ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความสุขแบ่งปันกันได้ไม่รู้จบ




ครั้งหนึ่งในอเมริกากลาง
ทุก ๆ ปีจะมีการประกวดเมล็ดพันธุ์ข้ าวโพด
หลังจากการประกวดชายผู้ที่ช นะเลิศที่หนึ่ง
เขาทำในสิ่งที่คาดไม่ถึง นั่นคือ ...

ทันทีที่เขาชนะ

เขาได้นำเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่ง ชนะการประกวด
แจกให้กับผู้ที่เข้าร่วมการ แข่งขันและกล่าวว่า
เอาเมล็ดพันธุ์นี้ไปปลูกน่ะ แล้วปีหน้าเรามาแข่งกันใหม่

ในปีต่อมา ...
เขาก็ชนะการประกวดเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดอีก
เขาเดินแจกเมล็ดพันธุ์ที่เขา เพิ่งชนะให้กับคนอื่น ๆ
แล้วบอกว่า ...
เอาไปปลูกน่ะ แล้วปีหน้าเรามาแข่งกันใหม่

ชายผู้นี้ชนะการประกวดเมล็ด พันธุ์ข้าวโพด
ติดต่อกัน 6 ครั้ง และเขาก็แจกเมล็ดพันธุ์ที่ชน
ให้ผู้แข่งขันคนอื่น ๆ ทุกปี

มีนักข่าวถามเขาว่า ...
ไม่เป็นการง่ายกว่าหรือ ถ้าเขาเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ดี
โดยไม่แบ่งคนอื่น เขาก็จะได้ชนะง่าย ๆทุกปี

เขาตอบว่า ... แสดงว่า ...
คุณไม่เข้าใจในการปลูกพืช คุณเคยได้ยินคำว่า ... 
การกลายพันธุ์ไหม ถ้าไร่ของผมมีเมล็ดพันธุ์ที่ ดี
บังเอิญไร่ของเพื่อนบ้านมีแ ต่เมล็ดพันธุ์ที่แย่ ๆ

วันหนึ่ง ลมก็จะพัดเอาเกสรของเมล็ดพั นธุ์ที่แย่ ๆ
มาตกในไร่ของผม ทำให้เมล็ดพันธุ์ผมแย่ไปด้วย

มันไม่เป็นการดีหรอกหรือ ...
ที่ทุกคนมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีแ ล้ว ... 
ถึงตอนนั้นมาแข่งกันว่า ...
ใครขยัน รดนำพรวนดินดีกว่ากัน

มีคำกล่าวว่า ...
ถ้าคุณมีเมล็ดพันธุ์ความคิดที่ ดี คุณเก็บไว้กับตัว
ไม่แบ่งปันใคร ถึงวันหนึ่งเมล็ดพันธุ์แห่งค วามคิดนั้น
ก็จะตายไปพร้อมคุณ

เป็นสิ่งสำคัญในชีวิต ที่ความคิดและความรู้
ยิ่งให้ออกไป เรายิ่งได้รับกลับมา
และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คน ๆ นั้น

ประสบความสำเร็จที่มากขึ้นไ ปพร้อม ๆ กับ

การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าใน สังคม

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

PTP ทำกิจกรรมร่วมกับ DBD กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สร้างเครือข่ายพันธมิตรต่อยอดธุรกิจครบวงจร

PTP ทำกิจกรรมร่วมกับ DBD กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 สร้างเครือข่ายพันธมิตรต่อยอดธุรกิจครบวงจร 

ศึกษาดูงาน บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้งจำกัด

ต้อนรับอบอุ่นต่อเนื่องกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสังคม CSR

มอบทุนการศึกษา อุปกรณ์กีฬา ร่วมทาสี
 โรงเรียน บ้านคลองหลวง ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร





วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สุขจริง ... สุขแน่ ... สุขแท้ ... สุขเทียม





