. กรดกลูตามิค (Glutamic acid) ใช้โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
5. สารละลายผงชูรสหยาบ (MSG. Crude Solution) ใช้สารเคมีฟอกสี ผ่านขบวนการฟอกสี
6. สารละลายผงชูรสใส (MSG. Clear Solution) ผ่านขบวนการตกผลึก
7. ได้ผลึกผงชูรส (MSG. Crystals)
จะใช้ผงชูรสในการปรุงอาหารอย่างไร 
ผงชูรสจะช่วยเสริมรสชาติของอาหาร หลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือผัก โดยจะช่วยให้อาหารมี รสชาติเด่นชัดขึ้น อาหารจำพวกซุป แกงจืด เกรวี่สำหรับราดสเต็ก น้ำจิ้มต่างๆ ก็เป็น ตัวอย่างของอาหารที่มีรสชาติที่อร่อยมากขึ้น เมื่อเติมผงชูรสในปริมาณที่เหมาะสม  ผงชูรส เป็นสารปรุงแต่งรสอาหารที่ใช้ได้อย่างปลอด ภัย และจะเข้ากันได้ดีกับอาหารรสเค็มและ เปรี้ยว แต่จะมีผลน้อยมากเมื่อเติมในอาหาร รสหวานและขม การเติมผงชูรสลงในอาหาร ก็คล้ายกับ การเติมเครื่องปรุงรสทั่วๆ ไป เช่น เกลือ น้ำตาล และพริกไทย โดยปริมาณ การใช้ผงชูรสอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับ เดียวกับปริมาณกลูตาเมตในอาหารธรรมชาติ คือ 0.1 - 0.8% ของอาหาร หรืออาจกล่าวได้ ว่าประมาณผงชูรส 1 ช้อนชาเหมาะที่จะใช้ใน การปรุงอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ ปรุงอาหารจำพวกผักและซุปหรือแกงจืด 1 หม้อ สำหรับเสิร์ฟ 4 - 6 ที่ 
นอกจากนี้ผงชูรสเองก็มีคุณสมบัติจำกัด ตัวเองในด้านรสชาติเช่นเดียวกับเกลือ พริก ไทย และน้ำส้มสายชู การใช้สารปรุงรส เหล่านี้เกินกว่าปริมาณ ที่เหมาะสมจะไม่ ช่วยให้รสชาติของอาหารดีขึ้น เห็นได้จาก การใส่เกลือหรือพริกไทยในอาหารในปริมาณ ที่มากเกินไป ก็จะทำให้อาหารเค็มเกินไป มี รสชาติไม่เป็นที่ปรารถนา 
                                 ซึ่งเมื่อมาพิจารณาปริมาณกลูตาเมตที่ เติมลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติแล้ว จะพบว่ามีปริมาณเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับ ปริมาณกลูตาเมตทั้งหมดที่เราได้รับในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยมนุษย์จะได้รับกลูตาเมตจาก อาหารโปรตีน 10 กรัม และกลูตาเมตอิสระ อีกกว่า 1 กรัมต่อวัน นอกจากนี้ร่างกายยัง สามารถสร้างกลูตาเมตอิสระได้เอง เพื่อใช้ ในระบบอื่นๆ อีกวันละ 50 กรัม แต่กลูตาเมต ที่ได้รับจากการเติมผงชูรสลงในอาหารจะอยู่ ที่ 1.5 กรัมหรือ 0.1 ช้อนโต๊ะ / คน / วันเท่านั้น 
ผงชูรสกับนิวคลีโอไทด์ 
นอกจากกลูตาเมตเป็นสารให้รสชาติที่มี ในธรรมชาติแล้วในเห็ดหอม เนื้อสัตว์ ปลา และกุ้งนั้น ก็ยังมีสารที่ให้รสของอูมามิอีก กลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า นิวคลีโอไทด์อยู่ด้วย สาร ในกลุ่มนี้ได้แก่ อิโนซิเนต (Inosimate) และ กัวนิเลต (Guanylate) และเมื่อลองนึกถึงราย การอาหารที่เราคุ้นเคย เช่น ผัดผักคะน้ากับ ปลาเค็ม ผัดผักกระเฉดใส่หมูกรอบ ผัดผักกาดขาวใส่เห็ดหอม หรือพิซซ่าซึ่งมีมะเขือเทศกับชีส ที่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมการ จับคู่ของผักกับเนื้อสัตว์ในการปรุงอาหารจึง ทำให้เกิดรสชาติอร่อยที่เราชื่นชอบได้คำตอบ ก็คือ จากความชาญฉลาดในการปรุงอาหาร ของบรรดาพ่อครัวแม่ครัว ในการจัดคู่ผักที่ เป็นแหล่งของนิวคลีโอไทด์เพื่อช่วยให้อาหาร มีรสชาติอร่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง จะเห็นได้ว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมของอาหารที่เป็นแหล่ง ของกลูตาเมตและนิวคลีโอไทด์จะช่วยให้ อาหารมีรสชาติดีกว่า เมื่อมีอาหารดังกล่าว อย่างใดอย่างหนึ่ง 
ความนิยมบริโภคผงชูรสได้รุ่งเรืองเมื่อไม่นานมานี้ ผงชูรสจึงจึงกลายมาเป็นส่วนประกอบของอาหารที่จะขาดเสียมิได้ ผู้ประกอบอาหารและผู้ผลิตอาหารนิยมผสมผงชูรสลงในอาหารมากมายแทบทุกชนิด หากได้รับในปริมาณน้อย จะกระตุ้นสมองให้แจ่มใส กระปรี้กระเปร่า แต่หากได้รับประทานผงชูรสมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพขึ้น เช่น มีผู้แพ้ผงชูรส คือ มีอาการมึนงง ปวดหรือร้อนวูบวาบที่ก้านคอและก้ม บางรายมีคลื่นไส้และอาเจียน อาการเหล่านี้จะหายไปในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังพบว่าผงชูรสสามารถทำลายเซลล์สมองของสัตว์ทดลองได้ จึงมีคำแนะนำว่าเด็กทารกและหญิงมีครรภ์ไม่ควรบริโภคผงชูรสเลย เพราะอาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์สมองของเด็กได้ ส่วนคนปกติไม่ควรได้รับผงชูรสเกินกว่าวันละ 1 ช้อนชาพูน ๆ หรือเท่ากับ 6 กรัม จึงจะปลอดภัยจากพิษของผงชูรส
