ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารเคมีในอาหาร

โภชนาการ หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุน และการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นการได้กินอาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
คอลัมน์ “กินถูก...ถูก” ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้เสนอเรื่อง สารเคมีในอาหาร โดย ร.ศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ
สารเคมีในอาหาร
ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงสารเคมีในอาหาร และอันตรายจากพลาสติก สำหรับในครั้งนี้จะได้กล่าวถึงสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง และอาหารฉายรังสี
สีผสมอาหาร
ปัญหาของความปลอดภัยของอาหารเนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอีกประการที่ได้รับความสนใจมาก คือ เรื่องของสีผสมอาหาร ซึ่งใส่ลงไปโดยจุดประสงค์หลายประการ เช่น ทำให้อาหารชวนบริโภค กลบเกลื่อนร่องรอยของการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ หรือการใช้วัตถุดิบต่ำกว่ามาตรฐาน ปัญหาที่เกิดขึ้นแบ่งเป็นสองกรณี คือ การใช้สีถูกต้องในอาหารต่ำกว่ามาตรฐาน และการใช้สีอันตรายในอาหาร
ในกรณีแรก เป็นปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางโภชนาการ เช่น การใส่สีเหลืองลงในเส้นบะหมี่เพื่อให้มีลักษณะคล้ายบะหมี่ที่ใส่ไข่ การใส่ดินประสิวลงในเนื้อเก่าเพื่อให้ดูคล้ายเนื้อสด
ส่วนกรณีที่สองที่ส่งผลถึงความปลอดภัยของอาหารโดยตรง คือ การใช้สีผิดประเภท ซึ่งเรามักจะได้ยินบ่อยครั้งว่ามีการใช้สีย้อมผ้าในอาหารพวกลูกอมหรือน้ำหวานราคาถูก หรืออาหารขยะ (junk foods) ต่างๆ สีอันตรายก่อให้เกิดปัญหาได้สองกรณี คือ อันตรายจากตัวสีเอง เช่น สีกลุ่มสารประกอบเอโซ (azo compound) และอันตรายจากสารปนเปื้อนในสี (เช่น โลหะหนัก สารตัวกลางระหว่างการผลิตสี เป็นต้น) อาหารทั่วไปที่มีประกาศควบคุมห้ามใส่สี (แต่มักจะพยายามใส่กัน) ได้แก่ อาหารทารก นมดัดแปลงสำหรับทารก อาหารเสริมสำหรับเด็ก ผลไม้ดอง เนื้อสด เนื้อและผลิตภัณฑ์แห้ง เนื้อสัตว์ปรุงแต่งหรือเค็ม แหนม กุนเชียง ลูกชิ้น ทอดมัน ข้าวเกรียบ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ยาฆ่าแมลง
ปัญหาสำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่ประชาชนสนใจและทราบดี ก็คือ การตกค้างของสารฆ่าแมลงในอาหาร ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะมีการใช้สารฆ่าแมลงตามปกติแล้ว ในบางครั้ง เกษตรกรยังใช้สารพิษนี้ตามความต้องการของผู้บริโภค เช่น การใช้สารฆ่าแมลงปริมาณสูงในผักผลไม้ที่ต้องการให้ปราศจากตำหนิหรือการเก็บผลผลิตที่ฉีดยาฆ่าแมลงก่อนเวลาที่สารพิษจะสลายตัวหมด ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจเลยที่มักจะมีรายงานอยู่ตลอดเวลาว่าพบ ปริมาณตกค้างของสารฆ่าแมลงในอาหารไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากสารฆ่าแมลงอีกกรณีหนึ่ง คือ การที่สารฆ่าแมลงถูกฝนชะจากดินไหลลงสู่แหล่งน้ำ
สัตว์น้ำที่ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายจะเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะระบบภูมิต้านทานโรค ทั้งนี้เพราะมีการศึกษาวิจัยพบว่า สารฆ่าแมลงส่วนมากโดยเฉพาะพวกคลอริเนตเต็ดไฮโดรคาร์บอนนั้น มีฤทธิ์ไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค ข้อมูลนี้อาจนำมาใช้อธิบายเหตุผลว่า ทำไมปลาน้ำจืดในบ่อปลาที่ใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลอง จึงมักจะตายเนื่องมาจากโรคแผลตามตัว เพราะการติดเชื้อแบคทีเรียในหน้าหนาว ซึ่งเป็นฤดูที่ภูมิต้านทานของปลาต่ำที่สุด ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีปัญหา แต่พอมีปริมาณสารพิษในน้ำสูงขึ้น ผลร้ายจึงแสดงออกมา