สุขแท้ - สุขเทียม

ความสุข คือ ความรู้สึกที่ทนได้ง่าย และเป็นความรู้สึกที่น่าพึงพอใจ ที่ตรงข้ามกับความทุกข์ ที่เป็นความรู้สึกที่ทนได้ยาก และเป็นความรู้สึกที่ไม่น่าพึงพอใจ
ความสุขเกิดได้จากการที่ (๑) ภาพที่น่าพอใจ มาสัมผัสกับ ตา, (๒) เสียงที่น่าพอใจ มาสัมผัสกับ หู, (๓) กลิ่นที่น่าพอใจ มาสัมผัสกับ จมูก, (๔) รสที่น่าพอใจ มาสัมผัสกับ ลิ้น, (๕) วัตถุที่น่าพอใจ มาสัมผัสกับ ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของร่างกาย, และ (๖) ความคิดหรืออารมณ์ที่น่าพอใจ มาสัมผัสกับ ใจ
สิ่งทั้ง ๖ ที่มาสัมผัสกับระบบประสาทของร่างกาย แล้วทำให้เกิดความสุขนี้ก็สรุปได้ ๓ ประเภท ที่เรียกว่า วัตถุนิยม คือ (๑) กามารมณ์ ซึ่งก็ได้แก่สิ่งที่น่ารักน่าใคร่ น่ากำหนัดยินดีทั้งหลาย โดยมีจากเพศตรงข้ามเป็นกามารมณ์ชนิดสูงสุด (๒) วัตถุ ซึ่งก็ได้แก่วัตถุสิ่งของทั้งหลาย ที่ไม่ใช่กามารมณ์ เช่น รถ บ้าน เครื่องมือต่างๆ เป็นต้น และ (๓) เกียรติ ซึ่งก็ได้แก่ เกียรติยศ ชื่อเสียง ความเด่นดัง ความมีอำนาจเหนือผู้อื่น
ความสุข เป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาทั้งหลายของโลกอยากจะได้ หรืออยากจะมี ส่วนความทุกข์เป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาทั้งหลายเกลียดกลัว หรือไม่อยากจะได้ ไม่อยากจะมี แต่ความจริงของธรรมชาติอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ “ความเป็นของคู่” คือเมื่อมีสว่างก็ต้องมีมืด เมื่อขาวก็ต้องมีดำ เมื่อมีเจริญก็ต้องมีเสื่อม เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย เมื่อมีได้ก็ต้องมีเสีย เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีสุขก็ต้องมีทุกข์ตามมาในภายหลังทั้งสิ้น คือเมื่อมีสุขมาก ก็จะมีทุกข์มากตามมาด้วยเสมอ แต่ถ้ามีสุขน้อยก็จะมีทุกข์น้อยตามมาด้วยเหมือนกัน
ความสุขก็ยังแยกได้ ๒ ประเภท คือ สุขแท้ กับ สุขเทียม ซึ่งสุขแท้ก็คือความสุขที่ยั่งยืนและมีโทษน้อย ส่วนสุขเทียมก็คือความสุขที่ไม่ยั่งยืนและมีโทษมาก ซึ่งโทษในที่นี้ก็คือปัญหาต่างๆที่นำความทุกข์ ความเดือดร้อน และความยากลำบากมาให้แก่ผู้ที่มีความสุขนั้น
สุขเทียมก็คือความสุขจากวัตถุนิยมทั้งหลาย อย่างเช่น ความสุขจากการมีแฟน, หรือการมีเซ็กส์, ความสุขจากการเสพสิ่งเสพติด, ความสุขจากการเที่ยวเตร่เฮฮา, ความสุขจากการดูหนังฟังเพลง, ความสุขจาการเล่นเกมส์, ความสุขจากการพูดคุยเรื่องไร้สาระ, ความสุขจากการแต่งกายที่โก้หรูทันสมัย, ความสุขจากการมีเครื่องประดับราคาแพง, ความสุขจาการมีรถมอเตอร์ไซด์หรือมีมือถือที่มียี่ห้อและทันสมัย, ความสุขจากการกินอาหารที่เอร็ดอร่อย, และความสุขจากการเป็นคนเด่นหรือดังมีชื่อเสียง เป็นต้น
ความสุขที่เกิดมาจากวัตถุนิยมนี้จัดว่าเป็นสุขเทียม เพราะมันมีอยู่ไม่นานก็หมดสิ้นไป ไม่สามารถมีอยู่อย่างยั่งยืนได้ และยังมีโทษตามมามากมายในภายหลังทั้งสิ้น อย่างเช่น การมีคู่ก็นำมาซึ่งการแย่งชิง ความหึงหวง และการทะเลาะกัน ทำร้ายกัน, ส่วนการมีเซ็กส์ก็นำมาซึ่งการตั้งท้อง หรือการติดโรคเอดส์, ส่วนการเล่นเกมส์ก็ทำให้เสียสุขภาพ เสียเงิน เสียเวลา เสียการเรียน เสียการงาน และเสียอนาคตได้ รวมทั้งอาจทำให้เกิดการลักขโมยจนถูกลงโทษได้, ส่วนการเสพสิ่งเสพติดก็นำมาซึ่งความสิ้นเปลือง เสียสุขภาพ เกิดโรค และอาจส่งผลให้เกิดการลักขโมย จี้ ปล้นขึ้นมาได้, ส่วนการใช้สอยสิ่งโก้หรูทันสมัยก็ทำให้สิ้นเปลืองเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ แล้วก็นำมาซึ่งความขาดแคลน แล้วก็อาจส่งผลให้เกิดการแสวงหาในทางที่ผิดจนถูกลงโทษได้, ส่วนการมีชื่อเสียงก็นำมาซึ่งความอิจฉา ความแตกแยก และศัตรู รวมทั้งการใช้จ่ายมากมายเพื่อแสวงหาและรักษาชื่อเสียงเอาไว้ เป็นต้น ยิ่งถ้าใครลุ่มหลงติดใจในความสุขเทียมนี้มากๆ ก็จะยิ่งมีปัญหาและความทุกข์ความเดือดร้อนมาก แต่ถ้าใครติดใจลุ่มหลงในความสุขเทียมนี้น้อย ก็จะมีปัญหาและความทุกข์ความเดือดร้อนน้อย