ผงชูรสมีประโยชน์หรือไม่
ผงชูรสไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกรดกลูตามิค ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่มีความจำเป็น เพราะร่างกายผลิตเองได้ จึงไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อนึ่ง ผงชูรสเป็นสารเคมีคนละตัวกับกรดกลูตามิคที่มีอยู่ในธรรมชาติและในอาหารประเภทโปรตีน โดยที่ผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมเช่นเดียวกับเกลือแกง เป็นคนละตัวกับกรดเกลือที่หลั่งอยู่ในกระเพาะอาหารเวลาหิว
นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ผงชูรสยังมีโทษและพิษภัยอันตรายมากมายด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยย่อดังต่อไปนี้
แต่ผงชูรสก็มีประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับการโภชนาการคือ ช่วยห้ามเลือดได้ จะเห็นได้ว่าในสมัยสงครามประเทศเพื่อนบ้านเรามีการนำเข้าผงชูรสกันมาก เพื่อใช้ในการห้ามเลือด
พิษภัยและอันตรายของผงชูรส
พิษภัยและอันตรายของผงชูรสอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากโซเดียมและส่วนที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้ๆ
พิษภัยและอันตรายที่เกิดจากเกลือโซเดียม
ผงชูรสมีโซเดียมที่มาจากโซดาไฟเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับเกลือแกง แต่อันตรายมากกว่าเกลือแกงตรงที่ว่าเกลือแกงใช้เพียงนิดเดียว ก็รู้สึกว่ามีรสเค็ม แต่ผงชูรสใส่มากเท่าไรก็ไม่รู้สึกตัวว่ามีปริมาณโซเดียมมากเท่าไร เพราะไม่มีรสเค็มให้รู้สึกเหมือนอย่างเกลือแกง หรือพูดอีกนัยหนี่ง ผงชูรสมี “พิษแฝง” ในเรื่องโซเดียม ซึ่งมีพิษภัยอันตรายดังต่อไปนี้
5.1 ทำให้ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ลดลง ถึงแม้ผงชูรสจะไม่ทำให้เกิดโรคเอดส์โดยตรง แต่ (ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง คือความหมายของโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Antibody Immune Defficiency Syndrome
5.2 ทำให้เกิดการคั่งในสมองเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นจะเป็นคนปัญญาอ่อน ในปัจจุบันนี้มีเด็กปัญญาอ่อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีผงชูรสแพร่หลายในประเทศไทย จะเกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือไม่น่าศึกษา
5.3 ทำให้เด็กทารกเกิดอาการชักโคมา ซึ่งบางครั้งแพทย์ไม่รู้สาเหตุ อาจทำการรักษาผิดพลาดเป็นอันตรายได้
5.4 เป็นภัยต่อหญิงมีครรภ์ทำให้ร่างกายบวมและยังมีพิษภัยต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดด้วย
5.5 อันตรายต่อผู้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคไต ความดันสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่แพทย์ห้ามกินของเค็ม ซึ่งหมายถึงการห้ามกินเกลือโซเดียมนั่นเอง ได้แก่เกลือแกงและผงชูรสเป็นต้น
พิษภัยและอันตรายที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้
1. ทำให้เกิดอาการแพ้ผงชูรส ซึ่งจะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เป็นต้น จนเป็นที่รู้จักและขนานนามโรคแพ้ผงชูรสว่า “ไชนีสเรสทัวรองซินโดม”(Chinese Restaurant Syndrome) หรือ “โรคภัตตาคารจีน” เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมากนั่นเอง
2. ทำลายสมองส่วนหน้าที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตและระบบสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำให้การเจริญเติบโตช้า ปัญญาอ่อน ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ เป็นหมัน อวัยวะสืบพันธุ์เล็กลง ทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก
3. ทำลายระบบประสาทตา สายตาเสียหรือเกิดตาบอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ทดลอง ยิ่งอายุน้อยจะยิ่งเกิดผลร้ายมาก
4. ทำลายกระดูกและไขกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ผลิตเม็ดเลือดแดงในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ นอกเหนือจากโรคทรัพย์จาง เพราะต้องใช้เงินซื้อผงชูรสโดยไม่จำเป็น
5. ทำให้ไวตามินในร่างกายลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวตามินบี-6 ทำให้ร่างกายผิดปกติและเป็นโรคผิวหนังได้ง่าย (การค้นพบนี้ทำให้ใช้ไวตามินบี-6 แก้โรคแพ้ผงชูรสได้)
6. เกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผงชูรสที่ผ่านความร้อนสูงๆ เช่น การปิ้ง ย่าง เผา ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ได้หลายแห่ง เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับและสมอง เป็นต้น
7. ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ทำให้เป็นโรคประสาทได้ง่ายขึ้น ในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคประสาทมากขึ้นเรื่อยๆ น่าศึกษาว่าเกิดจากผงชูรสได้หรือไม่
8. เปลี่ยนแปลงโครโมโซม ทำให้ร่างกายเกิดวิรูปหรือผิดปกติ ปากแหว่ง หูแหว่ง จมูกวิ่น แขนขาพิการ เป็นต้น
9. ถ้ากินมากจะผ่านเยื่อกั้นระหว่างรกภายในร่างกายของผู้เป็นมารดากับทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับผลกระทบจากผงชูรส
10.ทำให้เด็กเล็กถึงตายได้ เด็กไทยอายุ 20 เดือนถึงแก่ความตาย เมื่อกินขนมครกโรยผงชูรสด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นน้ำตาล (เรื่องนี้ได้สัมภาษณ์บิดามารดาของเด็กเอง)
ผงชูรสแท้กับผงชูรสเทียม
ทุกวันนี้ผงชูรสมีราคาถูก จึงไม่มีการปลอมปนด้วยสารเคมีชนิดบอแรกหรือโซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งมีเกล็ดคล้ายคลึงกับผงชูรส อย่างที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนที่ผงชูรสมีราคาแพงมาก
อย่างไรก็ตาม หากมีการปลอมปนผงชูรสในปัจจุบันนี้ มักจะปลอมปนด้วยน้ำตาลทรายหรือเกลือแกง
ดังนั้น ในปัจจุบันนี้จึงไม่ค่อยมีผงชูรสปลอม ซึ่งมักจะเป็นข้ออ้างของบริษัทผู้ผลิต รวมทั้งข้าราชการที่สนับสนุนบริษัทผู้ผลิตผงชูรสว่า “ผงชูรสแท้ไม่อันตราย ผงชูรสปลอมจึงจะอันตราย” 
อันที่จริงถ้าหากมีผงชูรสปลอมปนด้วยน้ำตาลหรือเกลือแกง ผงชูรสแท้ย่อมจะอันตรายมากกว่าผงชูรสปลอม เพราะน้ำตาลทรายมีพิษภัยน้อยกว่าผงชูรส ส่วนเกลือแกงก็มีรสเค็มจัด ถ้ากินผงชูรสในปริมาณที่จะให้รสเค็มเท่าเกลือแกงแล้ว จะมีพิษภัยมากกว่าเกลือแกงหลายเท่าตัว
ถ้ารับประทานมากเกินไปก็อาจเป็นภัยได้เหมือนกันในการเพิ่มรสชาติของอาหารปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัยโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 0.2-0.8%ของน้ำหนักอาหารที่รับประทาน การพิจารณาดูว่าเป็นผงชูรสแท้หรือปลอม ผงชูรสแท้จะดูทึบไม่ใสเป็นท่อนยาวด้านหัวโตปลายเล็ก ส่วนผนึกผงชูรสปลอมมักใสและมีฟองอากาศเป็นจุดๆ เป็นแท่งยาวที่ปลายทั้งสองโตเท่าๆกัน 
ผงชูรสผลิตมาจากสารเคมีล้วนๆ ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะอ้างว่าทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเป็นอ้อย หรือ แป้งมันสำปะหลัง แต่ในกระบวนการผลิตก็ต้องใช้สารเคมีหลายๆ ตัว อาทิ กรดกำมะถันกรดเกลือ ยูเรีย และโซดาไฟ เข้ามาทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จากนั้นฟอกสีให้สารละลายกลาย เป็นผลึกผงชูรส จึงแทบจะเรียกว่าไม่ได้คงเหลือ ความเป็นวัตถุดิบธรรมชาติเอาไว้เลย ผงชูรสทำให้เรารู้สึกว่าอาหารอร่อยขึ้น ก็เพราะว่าผงชูรส ทำให้รูขนในลิ้น เปิดกว้างเต็มที่ ทำให้เราสามารถรับรสได้มากขึ้น จึงทำให้เราเข้าใจไปว่าอาหารนั้นอร่อย
โซเดียมและตัวผงชูรสแท้ แม้ว่าผงชูรสจะมีโซเดียม (ที่ได้มาจากโซดาไฟ) น้อยกว่าเกลือแกง 2.5 เท่า แต่สิ่งที่ทำให้มันอันตรายมากกว่าก็คือ การที่ผงชูรสไม่มีรสเค็ม เพราะฉะนั้นต่อให้เรากินเข้าไปมากเท่าไรก็ไม่รู้สึก นี่จึงเป็นภัยแฝงที่ไม่มีใครมองเห็น โซเดียมในผงชูรส มีผลต่อร่างกาย โดยตรง ตั้งแต่การทำให้ภูมิต้านทานลดลงเกิดน้ำในสมองเด็ก จนกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน ทำให้ทารกชักได้ ร่างกายหญิง มีครรภ์บวม รวมทั้งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยที่แพทย์ห้ามรับประทานอาหารรสเค็ม อาทิ โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจด้วย อันตรายจากตัวผงชูรสแท้ ยังทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้อีกมากมาย แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ กลุ่มอาการแพ้ผงชูรส หรือเรียกอีกอย่างว่า "โรคภัตตาคารจีน" (Chinese Restaurant Syndrome)