อาหารฉายรังสี
ในทางตรงข้ามกับปัญหาที่เกิดเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลดีก็ยังมีมากเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีทางพลังงานปรมาณูเพื่อสันติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร กระบวนการนี้ใช้รังสีแกมม่าหรือรังสีเอ็กซ์ หรือรังสีอิเล็กตรอน ในกรณีของการใช้รังสีแกมม่านั้น มีมาประมาณ 30 ปีแล้วเป็นอย่างน้อย แต่เนื่องจากความหวาดกลัวระเบิดปรมาณูจึงมีการต่อต้านขึ้น ทำให้การฉายรังสีอาหารในทางอุตสาหกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก
สิ่งที่กลุ่มผู้ต่อต้านการฉายรังสีอาหารกลัว ก็คือ การตกค้างหรือการเหนี่ยวนำให้เกิดสารรังสีในอาหาร การเกิดสารพิษที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ การสูญเสียคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้ ปัญหาเหล่านี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่า เกิดขึ้นได้น้อยมาก ประกอบกับการค้นพบว่า การฆ่าเชื้อในอาหารบางประเภท โดยการรมควันธัญพืชด้วยแก๊สเอ็ททิลีนโบรไมด์ หรือแก๊สเอ็ททิลีนออกไซด์ก่อให้เกิดสารก่อกลายพันธุ์ขึ้นได้ ดังนั้น จึงมีแนวความคิดที่จะนำการฉายรังสีกลับมาใช้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะทางยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้เพราะผลประโยชน์ที่จะได้นั้นมีมากกว่าผลเสีย คือ
1. เพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร หรือการส่งผลผลิตไปต่างประเทศ
2. ลดการสูญเสียอาหาร วัตถุดิบ เนื่องจากศัตรู เช่น แมลงต่างๆ
3. เพิ่มการควบคุมระยะเวลาการเก็บผลผลิตให้ได้นานขึ้น ซึ่งเป็นการลดราคาผลผลิตนอกฤดู เช่น การเก็บหอมหัวใหญ่อาบรังสี
4. กำจัดแมลงและเชื้อโรคอย่างได้ผล
ในทวีปเอเชียและแปซิฟิกนั้น ปัจจุบันมีประมาณ 11 ประเทศที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารฉายรังสี ส่วนในประเทศไทยก็มีการผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศควบคุมการฉายรังสีอาหาร ซึ่งนับว่า จะเป็นการปฏิวัติกระบวนการผลิตอาหารอีกขั้นหนึ่งของประเทศไทยทีเดียว
สรุป
จะเห็นว่าเทคโนโลยีทางอาหารนั้น นับว่าจะก้าวหน้าออกไป แต่สิ่งสำคัญ ก็คือ การมีจิตสำนึกของผู้ผลิตที่จะไม่ทำในสิ่งที่ผิดไปจากแบบแผนของการผลิตอาหารที่ดี อีกทั้งผู้บริโภคก็จะต้องได้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่ถูกต้อง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ คือ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฉพาะ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สำนักงานอาหารและยาจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็ง เห็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็นับได้ว่ามาตรฐานหรือคุณภาพชีวิตในเรื่องการบริโภคอาหารสำเร็จรูปของคนไทยดีขึ้นกว่าเดิมมากถ้าอยู่ในเมืองหลวง แต่สำหรับในชนบทนั้น ยังนับว่าอยู่ในสภาวะที่ไม่น่าพอใจ เนื่องจากกำลังของข้าราชการที่จะปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความเอาแต่ได้ของผู้ผลิตอาหารบางรายนั้นยังมีน้อย ควรที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อชาติไทยจะได้เป็นนิกส์กันทั้งประเทศในด้านสุขภาพอนามัยของคนไทย