ส่วนความสุขแท้ก็คือความสุขที่เกิดจากการทำความดีทั้งหลาย ซึ่งความดีนั้นก็มีมากมาย อันสรุปอยู่ที่ การตั้งใจที่จะไม่ทำความชั่ว, การช่วยเหลือผู้ที่กำลังมีทุกข์ให้พ้นทุกข์, การให้ทรัพย์หรือสิ่งของ, การให้อภัย, การให้ความรู้, การให้ธรรมะ, การทำจิตให้เป็นสมาธิ, การคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา, และการทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง เช่น นักเรียนก็มีหน้าที่เรียนหนังสือ, ครูอาจารย์ก็มีหน้าที่สอนหนังสือและอบรมศิษย์ให้เป็นคนดี, พ่อแม่ก็มีหน้าที่เลี้ยงลูกและอบรมลูกให้เป็นคนดี, ลูกก็มีหน้าที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่และครูอาจารย์, คนทั่วไปก็มีหน้าที่ทำงานเลี้ยงชีวิตและครอบครัว, ประชาชนก็มีหน้าที่ดูแลรักษาประเทศชาติ, ศาสนิกก็มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาและดูแลรักษาศาสนา, มวลมนุษย์ก็มีหน้าที่ดูแลโลกให้มีสันติภาพและดูและรักษาธรรมชาติ เป็นต้น
ความสุขแท้นี้จะเป็นความสุขที่ยั่งยืน เพราะเป็นความสุขที่เกิดมาจากการทำความดี ซึ่งความดีก็คือสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งตนเองและสังคม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งความสุขแท้นี้จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น “ความสุขสงบ” ก็ได้ ถ้าใครมีความสุขแท้นี้มาก เขาก็จะมีความสุขสงบอย่างยั่งยืนได้ หรือถ้าสังคมใดมีความสุขแท้นี้มาก สังคมนั้นก็จะมีความสงบร่มเย็นมาก หรือถ้ามนุษย์โลกมีความสุขแท้นี้กันมากๆ โลกก็จะมีสันติภาพได้
ปัญหาสำคัญที่ทำให้เรา สังคม และโลกเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ก็คือ ความติดใจในความสุขเทียม ซึ่งความติดใจก็คือ ความชื่นชอบหรือพอใจอย่างยิ่งจนขาดไม่ได้ ถ้าขาดไปก็จะรู้สึกทรมานใจหรือเป็นทุกข์ คือความสุขเทียมนั้นมันเป็นความรู้สึกที่รุนแรง เร้าร้อน หรือซู่ซ่าน่าตื่นเต้น เมื่อจิตได้รับรู้ความสุขเทียมนี้เข้าแล้วก็จะเกิดความพอใจอย่างยิ่งขึ้นมาทันที แล้วก็จะติดใจลุ่มหลงมาก และเมื่อเกิดเบื่อหน่ายความสุขเทียมชนิดเก่า หรือเมื่อความสุขเทียมหมดสิ้นไปตามธรรมชาติของมัน จิตใจก็จะรู้สึกหิวโหยหรืออยากจะเสพหรืออยากมีความสุขเทียมชนิดใหม่ๆขึ้นมาอีกอย่างไม่รู้จักจบสิ้น อันทำให้ต้องไปแสวงหาความสุขเทียมใหม่ๆมาเสพอีก และอยากได้ความสุขเทียมนี้มากขึ้นเรื่อยๆด้วย ซึ่งมันก็เหมือนกับการติดสิ่งเสพติด เช่น พวกบุหรี่ กัญชา เฮโรอีน หรือยาบ้า เป็นต้นนั่นเอง และเมื่อมีความอยากได้ความสุขเทียมมากขึ้น และรุนแรงขึ้น ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแย่งชิงวัตถุนิยมขึ้นมา อันส่งผลให้เกิดการเอารัดอัดเอาเปรียบ หรือเบียดเบียนกันในรูปแบบต่างๆขึ้นมา ทั้งในทางที่ถูกและผิด คือคนดีก็ทำอย่างถูกกฎหมาย ส่วนคนชั่วก็ทำอย่างผิดกฎหมาย แล้วสังคมก็เดือดร้อนวุ่นวาย โลกก็มีวิกฤตการณ์ ไม่มีสันติภาพ
ส่วนความสุขแท้นั้นจะเป็นความสุขที่สงบ เรียบง่าย ไม่รุนแรง ไม่ซู่ซ่า หรือเป็นความสุขใจ อิ่มใจ ที่เรียกว่าเป็นความสุขเย็น ดังนั้นคนธรรมดาทั่วไปจึงไม่ค่อยชื่นชอบหรือพอใจเท่าความสุขเทียมจากวัตถุนิยมที่รุนแรง หรือซู่ซ่ามากกว่า ซึ่งนี่คือจุดสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีความทุกข์และความเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้
วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องความติดใจในความสุขเทียมก็คือ ขั้นต้นเราต้องตั้งใจพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า ความสุขเทียมนั้นมีโทษมาก มากจนถึงขนาดที่จะทำลายชีวิตของเรา ครอบครัวของเรา สังคมและประเทศชาติของเรา รวมทั้งทำลายโลกได้ เพื่อให้เกิดความกลัวโทษของมันขึ้นมาก่อน ต่อจากนั้นก็ต้องมาพยายามลด ละ เลิก การแสวงหาและเสพความสุขเทียมนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องหันมาแสวงหาความสุขแท้จากการทำความดีให้มากขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจให้มาติดใจหรือพอใจในความสุขสงบนี้แทน ซึ่งก็ต้องใช้ทั้งความอดทนและความเพียรมาช่วย ถ้าทำได้ก็จะทำให้ชีวิตได้พบกับความสุขที่แท้จริงขึ้นมาได้ จึงขอฝากให้ทุกคนเอาเรื่องความสุขนี้ไปคิด เพื่อให้เกิดปัญญาแล้วเอามาใช้ในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องกันต่อไป.
เตชปญฺโญ ภิกขุ
อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี
(ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.whatami.net)
*********************