เนื่องจากว่า ร้านอาหารจีนในต่างประเทศจะมีการใส่ผงชูรสเป็นจำนวนมาก และทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เกิดอาการแพ้ ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ รู้สึกชา ร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก นอกจากนี้ ผงชูรสก็ยังทำลายสมองส่วนหน้า หรือไฮโปทาลามัส ซึ่งควบคุม การเจริญเติบโตรวมทั้งการสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นโรคประสาท ทำลายระบบ ประสาทตา ทำให้ตาเสียหรือตาบอด ทำลายกระดูกและไขกระดูกจนอาจเกิดโรคโลหิตจาง เปลี่ยนแปลงโครโมโซมใน ร่างกายซึ่งอาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือคลอดแล้วพิการ เช่น มีสมองอยู่นอกกะโหลกศีรษะ ใบหน้าผิดปกติ ปากแหว่ง ไม่มีตา แขนขาผิดปกติ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นสารก่อมะเร็ง เพราะเมื่อผงชูรส ถูกนำไปปรุงด้วยการสัมผัส กับความร้อนโดยตรง ในอุณหภูมิสูงๆ เช่น การปิ้ง ย่าง หรือเผา โครงสร้างเคมีของมันจะเปลี่ยนไป กลายเป็น สารเคมี ตัวใหม่ คือ กลูพี 1 และกลูพี 2 ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งทางเดินอาหาร ตับ และสมอง
กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม (2523) ได้รายงานการวิเคราะห์หาผงชูรส ในอาหารไทยหลายชนิด เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ้วหวาน น้ำปลา น้ำบูดู มันกุ้ง ปลาเนื้ออ่อนปนพริกขี้หนู ส้มฟัก กุนเขียงไก่ ลูกชิ้น เนื้อวัว ลูกชิ้นหมู ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา ซึ่งผลิตจากทั่วประเทศ พบว่า อาหารดังกล่าวมีผงชูรสเกือบทุกตัว อย่างรายงานนี้แสดงให้เห็นว่า มีผงชูรสปะปนอยู่ในอาหาร แทบทุกชนิดที่กินเป็นประจำทุกวัน จึงเป็นการยากที่จะระวังมิให้ได้รับผงชูรส เกินกว่าระดับความปลอดภัย ที่ทางการกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกและหญิงมีครรภ์ ควรจะต้องระมัดระวังเรื่องผงชูรสให้มาก
ผงชูรสปลอมไม่ควรใช้ 
ผลชูรสแท้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ช้อนชา/วัน 
ผงชูรสที่แท้ต้องบรรจุในภาชนะปิดผนึกเรียบร้อย (วิจริต บุณยะโหตระ, 2533) 
ลักษณะรูปร่างผงชูรส 
1. เป็นผลึกสีขาวค่อนข้างใส ไม่มีความวาว 
2. เป็นแท่งสีเหลี่ยม ไม่เรียบ ปลาข้างใดข้างหนึ่งเล็กคล้ายรูปกระบอง 
3. เป็นแท่งสีเหลี่ยม ไม่เรียบ แต่ปลายทั้งสองข้างใหญ่คอดตรงกลางคล้ายรูปกระดูก 
ผงชูรสมีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำ ทั้งยังช่วยละลายไขมันให้ผสมกลมกลืนกับน้ำ มีรสเหมือนน้ำต้มเนื้อ สามารถกระตุ้นปุ่มปลายประสาทโคนลิ้นกับลำคอ ทำให้รู้สึกอร่อยขึ้นได้ 
ผู้ผลิตอาจปลอมปนผงชูรสได้ สารที่ใช้ปลอมปมมี 2 ชนิด คือ 
• สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น น้ำตาล, เกลือ แต่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค 
• สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่เคยตรวจพบคือ บอแรกซ์และโซเดียมเมตาฟอสเฟต 
การทดสอบสารปลอมปน 
บอแรกซ์ 
บอแรกซ์ เป็นผลึกค่อนข้างกลม สีขาวขุ่นคล้ายผงชูรสหัก บอแรกซ์มีพิษสะสมที่กรวยไต และเป็นอันตรายถึงตายถ้าบริโภคเกินกว่า 15 กรัมต่อครั้ง 
1. วิธีตรวจสอบว่ามี Sodium Borate (Borax) เจือปนอยู่กับผงชูรสหรือไม่โดยนำผงชูรสละลายน้ำ ประมาณเม็ดถั่วเขียวละลายน้ำ 1 ช้อนกาแฟ แล้วนำกระดาษขมิ้นจุ่มลงไปในตัวอย่างที่ละลายไว้ ถ้าเป็นผงชูรสบริสุทธิ์ กระดาษขมิ้นจะคงสีเหลืองอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าผงชูรสมี Sodium Borate (Borax) เจือปนอยู่ กระดาษขมิ้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีม่วงเข้มและน้ำเงิน ตามปริมาณของ Sodium Borate (Borax) ที่เจือปนทันที (วิธีทำกระดาษขมิ้นใช้ผงขมิ้นประมาณ 1 ช้อนกาแฟ ผสมอัลกอฮอล์หรือสุราขาวประมาณ 10 ช้อนกาแฟ จะได้น้ำยาสีเหลือง นำกระดาษสีขาวจุ่มลงไป แล้วตากให้แห้งกระดาษจะมีสีเหลืองอ่อน)