ข้อมูลสื่อ File Name : 123-013 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม :  123 เดือน-ปี : 07/2532 คอลัมน์ : อื่น ๆ

อันตรายจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน

 






อันตรายจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดทดสอบอาหารเพื่อลดความเสี่ยงของผู้บริโภคจากสารปนเปื้อนหลายชนิด เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน สารกันรา ยาฆ่าแมลง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และอะฟลาทอกซิน ซึ่งสารแต่ละชนิดเป็นพิษภัย
ต่อสุขภาพดังนี้

สารเร่งเนื้อแดง
สารเร่งเนื้อแดงเป็นสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ปกติใช้เป็นยารักษาหอบหืดในคน แต่มีผู้ลักลอบนำมาใช้ผสมในอาหารสุกรเพื่อเพิ่มเนื้อแดง และลดไขมันในเนื้อ ในปี พ.ศ. 2546 ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 269 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี
กลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ให้อาหารทุกชนิดมีมาตรฐานโดยตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารกลุ่มนี้
ความเป็นพิษ : ถ้าบริโภคสารนี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการทางประสาท มีผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
ลักษณะสังเกตได้ : เลือกซื้อเนื้อหมูที่มีสีแดงไม่เข้มผิดปกติ ถ้าเป็นหมูสามชั้นต้องมีชั้นมันมากกว่าชั้นเนื้อแดงหรือเลือกซื้ออาหารที่มี
ความปลอดภัย จากร้านที่มีป้ายอาหารปลอดภัย (ป้ายทอง)

สารบอแรกซ์
สารบอแรกซ์ หรือชื่อทางการค้าว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก และผงกันบูดเป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของ
สารประกอบโบรอน มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต
(Sodium borate), โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate) มีลักษณะ
ไม่มีกลิ่น เป็นผลึกละเอียด หรือผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ 95% มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และ
บอแรกซ์มีคุณสมบัติทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน กับสารประกอบอินทรีย์โพลีไฮตรอกซี
(Organic polyhydroxy compound) เกิดเป็น
สารหยุ่น กรอบ และเป็นวัตถุกันเสียได้ จึงมีการลักลอบนำสารบอแรกซ์ผสมลงในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อหมู ปลาบด ลูกชิ้น ผลไม้ดอง
ไก่สด ทับทิมกรอบ เป็นต้น สารบอแรกซ์เป็นสารเคมีห้ามใช้ในอาหาร ตามกฎหมายอาหารฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536)
ความเป็นพิษ : การบริโภคอาหารที่มีสารบอแรกซ์เจือปนจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
เป็นพิษต่อไต ก่อให้เกิดไตวาย และสมอง อาการขึ้นอยู่กับปริมาณสารที่ได้รับ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ได้รับสารบอแรกซ์ 15 กรัม หรือเด็กได้รับ
5 กรัม จะทำให้อาเจียนเป็นเลือด และอาจตายได้
ลักษณะสังเกตได้ : ลูกชิ้นเด้งหรือกรอบมาก ควรเลือกซื้ออาหารที่มีความปลอดภัย จากร้านที่มีป้ายอาหารปลอดภัย (ป้ายทอง)
สารฟอร์มาลิน
สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ มักใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพ ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของ
เหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติกสิ่งทอ ใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ใช้ป้องกันการขึ้นรา
ในการเก็บข้าวสาลี ข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว ปัจจุบันยังมีการนำมาใช้ในทาง
ที่ผิด โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่ายและเก็บรักษาได้นาน ฟอร์มาลินเป็นสารอันตราย จึงถือเป็นสารเคมีที่
ห้ามใช้ในอาหาร ตามกฎหมายอาหารฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) อาหารที่มักจะพบได้แก่ อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์สด ผักสดที่เหี่ยวง่าย เห็ด ผลไม้ เป็นต้น
ความเป็นพิษ : การบริโภคสารละลายนี้โดยตรง ปริมาณ 30 – 60 มิลลิลิตร จะเกิดอาหารเป็นพิษโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาการมีตั้งแต่ ปวดท้อง
อย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายในที่สุด มีผลต่อการทำงานของไต หัวใจและสมองเสื่อม และก่อให้เกิดอาการปวดแสบ
ปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ สารละลายของฟอร์มาลินที่มีความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ระหว่าง 150 – 5,000 มก./กก. เมื่อสัมผัส
จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือบริโภคอาหารที่มีปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ระดับนี้ บางคนจะเกิดอาการแน่นหน้าอก และคนที่
สูดดมฟอร์มาลดีไฮด์เป็นเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งจมูก และลำคอมากกว่าคนปกติ
ลักษณะสังเกตได้ : อาหารที่ควรจะเน่าเสียง่าย แต่กลับไม่เน่าเสีย ถ้ามีการใช้ฟอร์มาลินมากจะมีกลิ่นฉุน แสบจมูก ควรเลือกซื้ออาหารที่มี
ความปลอดภัย จากร้านที่มีป้ายอาหารปลอดภัย (ป้ายทอง)

สารกันรา
สารกันรา หรือกรดซาลิซิลิค เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่นำมาใช้เป็นวัตถุกันเสียกันรามาใส่ในน้ำดองผักผลไม้ที่วางขายในท้องตลาด เพื่อให้
น้ำดองผักผลไม้ดูเหมือนใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากกรดซาลิซิลิคเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ดีแต่เป็น
อันตราย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดห้ามนำกรดซาลิซิลิคมาใช้เจือปนในอาหาร ตามกฎหมายอาหารฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536)
อาหารที่มักจะพบ ได้แก่ ผักดอง ผลไม้ดอง พริกแกง
ความเป็นพิษ : ถ้าบริโภคกรดซาลิซิลิคจนมีความเข้มข้นในเลือดถึง 25 – 35 มิลลิกรัม/เลือด 100 มิลลิกรัม จะมีอาการอาเจียน หูอื้อ
มีไข้ กระวนกระวาย ชัก ไตวายและอาจถึงเสียชีวิตได้ อาหารที่มักจะพบได้แก่ ผักดอง ผลไม้ดอง พริกแกง
ลักษณะสังเกตได้ : น้ำดองผัก น้ำดองผลไม้ พริกแกง จะดูใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ ควรเลือกซื้ออาหารที่มีความปลอดภัย จากร้านที่มีป้าย
อาหารปลอดภัย (ป้ายทอง)
สารฟอกขาว
สารฟอกขาว หรือสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการฟอกสีของอาหาร เมื่ออาหารนั้นถูกความร้อนในกระบวน
การผลิต ถูกหั่น หรือตัดแล้ววางทิ้งไว้ และยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา บักเตรี จึงมักจะถูกนำมาใช้เพื่อให้อาหารมีสีขาว ดูคุณภาพดี และมีบางคนได้ใช้ผงเคมีที่ฟอกแห มาฟอกอาหารหลายอย่าง ตามกฎหมายอาหารฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) : ให้ใช้สารฟอกขาวกลุ่ม
สารซัลไฟต์ในอาหารบางชนิดในปริมาณที่กำหนด ส่วนสารไฮโดรซัลไฟต์ ห้าม ใช้ในอาหาร
ความเป็นพิษ : ถ้าบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง ผู้ที่แพ้อย่างรุนแรงหรือผู้ป่วย
โรคหอบหืดจะมีอาการช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้ อาหารที่มักพบสารฟอกขาว ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ขิงดอง ผักและผลไม้ดอง
หน่อไม้ดอง ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ผลไม้อบแห้ง และน้ำตาลปี๊บ
ลักษณะสังเกตได้ : ถั่วงอกจะขาวมากผิดปกติ ขิงหั่นฝอยสีสดไม่เป็นสีน้ำตาล ควรเลือกซื้ออาหารที่มีความปลอดภัย จากป้ายอาหารปลอดภัย (ป้ายทอง)
ยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมายถึง วัตถุมีพิษที่นำมาใช้เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช สัตว์และมนุษย์ ทั้งในเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุข ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ได้บางชนิด แต่ต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว เมื่อได้รับสารฆ่าแมลงเข้าสู่
ร่างกาย จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเอนไซม์ในร่างกาย มีผลให้เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ตามปกติของระบบประสาททั้งในคนและสัตว์
ตามกฎหมายอาหารฉบับที่ 288 (พ.ศ. 2548) : ควบคุมการตกค้างไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่มักพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เช่น ผักสด ผลไม้สด ปลาเค็ม ปลาหวาน เป็นต้น
ความเป็นพิษ : ขึ้นกับคุณสมบัติของสารเคมีแต่ละชนิด วิธีการได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณความถี่ สุขภาพของผู้ได้รับสารพิษและก่อให้
เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง หายใจลำบาก แน่นในอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน กล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่ลิ้นและหนังตา
กระตุก ชัก หมดสติ
ลักษณะสังเกตได้ : ผัก ผลไม้มีกลิ่นสารเคมี สดไม่มีรอยเจาะของแมลง ปลาแห้ง ปลาเค็มไม่มีแมลงวันตอม การทำความสะอาดก่อน
บริโภคเพื่อลดปริมาณสารตกค้าง เช่น การล้างด้วยน้ำแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู 0.5 % นาน 10 นาที หรือใช้น้ำเปล่าไหลผ่าน หรือแช่ในน้ำยา
ล้างผัก จะช่วยลดปริมาณสารเคมีได้

น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้ทอดซ้ำ
น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารหลาย ๆ ครั้ง จนมีสีเข้มดำ เกิดฟอง และมีควันมากขณะทอดน้ำมันมีความหนืดเหนียว มีสารก่อมะเร็งปนอยู่
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันและไขมันที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ค่าของกรด, ค่าเพอร์ออกไซด์ เป็นต้น
ความเป็นพิษ : บริโภคอาหารที่ทอดจากน้ำมันทอดซ้ำไม่ดี จะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งได้ และเมื่อทอดอาหารจะมีควันหากสูดดมจะทำให้
เกิดมะเร็งได้
ลักษณะสังเกตได้ : เลือกซื้ออาหารทอดที่ทอดจากน้ำมันที่ยังใหม่ สีไม่เข้มดำ และไม่มีควันมากขณะทอด หลีกเลี่ยงการซื้อน้ำมันปรุง
อาหารชนิดถุงมัดด้วยยางรัด ซึ่งมักเป็นน้ำมันเก่าที่ใช้แล้ว ควรซ้อนหรือกรองกากอาหารทิ้งระหว่างหรือหลังทอดและน้ำมันที่ทอดอาหารแล้ว
มีสีเข้มดำ ให้นำไปทำผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่อาหาร

อะฟลาทอกซินในอาหาร
อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษจากเชื้อรา เป็นสารก่อมะเร็ง ทนความร้อนได้ 260 ํC ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98
(พ.ศ.2522) กำหนดอาหารปนเปื้อน อะฟลาทอกซินได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม อาหารที่มักพบอะฟลาทอกซิน เช่น
ถั่วลิสงป่น ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์ข้าวโพด เป็นต้น
ความเป็นพิษ : พิษจากเชื้อรา ก่อให้เกิดมะเร็งได้ลักษณะสังเกตได้ : เลือกซื้อเมล็ดถั่วลิสงดิบที่มีลักษณะสมบูรณ์ ไม่ลีบ ไม่ฝ่อ สีไม่คล้ำ ไม่ถูกแมลง สัตว์กัดแทะ ไม่ชื้น ไม่มีราสีเขียว
สีเหลือง หรือสีดำขึ้นที่เมล็ด ไม่มีกลิ่นผิดปกติ เมล็ดถั่วลิสงดิบก่อนปรุงอาหาร ให้นำไปแช่น้ำ และช้อนถั่วลิสงที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดถั่วลิสง
ที่จมน้ำ ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง นำไปปรุงอาหาร คั่วถั่วลิสงให้พอเหมาะกับการรับประทาน และไม่ควรซื้อเก็บไว้นานเกิน 3 วัน
หากรับประทานถั่วลิสงหรือผลิตภัณฑ์แล้ว รู้สึกขมหรือมีกลิ่นไม่ดี ให้คายทิ้งทันที และบ้วนปาก

ข้อมูลจาก...สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Business Matching Tops 3 Aug' 2011

ช่องทาง ทางการตลาด สู่ผู้บริโภค ใกล้ๆคุณ เร็วๆนี้  Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงรสเพื่อสุขภาพ นวัตกรรมใหม่ ไม่มีเนื้อสัตว์ สารเคมีปรุงแต่งกลิ่น สี รส ไร้สารเคมีเพิ่มปริมาณและสารเคมีป้องกันการเกาะตัว ทางเลือกฉลาดบริโภค ใกล้ๆคุณ คูเน่ คู่ครัว คู่มื้อสุขภาพ คู่คุณ เร็วๆนี้


ผลงานวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ได้รางวัลชนะเลิศ ใช้ปรุงอาหาร แกง ต้ม ผัด หมัก ทอด ยำ กลมกล่อมครบรส โดยไม่ต้องเติมเครื่องปรุงเพิ่ม  สนใจผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ ผงปรุงรสเพื่อสุขภาพ มีชนิดซองบรรจุ 60g. และชนิดกิโลกรัม สำหรับโรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยว เพื่อสุขภาพ ติดต่อ คุณคมชาญ  086-791 7007