          
                       ความเอ๋ย        ความสุข
                 ใครๆทุก               คนชอบเจ้า     เฝ้าวิ่งหา
                 แกก็สุข               ฉันก็สุข           ทุกเวลา
                 แต่ดูหน้า              ตาแห้ง          ยังแคลงใจ,
  
                        

                              ถ้าเราเผา           ตัวตัณหา      ก็น่าจะสุข                 
                          ถ้ามันเผา            เราก็ "สุก "   หรือเกรียมได้                 
                          เขาว่าสุข            สุขเน้อ         อย่าเห่อไป                 
                          มันสุขเย็น           หรือสุกไหม้   ให้แน่เอย ฯ.

                                                            (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ)
      
                                                        ที่มา : http://www.whatami.net/lum/lum12.html
 
สุขแท้กลางใจเราสุขแท้กลางใจเรา คำนำโดย พระไพศาล วิสาโล
จัดพิมพ์โดย เครือข่ายพุทธิกา
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๒๕๕๓

คำปรารภ
ใคร ๆ ก็อยากได้สิ่งดี ๆ หรืออยากเห็นสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับตน เช่น ทรัพย์สินเงินทอง คำสรรเสริญ เกียรติยศ บริษัทบริวาร เพราะคิดว่าถ้าได้มาแล้วจะทำให้ชีวิตมีความสุข แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถควบคุมบังคับให้เกิดสิ่งดี ๆ แก่ตนได้ตลอดเวลา บ่อยครั้งเราต้องพบกับความไม่สมหวังหรือความผันผวนปรวนแปรในชีวิต แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องลงเอยด้วยความทุกข์
เราไม่มีอำนาจกำหนดให้มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับเราได้ก็จริง แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะยอมให้เหตุการณ์ต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อจิตใจของเราอย่างไร เพราะถึงที่สุดแล้วสุขหรือทุกข์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่ว่าเราจะมองหรือรู้สึกกับมันอย่างไรต่างหาก คนที่ได้โชคลาภมหาศาล แต่หากวางใจไม่เป็น ก็เป็นทุกข์ได้ และหากไม่รู้จักเกี่ยวข้องกับมันอย่างถูกต้อง มันก็สามารถบั่นทอนชีวิตของเขาได้ คนที่ชีวิตตกต่ำลงหลังจากที่ได้มรดกก้อนโตหรือถูกรางวัลที่ ๑นั้น มีให้เห็นอยู่เนือง ๆ
สุขที่แท้นั้นอยู่ที่ใจ ใจที่มีปัญญาเข้าใจความจริงของชีวิตและโลก ย่อมไม่กระเพื่อมหวั่นไหวไปกับความผันผวนรอบตัว แม้เหตุร้ายจะส่งผลกระทบถึงทรัพย์สินเงินทอง ผู้คนที่ใกล้ชิด หรือร่างกายของเรา แต่ก็ไม่สามารถกระแทกไปถึงใจเราได้ ตรงกันข้ามปัญญาจะช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
สุขแท้นั้นเกิดจากปัญญา และเมื่อมีปัญญาจะพบว่า การแบ่งปันและการช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์นั้นเป็นการสร้างสุขทั้งแก่ผู้อื่นและแก่ตนเอง ยิ่งให้ก็ยิ่งสุข ในทางตรงข้าม ยิ่งเอาก็ยิ่งทุกข์ การเห็นความจริงดังกล่าวจะช่วยให้ผู้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง และเอื้ออาทรต่อผู้อื่นมากขึ้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าโลกนี้จะน่าอยู่เพียงใดหากปัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้คน
ข้อคิดและประสบการณ์จาก ๓๘ ท่านในหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสุขนั้นมิใช่เรื่องไกลตัว และไม่จำเป็นต้องแสวงหาจากที่ใด หากสามารถพบได้ที่กลางใจเรา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แวดล้อมอย่างใด เราก็สามารถพบสุขได้ทุกที่ หลายท่านต้องประสบกับความสูญเสียและถูกโรคภัยคุกคาม แต่ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้ เพราะได้ยกใจให้อยู่เหนือเหตุร้ายเหล่านั้น หลายท่านมีความสุขกับการอุทิศตนเพื่อผู้อื่น หรือได้สร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า เรื่องราวของท่านเหล่านี้จึงเป็นทั้งแรงบันดาลใจและแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตที่สร้างสรรค์ อันเป็นผลจากปัญญาที่หล่อเลี้ยงกรุณาให้เบ่งบานในใจ
หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “สุขแท้ด้วยปัญญา” ซึ่งเครือข่ายพุทธิกาได้จัดทำขึ้นเป็นปีที่สองร่วมกับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีกิจกรรมหลักได้แก่การสนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมทัศนคติ ๔ ประการ คือ การนึกถึงตนเองมากกว่าผู้อื่น การเข้าถึงความสุขที่ไม่อิงวัตถุ การพึ่งความเพียรของตน และการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล
นอกจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ร่วมโครงการแล้ว ผลได้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษาและแวดวงการอบรมอีกด้วย

โครงการสุขแท้ด้วยปัญญาขอขอบคุณทุกท่านที่อนุญาตให้นำข้อเขียนหรือประสบการณ์
ของท่านมาตีพิมพ์หรือถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้ เชื่อแน่ว่าผู้ใดที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะเห็นแนวทางในการค้นพบความสุขซึ่งมีอยู่แล้วในใจของตน

พระไพศาล วิสาโล










วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัตถุเจือปนอาหาร : ประโยชน์หรือโทษภัย

วัตถุเจือปนอาหาร คือ อะไร
คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน ( Codex Committee on Food Additives and Contaminants ; CCFAC , 1972 ) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความว่า

“ วัตถุเจือปนอาหาร “ หมายถึง

สารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้ เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือ มีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น แต่ไม่รวมถึง สารปนเปื้อน หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร โดยที่การใชัวัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงด้วย

คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ ไม่เป็นพิษ ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล ไม่ทำให้สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ และ ต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้

ทำไมจึงต้องใช้วัตถุเจือปนอาหาร

ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของคนเราไม่ว่ายุคสมัยใด ก็ยังคงเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เช่นเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าทันสมัย อำนวยความสะดวก ความสุขและความพอใจให้มนุษย์เรามากขึ้น ในเรื่องอาหารก็เช่นเดียวกัน ระยะแรกก็กินอาหารพืช ผัก ตามธรรมชาติ ต่อมาก็มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร และพัฒนาเรื่อยมา รู้จักการเก็บถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือบริโภคนอกฤดูกาล ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบในสังคมเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาหาร ทำให้มีการผลิตอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค การใช้วัตถุเจือปนอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตอาหารได้ตามความต้องการ

วัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีหลายประการ ได้แก่

1. เพื่อเก็บถนอมหรือยืดอายุการเก็บของอาหารไว้ ตัวอย่างเช่นในระยะที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากเกินไปในฤดู โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุณหภูมิและความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสภาวะเร่งการเสียของอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ จึงจำเป็นต้องใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหาร
2. เพื่อปรุงแต่งลักษณะสี กลิ่น รส ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
3. เพื่อช่วยในกระบวนการผลิต เช่น การใช้วัตถุป้องกันการเกิดฟองที่มากเกินไปในกระบวนการผลิต น้ำมันพืช น้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นต้น
4. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้มีอาหารหลากหลายชนิด