2. วิธีตรวจโดยการเผาไหม้ นำผงชูรสประมาณครึ่งช้อนกาแฟใส่ลงในช้อนโลหะ เผาบนเปลวไฟให้ไหม้ จะทราบผลดังนี้
2.1 ถ้าเป็นผงชูรสแท้ สารนั้นจะไหม้ไฟเป็นถ่านสีดำที่ช้อน
2.2 ถ้าเป็นผงชูรสผสมกับสารอื่น เช่น Sodium Borate หรือ Borax หรือ Sodium Metaphosphate จะปรากฏว่าส่วนหนึ่งจะเผาไหม้เป็นถ่านดำ และมีอีกส่วนหนึ่งเพียงแต่หลอมตัวเป็นสารสีขาวอยู่ด้วย
2.3 ถ้าเป็น Sodium Borate หรือ Borax หรือ Sodium Metaphosphate อย่างเดียวจะเพียงแต่หลอมตัวเป็นสารสีขาวอยู่บนช้อน
โซเดียมเมตาฟอสเฟต 
โซเดียมเมตาฟอสเฟต เป็นผลึกแท่งเหลี่ยมยาวคล้ายผงชูรสมาก แต่มีลักษณะใสและเรียบกว่า ถ้าบริโภคเข้าไปแล้วจะเกิดอาการถ่ายท้องอย่างรุนแรง 
การตรวจหาโซเดียมเมตาฟอสเฟตในผงชูรส ที่สงสัยประมาณ 1 ช้อนชา ละลายในน้ำสะอาดประมาณครึ่งแก้ว แล้วใส "น้ำปูนขาวผสมกรดน้ำส้ม" ลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไม่มีตะกอนเกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นผงชูรสที่มีโซเดียมเมตาฟอสเฟตผสมอยู่จะเกิดตะกอนขุ่นขาวทันที (วิธีทำน้ำยาปูนขาวผสมกรดน้ำส้ม ใช้ปูนขาวประมาณครึ่งช้อนชา ละลายในน้ำส้มสายชูประมาณ 7 ช้อนโต๊ะ คนให้ทั่วประมาณ 2 - 3 นาที แล้วทิ้งไว้ให้ตะกอนนอนก้นรินเอาน้ำยาใสข้างบนออกมาใช้ น้ำยาใสนี้คือ "น้ำปูนขาวผสมกรดน้ำส้ม" 
   ขณะที่กำลังหยิบชิ้นผลไม้ไปจิ้มพริกเกลืออยู่นั้น ได้มีเสียงร้องห้ามจากคนใกล้ตัวว่า "อย่า" เธอบอกว่าไม่แน่ใจว่าในนั้นมีอะไรผสมอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ได้กินเข้าไปแล้วเกิดอาการประหลาดร้อนคอคล้ายจะเป็นไข้ขึ้นมา
             เมื่อได้เพ่งดูไปที่พริกเกลือแล้ว จึงพบว่า ในนั้นมี "ผงชูรส" ผสมอยู่จนเห็นเป็นเกร็ดประกายอย่างชัดเจน
เรื่องเช่นนี้หรือทำนองนี้คงมีใครเจอกันมาบ้างแล้ว แต่ถ้าถามว่า อะไรทำคนขายผลไม้สดคนนั้นคิดอ่านใส่ผงชูรสลงในพริกเกลือให้เปลืองเงินโดยใช่เหตุแล้วละก็ คิดว่าคงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องถกกันต่อไปอีกแล้ว
            เพราะข้อสรุปที่ค่อนข้างตรงกันจากหลายๆ คนก็คือ การใช้ผงชูรสในทุกวันนี้ได้เป็นไปอย่างกว้างขวางจนยากที่จะหยุดยั้งได้อีกต่อไป ซ้ำร้ายมีแต่จะต้องคอยดูว่า ยังจะมีอะไรอีกบ้างที่มนุษย์จะสามารถใส่ผงชูรสลงไปเพื่อให้ตนได้กินเป็นเมนูใหม่อีกเมนูหนึ่งเท่านั้น ?

ด้วยเหตุนี้ ในวันหนึ่งข้างหน้าหากเราจะพบว่ามีคนใส่ผงชูรสลงในน้ำที่ตนดื่มก็จงอย่าได้แปลกใจเป็นอันขาด         ปรากฏการณ์การใช้ผงชูรสเช่นที่ว่าไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในเมืองไทยเท่านั้น อีกหลายประเทศในเอเชียก็ใช้ไม่ต่างกัน และบางประเทศอาจจะน่ากลัวพอๆ กับเมืองไทยด้วยซ้ำไป
เช่น ในเมืองจีนนั้น ร้านค้าหรือหาบเร่แผงลอยที่ขายอาหารซึ่งตั้งอยู่ตามริมถนนรนแคมในบางเมือง เคยพบกับตัวเองว่า บนโต๊ะอาหารจะมีชามใส่ผงชูรสขนาดใหญ่วางเอาไว้บริการลูกค้ากันเลยทีเดียว
              ที่เคยเห็นกันอย่างจะจะเป็นร้านขายบะหมี่และเกี๊ยว ลูกค้าที่ไปกินจะใช้ตะเกียบช้อนเอาผงชูรสประมาณว่ามากกว่าหนึ่งช้อนชาใส่ลงในชามก๋วยเตี๋ยวของตนอย่างน่าตาเฉย บางคนถึงกับคีบเอาตัวเกี๊ยวมาแตะผงชูรสในชาม ก่อนที่จะใส่เข้าปากแล้วกินด้วยความกำซาบฟันก็มี ทั้งนี้ ยังไม่นับของกินประเภทนี้อย่างหมูย่าง ที่ในขณะที่ย่างไปนั้น คนขายจะโรยผงชูรสไปพลางก็เคยเห็นมาแล้ว
               ส่วนในกรณีของไทยนั้น การใช้ผงชูรสค่อนข้างกว้างขวางหลากหลาย ซึ่งมีตั้งแต่คลุกข้าวกิน ใส่ในน้ำจิ้มประเภทพริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มแจ่ว ในน้ำซุปของก๋วยเตี๋ยวที่ยังไม่รวมในชามก๋วยเตี๋ยว (เหมือนเป็นการใส่แถมยังไงยังงั้น) ส้มตำ ฯลฯ
             พ้นไปจากนี้ก็คือ การใส่ในอาหารที่กำลังปรุงด้วยปริมาณที่ชวนให้ตกใจ
         อันที่จริงผงชูรสเป็นสิ่งที่มีการกินการใช้คู่กับอาหารมานานแล้ว และไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือโทษอย่างไร คนจีนที่กินผงชูรสนั้นต่างล้วนถูกอบรมสั่งสอนต่อๆ กันมาถึงวิธีการใช้ ซึ่งโดยหลักการแล้วมักจะใส่ผงชูรสลงในอาหารที่กำลังปรุงอยู่ด้วยปริมาณที่ไม่มากนักก่อนที่จะตักใส่จานมาเสิร์ฟกิน
