ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การวิ่งเพื่อออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายชนิด

ทีมนักวิจัยในสหรัฐเปิดเผยว่าการวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้
Running Health BenifitsRunning Health Benefits
0:00:00
X
การวิจัยชิ้นนี้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ใหญ่อเมริกันจำนวน 55,000 คนและพบว่าคนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคเรื้อรังต่างๆ น้อยกว่าคนที่ไม่วิ่งเลย นอกจากนี้ยังมีอายุยืนกว่าคนที่ไม่วิ่งเลยประมาณ 3 ปี
นักวิจัยชี้ว่าในบรรดาผู้ใหญ่ในการศึกษานี้ อย่างน้อย 1 ใน 4 ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง
ในช่วงระยะเวลาการศึกษาที่ยาวนาน 15 ปีนี้ มีผู้เข้าร่วมในการศึกษา 3,400 เสียชีวิตลงโดยประมาณ 1,200 คนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ หัวใจวายและอาการเส้นเลือดในสมองแตก 
คุณ D-C Lee เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านกายวิภาคซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ด้านการเคลื่อนไหวทางกายที่มหาวิทยาลัย Iowa State University ในเมือง Ames รัฐ Iowa
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ D-C Lee กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากเปรียบเทียบกับคนที่ไม่วิ่งเลย คนที่วิ่งเพื่อออกกำลังกายมีความเสี่ยงน้อยลง 30 เปอร์เซ็นต์ต่อการเสียชีวิตด้วยโรคใดๆ ก็ตามรวมทั้งมะเร็ง นอกจากนี้คนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งยังมีโอกาสเสี่ยงน้อยลง 45 เปอร์เซ็นต์จากการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตกหากเปรียบเทียบกับคนที่ไม่วิ่งเลย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ D-C Lee กับทีมนักวิจัยพบว่าความเร็วของการวิ่ง ระยะทางของการวิ่ง ตลอดจนความบ่อยของการวิ่งไม่มีผลต่อการลดความเสี่ยงจากโรคเหล่านี้ลง ผู้ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งในการศึกษานี้วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 10-16 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คนที่วิ่งช้าและคนที่วิ่งเพียงหนึ่งถึงสองครั้งต่อสัปดาห์ ต่างได้รับประโยชน์จากการวิ่งเหมือนกับคนที่วิ่งด้วยความเร็วที่สูงกว่าหรือวิ่งในระยะทางไกลกว่า 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ D-C Lee กล่าวว่าทีมวิจัยยังได้ศึกษาถึงผลดีของการวิ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยพบว่าคนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำนานหกปีขึ้นไปจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อยที่สุดในบรรดากลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษา

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่าแพทย์แนะนำให้คนทั่วไปที่อายุต่ำกว่า 65 ปี ควรออกกำลังกายที่ต้องออกแรงในระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 75 นาทีต่อสัปดาห์หากเป็นการออกกำลังกายที่ต้องออกแรงมาก อย่างเช่น การวิ่ง
ทีมนักวิจัยที่รัฐ Iowa นี้ชี้ว่าผลการศึกษานี้สรุปจากข้อมูลที่ได้จากตอบแบบสอบถามผู้เข้าร่วมการศึกษา แต่ยังขาดข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวข้องกับโภชนาการของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งน่าจะมีผลต่อผลการศึกษานี้ แม้กระนั้นก็ตาม ทีมนักวิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้จะช่วยให้ผู้ใหญ่ที่ไม่ชอบออกกำลังกายเกิดแรงบันดาลใจหันไปวิ่งออกกำลังกายกันแบบเบาอย่างไม่ต้องหักโหมเพื่อสุขภาพที่ดีกันมากขึ้น
Jessica Berman
ที่มา : http://www.voathai.com/content/running-health-benefits-tk/2416632.html

อึ้ง! ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร พบสารเคมีตกค้างมากถึงร้อยละ 87.5

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผัก-ผลไม้ที่ได้รับรองมาตรฐานมีสารตกค้างร้อยละ 87.5


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ เพื่อหาสารเคมีตกค้างปี 2557 พบผัก-ผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มีสารตกค้างสูงถึงร้อยละ 87.5 ซึ่งมากกว่าผัก-ผลไม้ ที่วางขายในตลาดทั่วไป