วัตถุเจือปนที่ใช้ในอาหารแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน

1. วัตถุกันเสีย
หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารเพื่อป้องกันการเสีย บูดเน่าของอาหาร สารนี้จะไปควบคุมการเจริญเติบโต หรือทำลายจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพของอาหาร วัตถุกันเสียที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่กรดและเกลือของกรดต่างๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค กรดโพรพิออนิค
สารประกอบไนไตรท์ สารนี้มักเติมลงในอาหารเนื้อสัตว์เพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีชมพู / แดง ที่คงที่ และเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium botulinum ซึ่งสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาหารที่มักพบว่าใส่สารประกอบไนเตรดและไนไตรท์ ได้แก่ เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียว ปลาแดดเดียว ไส้กรอก หมูแฮม เบคอน เกลือซัลไฟท์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารนี้เมื่อรวมตัวกับน้ำจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูรัส ซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายหรือชะงักการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ป้องกันการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในอาหารพวกผัก ผลไม้แห้ง น้ำหวานต่าง ๆ ไวน์ วุ้นเส้นแห้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง เส้นหมี่แห้ง ผลิตภัณฑ์มันฝรั่ง และ ผลไม้บรรจุกระป๋อง

2. วัตถุกันหืน
หมายถึง สารที่ใช้เพื่อชะลอการเสียของอาหารอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ลักษณะการเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยานี้ รวมถึงการมีกลิ่นผิดปกติ เช่น กลิ่นหืน กลิ่น สี รส ผิดปกติไปจากเดิม อาจเกิดสารประกอบใหม่ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและน้ำมันมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำมัน ไขมัน เนย เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และอาหารที่ปรุงสุกโดยการทอดด้วยน้ำมัน วัตถุกันหืนที่ใช้กันมาก ได้แก่ BHA BHT TBHQ PG

3. สี
การใช้สีผสมอาหาร เพื่อแต่งสีให้อาหารมีลักษณะคล้ายธรรมชาติ หรือเพื่อให้มีสีสม่ำเสมอ และอาจใช้เพื่อจำแนกกลิ่น รสของอาหารก็ได้ สีที่ใช้ผสมอาหารมี 2 จำพวก ได้แก่ สีธรรมชาติ จาก ใบเตย กระเจี๊ยบ ใบย่านาง ดอกอัญชัน ลูกตาล สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้สีสังเคราะห์ ซึ่งสร้างจากสารเคมีต่างๆ
สีสังเคราะห์มีความคงตัวดีกว่าสีธรรมชาติ แต่ต้องใช้เฉพาะชนิดที่อนุญาตให้ใช้และปริมาณที่กำหนดเท่านั้น รายชื่ออาหารที่ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 พ.ศ. 2525 ได้แก่ อาหารทารก อาหารเสริมสำหรับเด็ก นมดัดแปลงสำหรับทารก ผลไม้สด ผลไม้ดอง ผักดอง เนื้อสัตว์สดทุกชนิด (เว้นแต่สีจากขมิ้นและผงกะหรี่สำหรับไก่สด) เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง เช่น ปลาเค็ม กุ้งเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งหวาน ปลาหวาน ไก่ย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง (ยกเว้นสีจากขมิ้น และผงกะหรี่) แหนม กุนเชียง ทอดมัน กะปิ ข้าวเกรียบต่าง ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว หมี่ซั่ว สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี

4. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ใช้ปรับสภาพความเป็น กรด-ด่าง ของอาหาร
วัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์อาหาร ตัวอย่างเช่น เพื่อให้อาหารมีความคงตัวดี เช่น การเติมแยม เยลลี่ ต้องปรับสภาพความเป็นกรดให้พอดี ถ้ากรดมากเกินไป ผลิตภัณฑ์จะเละ เพื่อให้อาหารมีสีตามต้องการ ตัวอย่าง น้ำกระเจี๊ยบ จะมีสีแดงสด เมื่อมีความเป็นกรดสูงพอดี ถ้าความเป็นกรดต่ำลงคือมีความเป็นด่างมากขึ้น จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน เพื่อป้องกันการเกิดสารสีน้ำตาลในผักผลไม้ที่ปอกเปลือกหรือหั่นแล้ว ถ้าจุ่มหรือแช่ผักผลไม้ เหล่านั้นในสารละลายกรด เช่น กรดซิตริก น้ำมะนาว จะป้องกันการเกิดสารสีน้ำตาลได้ เพื่อปรุงแต่งกลิ่น รสให้ผลิตภัณฑ์อาหาร กรดชนิดต่าง ๆ ที่เติมลงในอาหารช่วยเพิ่มกลิ่นรส เช่น ทำให้มีรสเปรี้ยว รวมทั้งกลิ่นเฉพาะ เช่น กรดทาร์ทาริก จะให้รสองุ่นและรสมะขาม หรือ กรดมาลิก จะให้รสแอปเปิ้ล เป็นต้น

5. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยคงสภาพอาหาร
กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยคงรูปผัก ผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ แปรรูปให้คงสภาพเดิมมากสุด
ในการแปรรูปผักผลไม้ เช่น ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง มักพบว่าอาหารจะนิ่ม เละ หรือแตก ในครัวเรือนของคนไทย จะใช้น้ำปูนใส ทำให้ผักผลไม้มีความคงตัวไม่เละ ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้ เกลือแคลเซียมคลอไรด์โปแตสเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ เติมลงในระหว่างการแปรรูปผักและผลไม้ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งหรือกรอบ ลักษณะเนื้อสัมผัสดีขึ้น อาหารที่ใช้วัตถุคงรูป ได้แก่ ผักดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง เป็นต้น กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยทำให้อาหารเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำและน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งการทำให้ส่วนผสมเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องใช้อิมัลซิไฟเออร์ช่วยประสานให้น้ำและน้ำมันรวมตัวกันได้โดยไม่แยกชั้น อิมัลซิไฟเออร์ตามธรรมชาติได้แก่ เลซิทินในไข่แดง และในถั่วเหลือง อิมัลซิไฟเออร์สังเคราะห์ ได้แก่ โมโนแซคคาไรด์ และอนุพันธ์ โพรพีลีนไกลคอลเอสเทอร์ เช่น การเติมอิมัลซิไฟเออร์ ในผลิตภัณฑ์ น้ำสลัด มายองเนส ซอส และ น้ำจิ้มบางชนิด