         ที่ทำเช่นนี้เพราะคนจีนเชื่อว่า ผงชูรสมีสารบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อใส่ลงไปในอาหารที่กรุ่นด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานานๆ สารที่ว่านี้จะสลายกลายเป็นสารที่ให้โทษ
           วิธีการจึงกลายเป็นว่า หลังจากที่ปรุงอาหารจนพร้อมที่จะตักใส่จานชามเพื่อเสิร์ฟกินแล้ว ก่อนจะตักหากต้องการใส่ผงชูรสก็ใส่กันในตอนนั้น โดยเมื่อใส่แล้วให้ผัดหรือคน (แล้วแต่ประเภทของอาหารที่กำลังทำหรือปรุงอยู่ว่าผัดหรือคน) สักพักกะว่าให้ผงชูรสละลายแล้วจึงค่อยตักใส่จานชาม วิธีที่ว่านี้จะทำให้ผงชูรสไม่อยู่ในความร้อนที่คุกรุ่นหรือเดือดพล่านจนนานเกินไป
             และเมื่อไม่นาน การละลายของผงชูรสก็จะยังไม่แปรสภาพไปเป็นสารที่เสี่ยงอันตราย
จากหลักการทำนองเดียวกันนี้ คนจีนจึงเห็นต่อไปว่า ผงชูรสยังไม่ควรถูกนำมาใส่เพื่อหมักอาหารอีกด้วย (โดยมากมักจะเป็นจำพวกเนื้อสัตว์) เพราะไม่ว่าหมักนานแค่ไหนและโดยไม่ผ่านความร้อนระหว่างหมักก็ตาม แต่ถึงที่สุดแล้วก็ต้องนำสิ่งที่หมักมาปรุงผ่านความร้อนเพื่อทำให้สุกก่อนกินอยู่ดี
          ความร้อนที่ว่าซึ่งเริ่มจากศูนย์องศาไปจนถึงจุดที่ร้อนสุดสุด เพื่อทำให้อาหารสุกนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำให้ผงชูรสถูกคุกรุ่นด้วยความร้อนในเวลาที่นานๆ นั่นเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้อาหารประเภทหมักจานที่ว่าจึงกลายเป็นอาหารที่ผงชูรสได้กลายสภาพเป็นสารอันตรายไปโดยปริยาย
               ด้วยเหตุนี้ อาหารที่ต้องผ่านการหมักของคนจีนจึงไม่ใส่ผงชูรส แต่จะหมักด้วยซีอิ๊วขาวและหรือเกลือเสียโดยมาก หากจะมีเครื่องปรุงอย่างอื่นเพิ่มมากไปกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า อาหารที่หมักนั้นเอาไปเพื่อปรุงเป็นอาหารอะไร เมนูไหน เท่านั้นเอง ทั้งนี้ ควรกล่าวด้วยว่า คนจีนที่ถือปฏิบัติเช่นนี้คือคนจีนที่รู้และเป็นเท่านั้น
              ความรู้ของคนจีนจากที่กล่าวมานี้ดูจะตรงกับความรู้ของฝรั่งที่เห็นว่า สารที่ว่านั้นก็คือสารเคมีที่เป็นเกลือของโซเดียม โดยฝรั่งยังเห็นต่อไปว่า สารชนิดนี้เมื่อถูกเผาไหม้ด้วยความร้อนสูงก็จะกลายสภาพเป็นสารที่เรียกว่า "กลูพี" อันเป็นสารที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ และจะเป็นเพราะเหตุนี้หรือไม่ก็ตาม ฝรั่งจึงไม่นิยมกินผงชูรส

อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาเราจึงพบว่า คนจีน (หรือไทย) ที่ถูกอบรมมาอย่างที่ว่าจะทำเช่นนั้น ทั้งพ่อครัวในภัตตาคารจีนหรือพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยวบางเจ้าบางคนจึงไม่เพียงจะใส่ผงชูรสตามอย่างที่ว่ามาเท่านั้น หากแม้เมื่อใส่ยังใส่แต่เพียงน้อยอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ เราจะสังเกตเห็นว่า พ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยวที่รู้และเป็นจะใส่ผงชูรสเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะตักน้ำซุปใส่ชามเพื่อเสิร์ฟให้เรากิน และโดยที่เราสามารถมั่นใจได้ด้วยว่า ในน้ำซุปนั้นก็ไม่มีการใส่ผงชูรสมาก่อนอีกด้วย
                แต่กระนั้นก็ตาม สำหรับพ่อครัวฝีมือดีแล้ว ผงชูรสแทบจะไม่มีความจำเป็นอันใดเลยแม้แต่น้อย การปรุงอาหารให้อร่อยโดยไม่พึ่งผงชูรสในด้านหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายฝีมือไม่น้อย
            ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ไม่ใช่จะชี้นำว่าผงชูรสเป็นของที่กินได้ถ้ารู้และทำเป็น แต่ว่าไปเพราะเห็นว่าไม่อาจต้านกระแสการกินการใช้ผงชูรสไปได้ง่ายๆ ฉะนั้น ถ้ายังอยากจะกินสารที่เสี่ยงอันตรายนี้ต่อไป ก็อยากจะแนะนำให้กินอย่างถูกวิธีดังที่เขาว่าๆ กันมา โดยพึงรำลึกไว้เสมอว่าที่ว่าถูกวิธีนี้ ก็ใช่ว่าความเสี่ยงอันตรายของสารที่ว่าจะหมดไปด้วยไม่
                  อย่างไรก็ตาม กระแสความนิยมผงชูรสจากที่กล่าวนี้ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้กระแสนี้ขยายตัวอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ?