หากจำแนกตามประเภทแหล่งจำหน่าย พบว่าผักผลไม้ที่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด คือผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตรารับรองมาตรฐาน "Q" พบการตกค้างมากถึงร้อยละ 87.5 และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน MRL มากถึงร้อยละ 62.5 รองลงมาคือผักผลไม้ที่จำหน่ายในห้างค้าปลีก ส่วนแหล่งที่พบผักผลไม้เกินมาตรฐาน MRL น้อยที่สุดกลับเป็นตลาดทั่วไป โดยผลผลิตที่มีสายเคมีตกค้างมากที่สุด ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง รองลงมาคือฝรั่ง ส่วนที่พบสารตกค้างน้อยสุดคือแตงโมและพริกแดงนายพชร แก้วกล้า ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่าจากการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ เพื่อหาสารเคมีตกค้างปี 2557 จาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และยโสธร รวม 118 ตัวอย่าง ซึ่งผลการวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่าผักผลไม้เกินครึ่งหนึ่งที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยพบการตกค้างที่เกินมาตรฐาน MRL หรือ ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดในสินค้าเกษตรของไทย มากถึงร้อยละ 46.6
อย่างไรก็ตามสารเคมีที่พบตกค้างในผักผลไม้ทุกชนิด คือคลอร์ไพริฟอสและไซเปอร์เมทริน รวมทั้งสารคาร์เบนดาซิม ที่พบตกค้างในส้ม แอปเปิ้ลและสตรอว์เบอร์รี่ สูงกว่าค่า MRL หลายเท่าตัว เพราะคาร์เบนดาซิม เป็นสารดูดซึมตกค้างเข้าไปในเนื้อเยื่อผลไม้และไม่สามารถล้างออกได้ แต่ถ้าเป็นสารพิษชนิดอื่นที่ไม่ใช่สารดูดซึม หากนำผลไม้ล้างด้วยน้ำสารพิษจะลดลงได้ร้อยละ 40-80
องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เสนอให้กรมวิชาการเกษตร รวมทั้งสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ องค์การอาหารและยา ปฎิรูปการออกเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร นอกจากนี้ให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ประกาศห้ามใช้สารเคมีที่อันตรายร้ายแรง ขณะที่กรมวิชาการเกษตร ต้องควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรงและดูดซึมอย่างเข้มงวด

คลิกดูข่าว TPBS นำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://youtu.be/aIg4hgAmn34

ที่มา : http://news.thaipbs.or.th/content/มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผัก-ผลไม้ที่ได้รับรองมาตรฐานมีสารตกค้างร้อยละ-87.5

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สถิติ โรคอ้วน ทั่วโลกลุกลามไม่เว้นคนไทย ... ตายผ่อนส่ง


    คลื่นโรคอ้วน กระหน่ำทั่วโลก  (Lisa)         งานวิจัยร่วมของ Imperial College London, Harvard University และ WHO เปิดเผยว่าประชากรมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก หรือประมาณ 1 ใน 9 ของคนทั่วไป ถือว่าอยู่ในขอบข่ายอ้วน (Obese ได้แก่ ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ) และด้วยเหตุนี้ทำให้ทุก ๆ ปี มีคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 3 ล้านคน ไม่ว่าจะจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือมะเร็ง โดยถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่มนุษยชาติต้องร่วมกันแก้ไข          นอกจากนี้ การวิจัยดังกล่าวยังเปรียบเทียบข้อมูลจากปี 1998 กับปี 2008 ตัวเลขที่น่าตกใจก็คือ จำนวนผู้ชายที่เป็นโรคอ้วนกระโดดจาก 4.8% ขึ้นมาเป็น 9.8% ส่วนผู้หญิงนั้นเดิมทีอยู่ที่ 7.9% แต่ในการสำรวจล่าสุดอยู่ที่ 13.8%

    ที่มา : http://health.kapook.com/view25848.html

    สถิติคนไทยเป็นโรคอ้วน และโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้อง
    สถิติปีที่ : 2556  ที่มา : http://www.diabassocthai.org/statistic/105


    ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเร่งรณรงค์ต่อสู้กับปัญหาภาวะอ้วน (Obesity) และโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome ) เพื่อลดภาวะความรุนแรงของโรควิถีชีวิต อันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นต้น “โรคอ้วน” ถือเป็นภัยคุกคามที่กำลังระบาดในกลุ่มคนไทย โดยวัดจากอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น จากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ปัจจุบันพบว่าคนไทยอ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย-แปซิฟิก เป็นผลของการที่คนไทย ใช้ชีวิตกินแล้วนั่งหรือนอน และขาดการออกกำลังกาย

    นพ.ไพจิตร์ วราชิต กล่าวว่า ผลสำรวจสุขภาพล่าสุดมีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคอ้วน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนอ้วนมากถึง 17 ล้านคนทั่วประเทศ และยังมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านคนต่อปี ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล มากกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท อีกทั้ง คนที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคข้อกระดูกเสื่อมสูงกว่าคนปกติ และยังส่งผลกระทบด้านอารมณ์อีกด้วย ซึ่งผลสรุปจากรายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยครั้งที่ 5 พ.ศ.2546 แสดงให้เห็นว่า
    • คนไทยอายุ 20 – 29 ปี มีภาวะโรคอ้วนเพิ่มจาก
    • ร้อยละ 2.9  เป็นร้อยละ  21.7  (7.5 เท่า)
    • คนไทยอายุ 40 – 49 ปี อ้วนเพิ่ม 1.7 เท่า
    • ปัจจุบันเด็กประถมมีภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 13.4 เพิ่มขึ้นทุกปี
    • คนไทยอ้วนเป็นอันดับ 5 ใน 14 ประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก
    • คนไทยมีภาวะท้วมถึงอ้วนราว 10  ล้านคน 
    และหากนำมาเปรียบเทียบกับรายงานผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2550 ที่มีผลการสำรวจใกล้เคียงกันนั้น แสดงให้เห็นว่า
    • ปัจจุบันคนไทยมีภาวะท้วมถึงอ้วนราว 10  ล้านคน
    • เด็กไทยอายุ 2-18 ปี เป็นโรคอ้วนร้อยละ 8
    • กลุ่มวัยรุ่น 13-18 ปี ร้อยละ 9  เพิ่มขึ้นทุกปี
    • ผลสำรวจภาวะอ้วนลงพุงของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยใช้เกณฑ์เส้นรอบเอวไม่น้อยกว่า 90 ซม.ในผู้ชาย และไม่น้อยกว่า 80 ซม.ในผู้หญิง เป็นเกณฑ์ตัดสินอ้วนลงพุง ในปี 2550 ภาวะอ้วนลงพุงในเพศชายพบ ร้อยละ 24 และในเพศหญิงพบ ร้อยละ 60.5
    • ผลสำรวจภาวะอ้วนลงพุงของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยใช้เกณฑ์เส้นรอบเอวไม่น้อยกว่า 90 ซม.ในผู้ชาย และไม่น้อยกว่า 80 ซม.ในผู้หญิง เป็นเกณฑ์ตัดสินอ้วนลงพุงสำหรับปี 2551 พบภาวะอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นในเพศชาย เป็นร้อยละ 33.5  แต่ในเพศหญิงสถานการณ์ภาวะอ้วนลงพุงดีขึ้น เหลือร้อยละ 58.2  
    สาเหตุหลักคือวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่สมดุล มีการบริโภคมากเกินความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายน้อย รายงานผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี 2547 พบว่า คนไทยกินผักและผลไม้เพียง 275 กรัม/คน/วัน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานคือ 400 กรัม/คน/วัน ส่วนการกินน้ำตาลและไขมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ลดลงจากร้อยละ 83.2 ในปี 2548 เหลือร้อยละ 78.1 ในปี 2549
    แนวทางการแก้ปัญหาโรคอ้วนนั้นสามารถทำได้โดย
    • สร้างปัจจัยเอื้อปรับสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย 
    • สร้างองค์ความรู้ตามหลักการ 3 อ. เพื่อใช้เป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กินและออกกำลัง สร้างความสุมดุลย์พลังงานของร่างกาย
    แต่การต่อสู้กับโรคอ้วนนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันง่ายๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยจากเกินความสามารถ ทุกอย่างจะเป็นไปได้ หากเริ่มจากการมีจิตใจที่เข้มแข็งและไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบากนั้นเอง

    ที่่มา :  http://www.stks.or.th/blog/?p=15770

      มองตัวเองให้มีคุณค่า ยอมรับความจริงควบคุมความอ้วนด้วยการออกกำลังกาย เลือกกินอาหาร อารมณ์ดี สุขภาพก็จะดีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็ห่างหายไป ทว่าหากรู้สึกว่าอ้วนแล้วจะควบคุมด้วย #อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำ Kuu Ne Fit & Firm อาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก สกัดจากพืช 5 ชนิด ชาเขียว ถั่วขาว กระเทียม หอมหัวใหญ่ และรกพริก ปลอดภัยผลิตจากธรรมชาติ เพื่อ #ควบคุมน้ำหนัก #ลดไขมัน #ควบคุมระดับน้ำตาล และ#เร่งการเผาผลาญ ผลิตภัณฑ์ภายใต้การค้นคว้าพัฒนาร่วมกับ ผศ.ดร.พิสิฏฐ์  ธรรมวิถี  แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้มาตรฐานการผลิต GMP 


      ติดตาม   ฟังรายการ CEO VISION ช่วง New Dimensions โดย ดร. บุญชัย โกศลธนากุล เรื่อง สรรพโรคย่อมไม่เทียบเท่า "โรคอ้วน" ตอน 1 และ 2  ซึ่งออกอากาศทาง FM 96.5

      http://www.youtube.com/watch?v=QNPDko_4eDo
      https://www.youtube.com/watch?v=9tIaJzzUU64