6. วัตถุป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน
หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารผงแห้ง เพื่อช่วยเก็บหรือดูดความชื้นไว้โดยที่สารนี้ไม่ชื้น สารนี้อาจไปรวมตัวกับน้ำในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือจับน้ำจากบรรยากาศที่เก็บอาหารก็ได้ สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมซิลิเกต แมกนีเซียมสเตียเรท แมกนีเซียมไตรซิลิเกต ไตรแคลเซียมโมโนฟอสเฟต อาหารประเภทผงแห้งต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มผง กาแฟผง ซุปผง มักพบปัญหาการรวมตัวเป็นก้อนแข็ง เมื่อเติมน้ำจะไม่ละลายหรือละลายได้ยาก การที่อาหารมีความชื้นเพิ่มขึ้นเกิดการเสื่อมคุณภาพจากจุลินทรีย์ได้ จึงต้องเติมวัตถุป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน เพื่อทำให้อาหารคงสภาพเป็นผงแห้ง อาหารที่ใช้วัตถุเจือปนกลุ่มนี้ ได้แก่ ครีมเทียมผง กาแฟผง เครื่องดื่มผง น้ำตาลทรายชนิดผงละเอียด เจลาตินผง หัวหอมผง กระเทียมผง ซอสผง แป้งเค้กสำเร็จรูป ผงฟู

พิษภัยของวัตถุเจือปนอาหาร

วัตถุเจือปนอาหารมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหาร ช่วยให้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายชนิด มีคุณภาพได้มาตรฐาน ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้องก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เช่นกัน ปัญหาพิษภัยที่เกิดจากวัตถุเจือปนอาหารอาจเกิดได้หลายรูปแบบ

ใช้ผิดประเภท

ได้แก่ การนำวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร เช่น ใช้กรดซาลิไซลิคซึ่งห้ามใช้ในอาหารมาใช้เป็นสารกันบูด กรดซาลิไซลิคทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ หรือการใช้บอแรกซ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหารเช่นกัน บอแรกซ์หรือโซเดียมบอเรต หรือผงกรอบ น้ำประสานทอง หรือเพ่งแซ เป็นสารเคมีที่ไม่มีกลิ่น ผลึกละเอียด สีขาว ละลายน้ำได้ดี ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วและเป็นสารประสานทองแต่ผู้ผลิตบางรายนำมาใช้เติมในอาหารพวกลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน ไส้กรอก ผักกาดดองเค็ม มะม่วงดอง แป้งกรุบ ลอดช่อง ทับทิมกรอบ เนื้อบดปรุงรสต่าง ๆ ไก่บด เนื้อปลาขูด ทำให้อาหารเหล่านี้มีความหยุ่น เหนียว กรอบ แต่สารนี้มีอันตรายทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ อักเสบ การทำงานของไตล้มเหลว อาจมีปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปริมาณที่เป็นพิษในผู้ใหญ่ 5 - 10 กรัม ถ้าได้รับ 15 - 30 กรัมอาจตายได้ ภายใน 2-3 วัน ส่วนในเด็กนั้น ถ้าได้รับ 4.5-14 กรัม ทำให้เกิดอาการพิษและตายได้

ใช้ปริมาณมากกว่าที่กฏหมายอนุญาต

เช่น สารประกอบไนเตรด ไนไตรท์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ ในรูปไนไตรท์ไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน (125 มก./กก.) และไนเตรด 500 ส่วนในล้านส่วน (500 มก./กก.) ถ้าใช้สองชนิดร่วมกันให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มก./กก. หรือการใช้วัตถุกันเสียในเครื่องดื่มมีการกำหนดว่าให้ใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 70 มก./กก. กรดเบนโซอิค หรือกรดซอร์บิคใช้ได้ไม่เกิน 200 มก./กก. สีผสมอาหารให้ใช้ได้ไม่เกิน 70 มก./กก. เป็นต้น การใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ โดยที่ผู้บริโภครู้เท่ากันไม่การณ์หรือจงใจ เพื่อต้องการยืดอายุการเก็บให้นานกว่าปกติ หรือคุณภาพดีขึ้น หรืออาจใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานมาใช้เพราะมีราคาถูกกว่า ผู้บริโภคควรเลือกบริโภคอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เลือกบริโภคแต่อาหารที่ผลิตได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันพิษภัยจากการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
โดย รศ. ธิติรัตน์ ปานม่วง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา : http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=4265

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 2543 คู่มือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน
ศิวพร ศิวเวช 2535 วัตถุเจือปนในผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ
Furia Thomas E. 1972. CRC Handbook of Food Additives 2nded. New York : CRC Press.

แพ้ผงชูรส ที่แท้คือภาวะต้องพิษ

แพ้ผงชูรส ที่แท้คือภาวะต้องพิษ

 
 
ธรรมชาติบำบัด
น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล
balavi@samart.co.th http://www.balavi.co.th 

หมาดๆ มาจากงานวิจัยของญี่ปุ่น ตีพิมพ์ในวารสาร New Scientist การกินผงชูรสในหนูทดลองด้วยปริมาณสูง ก่อให้เกิดภาวะสายตาเสื่อม

ถึงกับเป็นข้อสังเกตไว้ว่า ชาวตะวันออกซึ่งถูกภาวะจำยอมต้องกินผงชูรสจากอาหารที่เกลื่อนกล่นอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง จึงเกิดโรคต้อกันมาก พิษจากผงชูรส

ไม่ต้องรอให้เกิดผลขนาดตาเสียตาเสื่อมหรอก การกินผงชูรสก่ออาการผิดปกติมากมาย ตั้งแต่โรคปวดหัว ไมเกรน กระเพาะระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กลุ่มอาการลำไส้ระคายเคือง หอบหืด หายใจลำบาก กระวนกระวาย ตื่นกลัวผิดปกติ ใจเต้นใจสั่น อัมพาตบางส่วน โครงเครง สับสน อารมณ์แปรปรวน โรคทางระบบประสาท ได้แก่ พาร์กินสัน, Multiple sclerosis (เซลล์ประสาทกลายเป็นพังผืดเป็นหย่อมๆ), อัลไซเมอร์ส