                        ในเบื้องต้นสุดจะพบว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ภายใต้กระแสนี้มักจะเป็นกลุ่มคนชั้นล่าง และมักจะเป็นคนไทยอีสานเสียโดยมาก

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เห็นได้ในที่นี้ก็คือ การที่ผงชูรสสามารถสนองตอบต่อ "รสอร่อย" ที่หาไม่ได้ง่ายนักในหมู่คนชั้นล่างได้เป็นอย่างดี และด้วยความด้อยการศึกษาอันเนื่องมาจากความยากจนของคนกลุ่มนี้ การได้ลิ้ม "รสอร่อย" ของผงชูรสจึงเป็นไปด้วยความไม่รู้ถึงอันตรายที่แฝงในสารที่แปรสภาพ
                    ในแง่นี้ ผงชูรสจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมประสานความ "ยากจน" ให้เข้ากับ "รสอร่อย" ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะราคาไม่สูงเกินกว่าฐานะของคนชั้นล่างจะหามาได้
                      แต่ที่น่าสังเกตก็คือว่า กระแสนิยมผงชูรสที่ว่านี้ได้ขยายไปยังคนกลุ่มอื่นๆ อย่างรวดเร็วไปด้วย โดยเฉพาะคนชั้นกลาง คนกลุ่มนี้แม้จะไม่ใช้ผงชูรสมากเท่าคนกลุ่มแรกก็ตาม แต่ก็ซึมซับกระแสนี้เข้าไปอย่างแนบเนียน
                   นั่นคือ ในขณะที่ใช้ผงชูรสไม่มากเท่าเพราะรู้ว่าไม่ดีนั้น คนชั้นกลางกลับใช้สิ่งที่เรียกว่า "ซุปก้อน" เป็นการทดแทน ทั้งๆ ที่ "ซุปก้อน" ก็คือรูปแบบหนึ่งของผงชูรส เป็นอยู่แต่ว่าไม่ได้ถูกเรียกเป็น "ผงชูรส" เท่านั้น
                               ในแง่นี้ ซุปก้อนจึงไม่ต่างกับ "รสอร่อย" ที่คนชั้นกลางแก้ต่างให้กับตนเองว่า ตนไม่ได้กินผงชูรส (นะ...จะบอกให้)
ด้วยเหตุนี้ หาก "รสอร่อย" ที่เกิดจากความไม่รู้เพราะ "ยากจน" ของคนชั้นล่างเป็นสิ่งที่คู่กันแล้ว "รสอร่อย" ของคนชั้นกลางที่น่าจะรู้อะไรดีกว่าจึงน่าจะคู่กับ "จริต" คือจริตที่จงใจจะไม่เอื้อนเอ่ยคำว่า "ผงชูรส...ที่รัก"

ที่มา : http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=165.0;wap2

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรม Beyond the Fact แบบฉบับของการป้องกัน คุ้มค่ากว่าการดูแลรักษาเยียวยา

   กระตุกต่อมคิด ยกระดับความคิด ปรุงแต่งด้วยธรรมชาติ ควบคู่กับการมีสุขภาพที่ดี กับนวัตกรรม 
Beyond the Fact   ในการป้องกันต้นเหตุ คุ้มค่ากว่าการรักษาเยียวยา


    ในโลกปัจจุบัน ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ กอร์ปกับค่าเฉลี่ยคนสูงอายุทั่วโลกมีจำนวนมากขึ้น  โดยเฉพาะคนไทย พ.ศ. 2556 มีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 13  และอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้านี้จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18 ของจำนวนประชากร  ซึ่งแนวโน้มนี้เป็นที่มาของเรื่องสุขภาพ อาหารการกิน ของผู้สูงอายุ เช่น ต้องเคี้ยวง่าย ย่อยง่าย สะดวกใช้ มีประโยชน์ช่วยบำรุง หรือ ส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะ รวมถึงสุขภาพทางร่างกายที่ดีด้วย จากอาหารเดิมๆที่เคยชินและบริโภคอยู่ทุกวันนี้ยังไม่มีทางเลือกด้านโภชนาการมากนัก กล่าวคือ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตส่วนใหญ่เน้นผลิตเป็นอุตสาหกรรมตอบสนองผู้บริโภคจำนวนมาก เน้นต้นทุนต่ำ โดยใช้สารเคมีในการปรุงแต่งกลิ่น สี รส สารเคมีป้องกันการเกาะตัว รวมถึงแอบแฝงแต่งเติม ผงชูรส ในรูปอื่นๆของเครื่องปรุงรสในปัจจุบัน ก่อให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายซึ่งทำให้อวัยวะภายในทำงานด้อยลง ส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อโรคสูง ตั้งแต่ โรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ ระบบย่อยอาหาร รวมถึงสารก่อมะเร็ง ทำให้สุขภาวะทั่วไปของคนตกอยู่ในสภาพ ป่วย เจ็บ เคลื่อนไหวช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องเข้าออกหรือนอนในโรงพยาบาลเป็นประจำ และแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นภาระแก่บุตรหลาน ผู้ดูแลเลี้ยงดูไม่มีความสุข  เรามีชีวิตอยู่รอดมาได้ เพื่อรอวันผ่าตัดเยียวยารักษาเท่านั้นหรือ?
 จากงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2553 – 2556  เกี่ยวกับการบุคลากรทางการแพทย์ การส่งเสริมป้องกันโรค อุปกรณ์การแพทย์ การรักษาพยาบาล ค่าเวชภัณฑ์ยา และอื่นๆ  ตามลำดับมี จำนวน 71.6 , 86.9, 91.9 และ 99.7 หมื่นล้านบาทต่อปี ประมาณการปี 2557 ที่ 106.4 หมื่นล้านบาท  เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3, 28.4 และ 39.3 โดยประมาณการปี 2557 ที่ 48.6 จะเห็นได้ว่างบประมาณรายจ่ายภาครัฐด้านกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากทุกปีโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 35  แสดงถึงเรื่องการกินอยู่ของประชากรยังไม่ดีพอ ขาดการเอาใจใส่ เคยชินกับการใช้ชีวิตเดิมๆ ซื้ออาหารถุง กินอาหารตามสั่ง คนไทยกินอาหารนอกบ้าน คิดเป็นร้อยละ 65 – 75 ต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 2 มื้อ  ซื้อสินค้าบริโภคที่มีส่วนผสมของสารเคมีจำนวนมาก สะสมในร่ายกายและอวัยวะภายในมีปัญหาด้านสุขภาพ ต้องเจ็บป่วยรักษาเยี่ยวยาซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว  น่าแปลกมั๊ย เราทำงานหนักมาตลอดด้วยคาดหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าในวันข้างหน้า โดยละเลยไม่ได้ใส่ใจสุขภาพของตนเอง สุดท้ายเงินก้อนสุดท้ายก็ต้องมาใช้กับการรักษาอาการเจ็บป่วยกับสุขภาพแย่ๆจนถึงวาระสุดท้าย หันมาเน้นป้องกันดีกว่าเยียวยารักษา พอรึยังกับเคมีในอาหารทุกคำที่กิน?

     ถึงเวลาหรือยังที่ผู้บริโภคจะ ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดเลือก ฉุกคิด ความเสี่ยงของอาหารที่แฝงมาด้วยสารเคมี สิ่งปลอมปน ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงสื่อกระแสโฆษณา ลด แจก แถม ชิงรางวัล สิ่งล่อใจ กับรสชาติที่อร่อยถูกปาก น่ากิน สารแต่งเติมสีสรรและรสชาด กับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงซึ่งยากที่จะกลับมาสู่ภาวะปกติ คุ้มค่าหรือไม่กับ คุณค่าที่แท้จริงของอาหารนั้น  Kuu Ne คูเน่ คือเลือกใหม่  ไม่ได้อร่อยเลิศแบบใช้สารเคมีปรุงแต่ง หากแต่อร่อยล้ำย้ำคุณค่า ด้วยธรรมชาติ แบบว่า “อร่อยอริยะ”  ด้วยนวัตกรรม Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ 2 in 1 ผลิตจากธรรมชาติ 100% ไม่มีเนื้อสัตว์ ปลอดสารเคมี โซเดียมต่ำ โดยใช้หอมหัวใหญ่เป็นวัตถุดิบหลัก ใช้แทนผงชูรสและน้ำสต๊อก (น้ำซุป)  สำหรับทำแกง ต้ม ผัด หมัก ทอด ยำ หรือใช้ชงดื่มเป็นน้ำซุปเพื่อสุขภาพ เพียงปลายช้อนชาต่อน้ำสุกอุ่น 1 แก้ว ดื่มได้ตลอดวัน ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตร ได้รับรางวัลชนะเลิศ พบว่าหอมหัวใหญ่เป็นทั้งอาหารและยาอายุวัฒนะ ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ ต้านสารก่อมะเร็ง ลดการอักเสบของเซล อีกทั้งมีกากใยอาหารสูงช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ  Kuu Ne คูเน่  ผ่านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร จากสถาบันอาหาร ด้วยมาตรฐาน GMP ได้รับการเครื่องหมายรับรอง อย. และ ฮาลาล ด้วยคุณประโยชน์ต่างๆนี้ Kuu Ne คูเน่ มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี และยังช่วยลดงบประมาณรายจ่ายด้านการสาธารณสุขของประเทศ  ถึงเวลาแล้วที่ร้านค้า ร้านอาหาร ผู้ประกอบการภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม หันมาใส่ใจผู้บริโภคอย่างจริงจัง    ด้วยแนวคิด  ลูกค้าคุณ ลูกค้าเรา สร้างคุณค่าร่วมกัน ไปด้วยกันกับ Kuu Ne คูเน่ ... คู่ครัว คู่มื้อสุขภาพ คู่คุณ  www.facebook.com/kuunepage