พฤติกรรมผิดปกติมักเกิดขึ้นในเด็ก ผื่นแพ้ น้ำมูกไหล หนังตาล่างบวม หน้าแดง ปากเป็นแผล ซึมเศร้า รวมไปถึงโรคที่ยากแก่การรักษา เช่น fibromyalgia ซึ่งเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดอันแสนทุกข์ทรมาน ที่เป็นมากและรุนแรงก็อาจถึงกับหัวใจกำเริบที่คุกคามชีวิต ฯลฯ

เหล่านี้คืออาการผิดปกติทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับคนทั่วโลก พิสูจน์แล้วว่าเกิดจากผงชูรสรวบรวมโดยองค์กรโลกชื่อ NoMSG (http://www.nomsg.com) องค์กรสากลผู้ไม่บริโภคผงชูรส NoMSG

องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 1989 สมาชิกขององค์กร NoMSG มีตั้งแต่นายแพทย์ นักกฎหมาย บรรณารักษ์ แม่บ้าน พ่อบ้าน นักเขียน บรรณาธิการ วิศวกร ช่างซ่อม ศิลปิน และนักเรียนนักศึกษา เป็นต้น

เริ่มต้นจากหนังสือ In Bad Taste : The MSG Syndrome เขียนโดย น.พ.ยอร์จ อาร์. ชวอตซ์ ตีพิมพ์เรื่องราวจากผลร้ายของการกินผงชูรสออกวางจำหน่าย

จากนั้นมีผู้ร่วมชะตากรรมจากการกินผงชูรสด้วยอาการต่างๆ ตั้งแต่น้อยไปหามาก พากันตื่นตัวขึ้นมา และด้วยการประสานของของ น.พ.ชวอตซ์และนางแคทลีน ผู้ภรรยา ช่วยให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็นเครือข่ายของผู้บริโภคจากชนทุกระดับชั้น

อันมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยกันให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคให้เห็นถึงผลร้ายของการกินผงชูรส และวิธีป้องกันตนเองจากสารชนิดนี้
แพ้ผงชูรส-แท้ที่จริงคือภาวะต้องพิษประมาณกันว่ามีประชากรทั่วโลกที่เกิดปฏิกิริยาต่อผงชูรส 30% ของประชากรโลก

พูดง่ายๆ ว่า สำหรับประชาชนไทย 62 ล้านคนในขณะนี้ก็มีผู้เกิดผลจากผงชูรส 18.6 ล้านคน และทุกวันนี้มีการใส่ผงชูรสมากๆ ยิ่งขึ้นทุกที ทั้งชนิดของอาหารที่ใส่และปริมาณที่ซัดสาดเข้าไป (เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม 50%)

ดังนั้น ปริมาณที่คนเรากินเข้าไปแต่ละครั้งก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จำนวนเปอร์เซ็นต์ของผู้เกิดผลจากผงชูรสจะยิ่งนับวันสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

อาการเหล่านี้คนทั่วไปมักเรียกว่า "แพ้ผงชูรส" และเมื่อใช้คำนี้ทีไร ก็พลอยจะนึกโทษชะตากรรมตัวเองว่า "คงเป็นกับตัวฉันคนเดียว หรือคนซวยๆ แบบฉันเพียงไม่กี่คน"

หารู้ไม่ว่า แท้ที่จริงอาการที่เรียกว่า แพ้ผงชูรสนั้น มิใช่เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับคนเราตามดวงแบบอาการแพ้เพนิซิลลินหรือแพ้พิษผึ้งแมลง แต่อาการเหล่านี้คือภาวะต้องพิษสารเคมี จากผงชูรสนั่นเอง

และพึงรู้ไว้เสียด้วยว่า แม้ในคนที่กินผงชูรสแล้วไม่เกิดอาการผิดปกติในบัดดล แต่ผลร้ายจากสารเคมีของผงชูรสก็กำลังก่อผลสะสมที่ทำลายเซลล์ประสาทในระยะยาว ผงชูรสออกฤทธิ์เหมือนยา สั่งการต่อระบบประสาท

ครับ ผงชูรสไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการแต่อย่างใดเลย และมันก็มิได้ไปปรับคุณค่าของอาหารหรือเกิดปฏิกิริยากับอาหารที่มันซัดสาดลงไป

ผงชูรสคือสารเคมีออกฤทธิ์เหมือนยา สั่งการต่อระบบประสาทของคนกิน ทำให้ปุ่มปลายประสาทรับรสไวขึ้นต่อรสอาหาร พูดภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือมันเข้าไปเล่นกลกับประสาทของคุณให้คิดเสียว่า "อาหารที่กินนี่ ช่างอร่อยเหลือเกินนะ" ทั้งๆ ที่อาหารที่กำลังยัดใส่ปากเข้าไปนั้น อาจห่วยเสียเต็มประดา ในเชิงคุณค่าของความสดใหม่ หรือในเชิงคุณค่าทางโภชนาการก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ ร้านอาหารที่ไม่พิถีพิถันในการทำอาหาร แม่ครัวแม่ค้าที่ไร้ฝีมือจึงนิยมผงชูรส เพราะทำให้อาหารที่ตัวเองทำขาย ซึ่งรสชาติอาจเลวขนาดกระยาจกก็เบือนหน้าหนี กลายสภาพให้ราชาต้องเหลียวมอง หารู้ไม่ถึงการต้องพิษเฉพาะหน้าหรือระยะยาว ทั้งผู้ขายและผู้กิน

เราจึงพบผงชูรสถูกใส่เข้าไปในอาหารขยะนานาชนิด ซึ่งคุณค่าโภชนาการเป็นเพียงแป้งเปล่าๆ ทอดจากน้ำมันซ้ำๆ ในโรงงาน ในเนื้อแห้ง ผักแห้ง อาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็งซึ่งก็คือซากพืชซากสัตว์ตาย ที่ไม่รู้ตายมากี่เดือนกี่ปีแล้ว แม้จะไม่โบราณขนาดที่กลายเป็นฟอสซิล แต่ความสดใหม่ซึ่งควรจะเป็นสาระสำคัญของความเป็นอาหารไม่มีเหลืออยู่เลย แต่เมื่อถูกเคล้าผงชูรสเข้าไป ก็สามารถขึ้นห้างแล้วย้อมกลับเข้าปากของผู้บริโภค

ราวกับว่าซากที่เกือบจะเป็นฟอสซิลนั้นมีรสชาติเอร็ดอร่อยชวนกินเสียเต็มประดา
ปวดศีรษะและปวดหัวไมเกรน ฤทธิ์ยาสั่งจากผงชูรส

"ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกฤทธิ์ยาสั่งจากผงชูรสทำให้ปวดหัว" นายรอยด์เล่าให้ฟังจากองค์กร NoMSG

"ผมอายุ 49 ปี รับพิษจากสารตัวนี้มาตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยม ผมต้องทนทรมานจากอาการปวดหัวมา 20 กว่าปี จนกระทั่งไปเรียนวิชาไคโรแพร็กติกที่โตรอนโต และเพื่อนร่วมชั้นของผมได้ช่วยกันหาสาเหตุจนรู้ชัดว่ามาจากเจ้าผงชูรสตัวนี้ ก่อนหน้านี้ผมได้ลองวิธีรักษาทุกรูปแบบก็ไม่หาย ท้ายที่สุดเพียงแต่หลีกเลี่ยงการกินผงชูรส อาการก็หายเป็นปลิดทิ้ง...หลังจากนั้นผมได้ทำงานวิจัยด้วย ผมคิดว่าอาการไมเกรนที่เป็นกันเยอะแยะในผู้คนทุกวันนี้ มีอยู่ไม่น้อยเลยที่วินิจฉัยผิด แท้ที่จริงเป็นอาการต้องพิษผงชูรสนั่นเอง ผงชูรสนอกจากเข้าไปทำหน้าที่เป็นสารสื่อนำประสาท ยังไปทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะไปกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินออกมาก พอน้ำตาลต่ำก็จะเกิดอาการปวดหัว คล้ายๆ กับคนที่ไวต่อแอลกอฮอล์ พอกินเหล้าโดยที่ท้องว่าง สักพักก็จะเกิดอาการปวดหัวได้"

ขณะที่ปวดหัวกล้ามเนื้อต้นคอจะไวมาก มันจะเกร็งตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณหนังศีรษะและท้ายทอยน้อยลง ยิ่งเกิดอาการปวดมากขึ้น บางคนมีจุดไวต่อความปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อหน้าลำคอด้วย

ครับ นี่เป็นผลร้ายประการหนึ่งที่พบบ่อยในคนทั่วโลกที่ปวดหัวโดยไม่ปรากฏสาเหตุ มันอาจสืบเนื่องกับผงชูรสด้วยประการฉะนี้ คนไทยเป็นโรคปวดหัวและไมเกรนกันมากมาย ลองละเลิกผงชูรสจริงๆ สักสัปดาห์เดียว ก็รู้ผลแล้ว
แก้ปวดหัวจากผงชูรส
วิธีแก้อาการนี้ที่รวดเร็ว ในกรณีที่ยังไม่ทันปวดมาก ให้รีบเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด อาจดื่มน้ำผลไม้เข้าไปสัก 1-2 แก้ว ตามด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปังโฮลวีต

ถ้าเป็นคนไทยน่าจะเป็นข้าวต้มข้าวกล้องสักชาม ก็ช่วยได้ บางคนจำเป็นต้องใช้แอสไพริน หรือยาแก้อักเสบที่ไม่มีสตีรอยด์ (NSAID) และอีกวิธีหนึ่งคือพอโดนผงชูรสแล้วเกิดอาการ ให้รีบสวนกาแฟขับพิษโดยเร็วก็พอช่วยได้ ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะตาสว่างภายหลังหนูญี่ปุ่นตาบอดกันเสียที

ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nacl&month=10-10-2005&group=12&gblog=4

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เครือข่ายผู้ประกอบการยุคใหม่ ใส่ใจสังคม

บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ร่วมกับ สวทช. ที่วัดท่าพง สระบุรี
ทำกิจกรรม ทำความสะอาดวัด ล้างห้องน้ำ และปลูกต้นไม้บริเวณวัด
พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม ด้วยการอาราธนาศีล เจริญภาวนา บำเพ็ญตน
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ กำหนดจิตรู้ถึงการเต้นของหัวใจ
สปาหัวใจ
โดยพระมหาไตรภูมิ ปญฺญาวชิโร และ พระทินวัฒน์ จนฺทปญฺโญ
ศึกษาธรรมชาติสวยๆ ไหว้พระพุทธฉายด้วยจิตใจเบิกบาน
ธรรมดี ทำได้ ด้วยกรรมดี

คิดดี ทำดี มีความสุข

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Kuu Ne อีกก้าวหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหาร

Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรส หอมหัวใหญ่ เพื่อสุขภาพ ใช้แทนผงชูรส และน้ำสต๊อก ด้วยปราศจากเนื้อสัตว์ ผงชูรส สารเคมีปรุงแต่งกลิ่น สี รส และสารป้องกันการเกาะตัว ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ มีประโยชน์ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ และสารก่อมะเร็ง อนุสิทธิบัตรเลขที่ 6247 ได้รับการตอบรับชนิดกิโลกรัม จากอุตสาหกรรมอาหาร ขนมขบเคี้ยวอบกรอบ ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล และสถานปฏิบัติธรรม ด้วยผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพ ห่วงใยครอบครัว และคนที่คุณรัก




 
 คูเน่ ... ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคุณค่าดีๆคู่สุขภาพ ...ลูกค้าคุณ ลูกค้าเรา คุณยิ้ม เรายิ้ม ... คูเน่ โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว