ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แพทย์อเมริกันชี้ว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยให้ห่างไกลจากโรคอัลไซม์เมอร์ส


แพทย์อเมริกันชี้ว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยให้ห่างไกลจากโรคอัลไซม์เมอร์ส



บรรดานักวิจัยต่างกำลังศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคอัลไซม์เมอร์สกันมากขึ้นในปัจจุบันและพวกเขาพบว่าเช่นเดียวกับโรคหัวใจ อาหารและวิถีชีวิตมีผลต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมประเภทนี้

ด็อกเตอร์นีล บาร์นาร์ด ผู้เขียนหนังสือเรื่องอาหารที่ดีสำหรับสมอง หรือ Power Foods for the Brains กล่าวในรายงานที่ตีพิมพ์ทางหน้าเวปไซท์ wtop.com ว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่เรารับประทานกับสุขภาพของสมองเกี่ยวข้องกันอย่างมากเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสุขภาพของหัวใจ


ทั้งในเรื่องของสุขภาพสมองและสุขภาพหัวใจ คนเราจำเป็นต้องการควบคุมการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันเทียมและควรเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดขาวและถั่วชนิดต่างๆ
ด็อกเตอร์บาร์นาร์ด ประธานคณะกรรมการแพทย์ Physician’s Committee for Responsible Medicine ประจำที่กรุงวอชิงตัน กล่าวว่าหากเราระมัดระวังเรื่องลักษณะอาหารที่เรารับประทานและวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพอนามัย เราจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซม์เมอร์สได้ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าคุณอาจจะมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ก็ตาม
เขากล่าวว่าให้รับประทานอาหารที่มีวิตมินบีสูงเพราะช่วยให้สมองแข็งแรง อาหารเหล่านี้ได้แก่ผักใบเขียวที่มีสารโฟลิคและกล้วยที่มีวิตมินบี 6 สูง

ส่วนผลไม้จำพวกแบรี่สี่เข้มและองุ่นก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกับถั่วชนิดต่างๆและเมล็ดพืชที่มีวิตมินอีสูง อาหารชนิดอื่นๆที่มีวิตมินอีสูงรวมทั้งผักโขม มะม่วงและหัว sweet potatoes
ด็อกเตอร์บาร์นาร์ดกล่าวว่าเม็ดวิตมินอีเสริมแบบแคปซูนไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบตามปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่เขาเน้นว่าทุกคนควรรับประทานวิตมินบี 12 แบบเม็ดเสริมเพราะวิตมินตัวนี้ร่างกายดูดซึมจากอาหารค่อนข้างยาก
วิธีปกป้องสุขภาพสมองอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือการหลีกเลี่ยงสารโลหะหนักที่ปะปนในอาหารและเครื่องดื่ม

ด็อกเตอร์บาร์นาร์ดกล่าวว่าโรคอัลไซม์เมอร์สเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยมากที่สุดและเกิดการเกาะตัวของคราบในสมองที่มีส่วนประกอบจากธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และอะลูมีเนียม
เขากล่าวว่าเราควรเลิกใช้กะทะเหล็ก เปลี่ยนเป็นกะทะสแตนเลทแทนและกรองน้ำดื่มที่มาไหลผ่านท่อทองแดง และควรตรวจเช็คดูว่าส่วนประกอบของผงแบคกิ้งโซดามีส่วนผสมของอะลูมีเนียมหรือไม่
นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยป้องกันอาการสมองเสื่อมแบบอัลไซม์เมอร์สได้ด้วย ด็อกเตอร์บาร์นาร์ด

กล่าวว่าการวิจัยชี้ว่าคนที่ออกกำลังด้วยการเดินเร็ว 3 หนต่อสัปดาห์จะมีความทรงจำที่ดีกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย

การใช้ความคิดเช่นการเล่นเกมส์สร้างคำ หรือการใช้เวลาว่างด้วยการไปเรียนเล่นเกมส์ฝึกสมองก็ช่วยให้สมองของคนเราแข็งแรงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าหากคุณต้องการป้องกันตัวเองจากโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซม์เมอร์สคุณต้องต้องเริ่มปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะเสียแต่วันนี้โดยไม่ต้องรอให้เข้าสู่วัยที่สูงขึ้น

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผงชูรส ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ ?


ฉลาดเลือก ฉลาดบริโภค ด้วยนวัตกรรม ผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ปลอดสารเคมี ผลิตจากธรรมชาติ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ  มีจำหน่ายแล้วที่ Golden Place, Lemon Farm, Central Food Hall, Tops Market ทุกสาขา แคทตาล๊อค Friday และร้านค้าอาหารสุขภาพ
ผลิตและจำหน่ายโดย บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อ คมชาญ 086-791 7007
www.ptpfoods.comwww.facebook.com/kuunepage


ผงชูรส ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ ?

ด้วยชีวิตในสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้ใครหลายคนหันมารับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรือในโรงแรม ซึ่งการกินข้าวนอกบ้านนั้นทำให้สะดวก รวดเร็ว เลือกกินอะไรก็ได้ตามใจชอบ แถมไม่ต้องมานั่งล้างจานอีก แต่ความสบายก็ต้องแลกกับข้อเสียที่ตามมา คือ เราไม่มีทางรู้เลยว่าเค้าจะเอาอะไรมาให้เรากินบ้าง

เพื่อความอร่อยทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ แน่นอนว่าหนึ่งในเครื่องปรุงนั้นก็คือ ผงชูรส นั่นเอง แทบจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำอาหารเลยทีเดียว มีนักวิชาการบางท่านได้บอกไว้ว่า ปริมาณที่เหมาะสมของการใช้ผงชูรส คือ ประมาณปลายช้อนเท่านั้น แต่เท่าที่เคยเห็นแม่ครัวส่วนใหญ่ก็ตวัดกันเป็นช้อนๆ แน่นอนว่าหากกินเรื่อยๆ สะสมไปในระยะยาวเป็นอันตรายแน่นอน

ผงชูรส คือ สารเคมีชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท (MSG) รูปร่างภายนอกเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น โดยโมโมโซเดียมกลูตาเมทเป็นเกลือของกรดกลูตามิก ซึ่งกรดอะมิโนชนิดนี้ก็เป็นองค์ประกอบที่อยู่ในโปรตีนทั่วไปทั้งจากพืชและสัตว์

จุดเริ่มต้นของ "ผงชูรส" มาจากประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการค้นพบรสชาติที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเล เรียกว่า รสอูมามิ หรือ 
รสอร่อย ซึ่งค้นพบมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว หลังจากนั้นก็เริ่มมีการผลิตผงชูรสในระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ในภายหลังได้เปลี่ยนทั้งวัตถุดิบและวิธีการผลิต ปัจจุบันผงชูรสผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง ผ่านกระบวนการทางเคมีหลายขั้นตอนทั้งหมักและใช้สารเคมีหลายตัว เพราะฉะนั้นกินเข้าไปมากๆ เป็นอันตรายแน่นอน 
แม้ว่าส่วนประกอบหลักจะมาจากธรรมชาติก็ตาม

ผงชูรสช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ ?

จริง ๆ แล้วผงชูรสไม่ได้ช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นเลย เพราะผงชูรสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร และไม่มีรสชาติเป็นของตัวเอง เหมือนน้ำปลา น้ำตาล แต่ที่เรารู้สึกอร่อยขึ้นเพราะ คุณสมบัติของมันจะไปกระตุ้นประสาทในปากและลำคอ กระตุ้นต่อมรับรสที่ลิ้นให้ขยายตัวจึงรับรสได้ไวกว่าปกติ เวลากินจะช่วยให้รสต่างๆ ค้างอยู่ในปากนานขึ้นกว่าเดิม เราจะรู้สึกว่ารสชาติมันกลมกล่อมขึ้นนั่นเอง

การรับผงชูรสเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ส่งผลเสียหลายอย่าง ในระยะสั้นที่เห็นผลได้ทันทีก็คือ จะรู้สึกลิ้นชา หิวน้ำมากๆ อาการนี้เกิดขึ้นได้บ่อยๆ แต่หากเกิดแพ้หรือกินมากเกินไปจนที่ร่างกายจะรับได้ก็ยังมีอาการอื่นๆ อีก เช่น ร้อนที่หน้า แน่นหน้าอก ปวดหัว อยากอาเจียน มีผื่นขึ้น หรือไมเกรนขึ้นได้เลยทีเดียว 

นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อระบบประสาทส่วนอื่นๆ ในร่างกาย ไล่ตั้งแต่ระบบสมอง ระบบควบคุมน้ำตาล ระบบสมดุล
เคยมีการทดลองในหนูเพื่อตรวจสอบอันตรายจากผงชูรส พบว่าถ้าให้ผงชูรสในปริมาณมาก คือ 1 กรัม/ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำลายสมองของหนู 100% แต่ถ้าปริมาณผงชูรสลดลงเหลือ 0.5 สมองจะถูกทำลายครึ่งนึง และถ้าลดลงเหลือ 0.25 จะไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้น 

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็คงไม่มีใครอยากรับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสแล้วใช่มั๊ย แต่ในชีวิตประจำวันเราเลี่ยงค่อนข้างยาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารตามร้านต่างๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือแม้แต่ขนมคบเคี้ยว เพราะฉะนั้นทางเลี่ยงง่ายที่สุดคือ ถ้ามีโอกาสก็ลองทำกับข้าวทานเองที่บ้าน แล้วลองไม่ใส่ผงชูรสดูบ้าง ลองเปลี่ยนมุมมองใหม่มาทานอาหารที่อาจจะไม่อร่อยที่สุด แต่ปลอดภัยที่สุดกันดู

ที่มา : http://vcharkarn.com/varticle/44373

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นักวิจัยอเมริกันชี้ว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดอุดตันและสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง



ทีมนักวิจัยอเมริกันเปิดเผยว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจะหายใจเอาอากาศที่มีมลพิษเข้าไปในระดับสูงทำให้มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันเร็วขึ้นกว่าเดิม เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง เมื่อเทียบกับคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อยว่า

โรคหลอดเลือดอุดตันเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตหลักทั่วโลก เป็นเหตุให้เกิดอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหากหลอดเลือดเกิดอุดตันหรือชิ้นส่วนของก้อนที่อุดตันเส้นเลือดเกิดแตกออกเป็นชิ้นๆแล้วเข้าไปในสมองและทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน
 
ทีมนักวิจัยทำการศึกษาบทบาทของมลพิษทางอากาศต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันด้วยการติดตามดูสุขภาพของผู้ใหญ่เกือบ 5,400 คน ที่อาศัยในเขตเมืองใหญ่หกเมืองในสหรัฐ ผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมดไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดอุดตันมาก่อนหน้าและเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องนี้ครั้งใหญ่ในสหรัฐซึ่งเรียกว่าการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคหลอดเลือดอุดตันกับมลพิษทางอากาศในกลุ่มคนจากหลากหลายเชื้อสาย หรือเรียกสั้นๆว่า MESA (the Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis and Air Pollution)
 
ในช่วงระหว่างปีพุทธศักราช 2543-2548 ทีมนักวิจัยทำการตรวจร่างกายผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละคนด้วยการทำอัลตร้าซาวด์ภายนอกร่างกาย และทำการตรวจซ้ำอีกครั้งสามปีให้หลังเพื่อวัดดูความหนาของสิ่งที่เกาะติดในผนังหลอดเลือด หากหนาขึ้น แสดงว่าผู้เข้าร่วมการศึกษามีอาการหลอดเลือดเริ่มอุดตันแม้ว่าก่อนการศึกษายังไม่มีอาการโรคหัวใจก็ตาม
 
จากการวิเคราะห์ผลการตรวจอัลตราซาวด์ ทีมนักวิจัยพบว่าผนังหลอดเลือดของคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงเริ่มหนาขึ้นมากกว่าคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมลพืษทางอากาศน้อยกว่า คุณซาร่า อาดาร์ นักระบาดวิทยาที่ภาควิชาแพทยศาสตร์ University of Michigan กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าผลการศึกษานี้เน้นย้ำผลการศึกษาเรื่องนี้ที่จัดทำก่อนหน้า
 
คุณซาร่า อะดาร์ นักวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษาชิ้นก่อนหน้านี้ที่จัดทำในกลุ่มคนที่อาศัยในพื้นที่มลพิษทางอากาศสูงกับคนในพื้นที่ที่มลพิษทางอากาศต่ำ ก็ชี้ว่าคนที่อาศัยในพื้นที่มลพิษทางอากาศสูงมีโอกาสเกิดอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์
 
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอากาศที่มีฝุ่นผงคาร์บอนดำขนาดเล็กมากปะปนอยู่ปริมาณสูง เป็นฝุ่นผงดำจากควันเสียรถบัสและควันเสียต่างๆในพื้นที่เขตเมืองทั่วโลกทำให้เกิดอาการอักเสบนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ
 
คุณอาดาร์ นักระบาดวิทยากล่าวว่าปกติผู้คนจะได้รับคำแนะนะให้อยู่ในบ้านไม่ออกไปไหนมาไหนในวันที่มีปริมาณมลพิษในอากาศสูง แต่เธอเห็นว่าแพทย์ควรพุดคุยเรื่องมลพิษทางอากาศกับผู้ป่วยของตนเหมือนกับคำถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และลักษณะนิสัยทางโภชนาการของผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคอ้วน
 
เธอกล่าวปิดท้ายรายงานผู้สื่อข่าววีโอเอว่าแพทย์ควรถกเรื่องมลพิษทางอากาศกับผู้ป่วยโดยสอบถามว่าอาศัยอยู่ในเขตที่มีมลพิษสูงหรือไม่ตลอดจนระยะเวลาการอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้นหรือไม่
ที่มา : http://www.voathai.com/content/air-pollution-heart-disease-tk/1661184.html

สนับสนุนโดย Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว
www.ptpfoods.com
www.facebook.com/kuunepage




วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อร่อยเลิศ กับ อร่อยล้ำ อะไรคือ อร่อยอริยะ





Kuu Ne คูเน่ ไม่ถึงกับอร่อยเลิศตามแบบปรุงแต่งสารเคมีที่กินกัน แต่ Kuu Ne คูเน่ อร่อยล้ำ...ด้วยคุณค่า
แบบที่เรียกว่า อร่อยอริยะ ... คุณรู้ คุณลิ้ม สัมผัสคุณค่าด้วยตัวคุณ ครอบครัวคุณ คนที่คุณดูแลและห่วงใย

 ด้วย Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว
สนใจติดต่อ คมชาญ 086-791 7007 


Kuu Ne คูเน่ สนับสนุน ... ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค



***ตื่นตัวดูแลไต ก่อนจะสายไป***

ไต (Kidney) เป็นอวัยวะในร่างกายอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง บริเวณบั้นเอว มีอยู่สองข้าง รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย , ควบคุมสมดุล น้ำ เกลือ และแร่ธาตุอื่นๆ , สร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เช่น ในขบวนการสังเคราะห์วิตามินดี ช่วยในการควบคุมแคลเซียมและฟอสฟอรัส, Erythropoietin ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงและ renin

ในการควบคุมความดันโลหิต ไตจะ ทำหน้าที่กรองของเสียจากร่างกาย ในหนึ่งวันไตต้องกรองเลือดมากถึง 180 ลิตร หรือ เลือดในร่างกายเราต้องกรองผ่านไตถึงวันละ 50 ครั้ง และช่วยควบคุมระดับน้ำในร่างกาย

โดยการขับน้ำส่วนเกินออกมาเป็นปัสสาวะ คอยควบคุมระดับเกลือแร่ต่างๆในร่างกาย ถ้าเกลือแร่เสียสมดุล เซลล์หรืออวัยวะต่างๆจะไม่สามารถทำงานได้ หากผิดปกติมากๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้ ช่วยร่างกายควบคุมความดันโลหิต ผู้ป่วยโรคไตมักมีความดันโลหิตสูงยากต่อการควบคุม นอกจากนี้ไตยังช่วยร่างกายในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์ วิตามินดี และช่วยร่างกายในการสร้างเลือด

โดยการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง อีกด้วย โรคไตชนิดเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีการทำงานของไตค่อยๆลดลงอย่างช้าๆในเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี จนกระทั่งสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรโดย มีสาเหตุมาจากการเสื่อมตามอายุหรือมีสาเหตุอื่นที่พบได้บ่อย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตัวเอง ถุงน้ำในไตเป็นต้น

ปัจจุบันมีการแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังออกเป็น 5 ระยะตามอัตราการกรองของไต ซึ่งวิธีการคำนวนมีหลายวิธี ปัจจุบันนิยมใช้ CKD EPI Creatinine เนื่องจากมีความถูกต้องแม่นยำสูง ในปีหนึ่งมีผู้ป่วยเป็นจำนวนนับล้าน ทั่วโลกที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 8-10 ของกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ มักจะมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งของไต ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุทั่วโลก

โดยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ทำให้สูญเสียโอกาสสำคัญในการรักษาโรค ดังนั้น การตรวจหาโรคไตจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราสามารถตรวจโดย การตรวจเลือด เพื่อดูค่า ครีเอตินีน(Creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่ไตขับออกมาในปัสสาวะ เพื่อคำนวณค่า การทำงานของไต (estimated Glomerular Filtration Rate) และ ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urinalysis) และตรวจปัสสาวะเพื่อวัดปริมาณโปรตีน/ไข่ขาวปัสสาวะ (Urine microalbumin to creatinine ratio) โดยกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจหาโรคไต ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่มี โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังแพทย์จำเป็นต้องได้ประวัติครบถ้วนเนื่องจากการวินิจฉัยต้องอาศัยระยะเวลาที่ป่วย อย่างน้อยสามเดือน ร่วมกับอัตราการกรองของไตลดน้อยกว่า 60 มล/นาที/1.73 ตารางเมตร หรือมีหลักฐานอื่นที่แสดงว่าไตมีการถูกทำลาย เช่น ผลชิ้นเนื้อของไต หรือ โปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือ ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดที่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือ มีภาพถ่ายทางรังสีพบว่า ไตมีขนาดเล็ก มีถุงน้ำ เล้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ เป็นต้น

ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ อาการของโรคไตเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 1 , 2 และ 3 มักมีอาการแสดงเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถสังเกตได้เบื้องต้นดังนี้

1.บวม มักจะบวมทั้งตัว ระยะแรกอาจมีเพียงการบวมที่หนังตา และใบหน้า อาจจะรู้สึกว่าแหวนหรือรองเท้าคับขึ้น ต่อมาจะมีการบวมที่ขาและเท้าทั้งสองข้าง ถ้าบวมไม่มากอาจสังเกตไม่เห็น ลองใช้นิ้วกดที่หน้าแข้งสักพักแล้วปล่อยจะมีรอยบุ๋มอยู่แสดงว่า บวม

2.ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ

3.ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะคนเราจะมีสีเหลืองใส อาจมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อยถ้าดื่มน้ำน้อย ถ้าปัสสาวะที่ออกมามีสีออกแดงหรือเป็นแบบสีน้ำส้างเนื้อแสดงว่ามีเลือดออกจากทางเดินปัสสาวะ คนปกติไม่ควรมีปัสสาวะเป็นเลือด ในผู้ป่วยหญิงการเก็บปัสสาวะต้องเก็บหลังหมดประจำเดือน 5 – 7 วัน

4.ปัสสาวะบ่อย คนเราแต่ละคนจะมีความถี่บ่อยของการปัสสาวะแตกต่างกัน ขึ้นกับการฝึกหรือนิสัยส่วนตัว รวมทั้งปริมาณน้ำที่ดื่มและน้ำที่สียไปทางเหงื่อกับอุจจาระ การที่มีปัสสาวะบ่อยกว่าที่เคยเป็นอยู่ ในระยะเริ่มต้นอาจสังเกตได้ไม่ชัดเจน อาการที่ต้องนึกถึงว่ามีปัสสาวะบ่อยผิดปกติก็คือ การตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน

5.ปัสสาวะน้อยลง เมื่อคนเราดื่มน้ำมากปริมาณปัสสาวะมักจะมากขึ้น เมื่อดื่มน้ำน้อยปัสสาวะก็มักจะน้อยลงเช่นกัน แต่หากดื่มน้ำมากแต่ปัสสาวะไม่ออกมากตามหรือปัสสาวะไม่ออกเลย มักเกิดจากการทำงานของไตเสียไป ดังนั้นเมื่อสังเกตว่าปัสสาวะน้อยลงให้ลองรับประทานน้ำเพิ่มขึ้นและสังเกตว่ามีปัสสาวะมากขึ้นหรือไม่ หากยังคงมีปัสสาวะออกน้อยถึงแม้จะดื่มน้ำมากขึ้นแล้วควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาโดยทันที

อาการดังกล่าวจะรุนแรงขึ้นในระยะที่ 4 และ 5 ร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ซีด อ่อนเพลีย คัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีภาวะน้ำเกิน สับสน เป็นต้น

แนวทางการรักษาโรคไต จะใช้ยากลุ่มที่ block Renin-Angiotensin System เช่น ยากลุ่ม ACE Inhibitors, ARBs ที่มีการใช้มากกว่า 10 ปี ในการรักษา โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการที่จะชะลอโรคไตให้เสื่อมช้าลง สามารถทำได้โดย ควบคุมความดันโลหิต โดยให้ ความดันโลหิตลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติในระดับ 130/80 มม. ปรอท ลดโปรตีนในปัสสาวะให้น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อวัน โดยใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEI, ARB ถ้าเป็นเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้น้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมความเข้มข้นของเลือดไม่ให้จางจนเกินไป

ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะ เกลือ หรือ ความเค็มของอาหาร อาหารไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หยุดสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5-2 ลิตร ต่อวัน หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs, COX-2 Inhibitorsหลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรและถ้าไม่สามารถชะลอโรคไตเรื้อรังได้ ควรเตรียมการรักษาด้วยวิธี การฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายไตตามความเหมาะส

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ/by สาระแห่งสุขภาพ


โซเดียมสูงไม่ใช่มากับเกลืออย่างเดียว ผงแป้ง ผงปรุง ผงฟู ผงชูรส สารปรุงแต่งกลิ่นสีรส  สารกันบูด สารป้องกันการเกาะตัว ฯ ล้วนแต่มีโซเดียมแฝงอยู่ http://www.ptpfoods.com/2013/04/blog-post_23.html 



แนะนำ งานวิจัย ม.เกษตรฯ คิดค้น ได้รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมผงปรุงครบรสหอมหัวใหญ่ จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพ ปลอดสารเคมี โซเดียมต่ำกว่า 710 mg % (ท้องตลาดอยู่ที่ 1,500 - 2,450 mg% ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค มาดูแลสุขภาพคุณ คนที่คุณรักและห่วงใย กับ Kuu Ne คูเน่ ... โภชนาการคุณค่า เพื่อชีวิตที่ยืนยาว หาซื้อได้ที่ Central Food Hall, Tops Market, Tops Super, Lemon Farm, Golden Place และร้านค้าสุขภาพทั่วไป
(อนุภาคหอมหัวใหญ่เกาะตัวกันตามธรรมชาติโดยปราศจากสารเคมี ผลิตจากธรรมชาติ 100%)

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กรมอนามัยพร้อมรับไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้นในอีก 8 ปีข้างหน้า




สธ. - กรมอนามัย เผยผู้สูงอายุไทยมีมากที่สุดในอาเซียน และปี 2564 จะเข้าสังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น เตรียมพร้อมระดมบุคลากรด้านสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย รับมือและจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในการสัมมนาวิชาการงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติ “ผู้สูงวัยมุ่งสู่...อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว”

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1/2556 เรื่อง “ผู้สูงวัยมุ่งสู่...อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” ณ ร.ร.เอเชียแอร์พอร์ต จ.ปทุมธานี ว่า ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุของโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและขณะนี้โลกก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากประชากรผู้สูงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ขณะที่จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2555 พบว่าโลกมีประชากรจำนวน 7,058 ล้านคน มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 565 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8 ขณะที่ผู้สูงอายุของประเทศไทยมีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึงร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศอาเซียน นอกจากนี้ยังพบว่าความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ทำให้อัตราการเกิดน้อยลง ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น คาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Age Society และจากนั้นอีกเพียง 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด”

นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า จากรายงานการประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545-2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 ระยะที่ 2 พ.ศ.2550-2554 โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) พบว่าประชากรมีการเตรียมความพร้อม เพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพเพียงร้อยละ 34.2 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 18.7 จากเป้าหมายร้อยละ 30 เป็นสมาชิกชมรมและร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 23.7 จากเป้าหมายร้อยละ 25 ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 29.9 จากเป้าหมายร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปีเพียงร้อยละ 56.7 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่ผ่านการประเมินตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ

“ปัญหาและสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม กรมอนามัย จึงต้องเร่งส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี โดยการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้ผู้สูงอายมีสุขภาพแข็งแรง ชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้สามารถรักษาตนเอง และบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้นได้จากการพิการหรือทุพพลภาพ”นพ.เจษฎา กล่าว.- สำนักข่าวไทย

ที่มา :  http://www.mcot.net/site/content?id=50f52eed150ba0cc5a000048#.UYtW4LWl66M

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคเก๊าท์ กับอาหารที่ควรควบคุม

***โรคเก๊าท์ กับอาหารที่ควรควบคุม***



โรคเก๊าท์ เกิดจากความผิดปรกติของกรดยูริค (Uric acid) คือกรดชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการเผาผลาญของสารพิวรีน ถ้ามีมาก เกินไปจะเก็บสะสมตามข้อต่างๆ จนอาจจะเป็นโรคเก๊าท์ได้ ชาย ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

**อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มก.ต่ออาหาร 100 ก.)
1.นมและผลิตภัณฑ์จากนม
2.ไข่
3.ธัญญพืชต่าง ๆ
4.ผักต่าง ๆ
5.ผลไม้ต่าง ๆ
6.น้ำตาล
7.ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด)
8.ไขมัน

**อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มก.ต่ออาหาร 100 ก.)
1.เนื้อหมู
2.เนื้อวัว
3.ปลากระพงแดง
4.ปลาหมึก
5.ปู
6.ถั่วลิสง
7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ
9.ข้าวโอ๊ต
10.ผักโขม
11.เมล็ดถั่วลันเตา
12.หน่อไม้

**อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มก.ขึ้นไป) >>อาหารที่ควรงด

1.หัวใจไก่
2.ไข่ปลา
3.ตับไก่
4.มันสมองวัว
5.กึ๋นไก่
6.หอย
7.เซ่งจี้(หมู)
8.ห่าน
9.ตับหมู
10.น้ำต้มกระดูก
11.ปลาดุก
12.ยีสต์
13.เนื้อไก่,เป็ด
14.ซุปก้อน
15.กุ้งชีแฮ้
16.น้ำซุปต่าง ๆ
17.น้ำสกัดเนื้อ
18.ปลาไส้ตัน
19.ถั่วดำ
20.ปลาขนาดเล็ก
21.ถั่วแดง
22.เห็ด
23.ถั่วเขียว
24.กระถิน
25.ถั่วเหลือง
26.ตับอ่อน
27.ชะอม
28.ปลาอินทรีย์
29.กะปิ
30.ปลาซาดีนกระป๋อง

*การดูแลตนเองสำหรับผู้มีกรดยูริคสูง*

-ให้รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ โดยงดอาหารที่มีพิวรีนสูงดังกล่าวข้างต้นและอาหารหมักที่ใช้ยีสต์เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว

-ผัก รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย ไม่รับประทานส่วนยอดผัก และหลีกเลี่ยงหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม

-รับประทานเต้าหู้เป็นประจำ เพราะเต้าหู้จะช่วยขับยูริคได้

-ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง

-ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ

-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น

-ส่วนยอดของผักต่าง ๆ เ่ช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีน ก็เป็นอาหาร ที่ควรละเว้น

-ผลของพืชไม่ได้ห้าม แต่เมล็ดพืชควรงด รวมทั้งงาด้วย ให้สังเกตว่าอะไรที่สามารถงอกได้จะ มีการสะสมสารพิวรีนแม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม และเมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ

-ถั่วเมล็ดแห้งทั้งหลายมีสารยูริกสูงปานกลาง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่ในที่นี้คุณดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมาก ประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว ถ้าอาการ ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องงดสักระยะหนึ่งก่อน ให้เวลาร่างกายขับยูริกออกก่อน ปกติเมื่อปรึกษาแพทย์ๆ จะให้ยาขับยูริก และอาการจะดีขึ้นใน 3-4 วัน

ที่มา : guru.google.co.th/by สาระแห่งสุขภาพ


อ้างอิง  มีผู้ป่วยโรคเก๊าท์ โทรมาขอบคุณที่ทำให้เขามีเรี่ยวมีแรงขึ้น แต่ยังไม่ดีเท่าที่กินอาหารได้อร่อยขึ้นจากเดิมไม่มีรสชาติใดเลยมานานแล้ว กินอะไรก็มีผลข้างเคียงให้ให้เท้าบวม ปวดข้ออย่างทรมานมากๆ
สุดท้ายทางโรงพยาบาลให้ลองใช้ Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสหอมหัวใหญ่ จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพ โซเดียมต่ำ ทำให้ชีวิตเขามีความสุขมากขึ้น ... ยินดีด้วยกับชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุข


โรคใหม่ๆเกิดขึ้นมากพอๆกับความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ หวนคืนสู่ธรรมชาติเฉกเช่น สูงสุดคืนสู่สามัญ คิดเสียว่าไม่มีอะไรจีรัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ วางจิตที่ตรงกลาง สงบที่สุด การบอกให้รู้ คิดดี ทำดี มีความสุข ก็เป็นหนึ่งใน ... ธรรมทาน  

www.ptpfoods.com, www.facebook.com/kuunepage

กับดักสุขภาพ 3 ประการ มากไปก็ไม่ดี! น้อยไปก็ไม่ดี!


กับดักสุขภาพ 3 ประการ มากไปก็ไม่ดี! น้อยไปก็ไม่ดี!

   

สวัสดีค่ะผู้ที่รักสุขภาพทุกๆท่านหลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ-เช่น-การดื่มน้ำควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ-8-แก้ว บางคนกลัวคอเลสเตอรอลจนไม่กล้ากินไข่แต่หันไปดื่มนมแทน การนอนดึกตืนสาย และอีกหลายๆความเชื่อ แท้จริงแล้วความเชื่อเหล่านี้ล้วนเป็น ” กับดักสุขภาพ “
นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระแสการตื่นตัวเรื่องสุขภาพของคนไทยมีมากขึ้นแต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องของการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับการปฏิบัติตนซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการหลงเข้าไปใน ” กับดักสุขภาพ “โดยที่เรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้
  • กับดักสุขภาพประการที่ 1
คือ การดื่มน้ำ ซึ่งเชื่อว่ามีคนจำนวนมากยังเข้าใจไม่ถูกต้องก็คือการดื่มน้ำยิ่งมาก ยิ่งดี คนจำนวนไม่น้อยเชื่อกันว่า ให้ดื่มน้ำมากๆ ยิ่งมากยิ่งดี หลายคนถึงกับดื่มน้ำวันละ 3-4 ลิตร บางคนก็ร่ำลือกันว่า หมอจีนสอนให้ตื่นนอนตอนเช้าดื่มน้ำทันที 4 แก้ว เพราะช่วยให้ขับถ่ายดี ก็เลยคิดต่อไปว่า ถ้าดื่มน้ำ 4 แก้วตอนเช้ามีประโยชน์ขนาดนั้น ตลอดทั้งวันก็ควรดื่มให้มากที่สุด จนเรียกได้ว่า ” แค่นดื่ม ” กันเลยทีเดียว
นพ.บรรจบ อธิบายว่าคนที่ดื่มน้ำมากเช่นนี้ นานเข้าจะเกิดอาการขึ้นอย่างหนึ่ง คือ เกิดอาการปัสสาวะมาก ปัสสาวะใส มือเท้าเย็น หนาวง่าย นานเข้าจะเกิดภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง ขาอ่อนแรง และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เหตุผลก็คือ ไตมิใช่เพียงท่อกลวงๆ ที่ปล่อยให้น้ำผ่านไปเฉยๆ แต่ไตมีหน้าที่เก็บรับเอาสิ่งที่ยังเป็นประโยชน์กับร่างกาย ที่ปัสสาวะชะผ่านไป ให้เก็บกลับเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ เกลือแร่ชนิดต่างๆ ไตยังทำหน้าที่ปรับความเข้มข้นของปัสสาวะให้พอเหมาะ ด้วยเหตุนี้การปล่อยน้ำผ่านไตมากๆ ไตจึงต้องทำงานหนัก เสียพลังในการทำงานเยอะ นานเข้าก็เกิดอาการอย่างที่หมอจีนเรียกว่า พร่องพลังไต

 เปรียบเทียบง่ายๆ ว่า เหมือนภูเขาลูกหนึ่ง ที่ปล่อยให้ฝนตกกระหน่ำเอาๆ ฝนย่อมชะเอาฮิวมัสหรือปุ๋ยธรรมชาติที่อยู่บนผิวดินออกไปกับน้ำเสียหมด นานๆ เข้า เขาลูกนั้นก็กลายเป็นเขาหัวโล้น “

แท้ที่จริงวิชาสุขศึกษาบอกว่าดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว แต่ตามปกติเรามีน้ำในมื้ออาหารอยู่แล้ว ถ้าจะหักลบน้ำที่ดื่มในมื้ออาหารออก คนเราก็ควรดื่มน้ำไม่เกินวันละ 4 แก้ว สำหรับคนที่พร่องพลังไตอยู่แล้ว ก็ควรดื่มน้ำไม่เกินวันละ 3 แก้ว จึงจะแก้สถานการณ์ได้
ส่วนการที่หมอจีนบอกว่าให้ดื่มน้ำ 4 แก้วตอนเช้านั้น แท้ที่จริงเพื่อช่วยให้ขับถ่าย เพราะเถ้าแก่ทั้งหลายกินแต่ข้าวขาว กินหมูกินไก่ ผักไม่ค่อยกิน เพราะถือว่าผักเป็นอาหารของคนจน หมอจีนจึงใช้วิธีนี้สอนคนท้องผูก แต่ถ้าเรากินข้าวกล้อง ผักผลไม้มากพอ ก็ไม่จำเป็นต้องแค่นดื่มน้ำเช่นนั้น
  • กับดักสุขภาพประการที่ 2
คือ การนอนดึก ตื่นสาย คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การนอนแม้จะจำเป็น แต่ดึกๆ มักมีเรื่องน่าดูในจอโทรทัศน์ หรือไม่ก็บนจอคอมพิวเตอร์ เลยตากสายตาดูโทรทัศน์ดึกๆ กะว่าตื่นเอาสายๆ ก็ทดแทนจำนวนชั่วโมงการนอนได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงวัยรุ่นที่ต้องรีบไปเรียนหนังสือแต่เช้า หรือวัยทำงานที่ต้องแข่งขันเบียดแทรกตัวเองไปทำงานแต่เช้ามืด
ด้วยเหตุนี้ คนนอนดึก ตื่นเช้ามืด จำนวนชั่วโมงการนอนก็ไม่พออยู่แล้ว สุขภาพย่อมเสียสุดๆ ส่วนคนนอนดึกตื่นสาย ก็ใช่ว่าสุขภาพจะดี นานเข้าสุขภาพก็เสื่อมสุดๆ อีกเหมือนกันเหตุผลเพราะ แท้ที่จริงสัตว์ต่างๆ ล้วนมีโครงสร้างของสรีระร่างกายที่กำหนดว่า สัตว์นั้นเป็นสัตว์กลางวัน หรือสัตว์กลางคืน อย่างค้างคาว นกฮูก แมวเหมียว ต้องถือเป็นสัตว์กลางคืน เพราะมีเรดาร์ มีตาโต เอาไว้ใช้งานตอนกลางคืน แต่คนเราต้องสังกัดเป็นสัตว์กลางวัน
การตากแสงไฟดึกๆ จึงเป็นการรบกวนต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นนายเหนือต่อมฮอร์โมนทั่วร่างกาย มันส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมอง ไปไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ ถ้าต่อมไพเนียลทำงานผิดเพี้ยน ฮอร์โมนทั่วร่างกายก็ผิดเพี้ยนไปด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งของหมอลลิตา สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ซึ่งอาจารย์ร็อกกี้เฟลเลอร์จูงใจให้ทำ ทดลองให้ส่องไฟให้หนูทดลองตลอดคืน ทำอยู่เช่นนั้นหลายๆ วัน ปรากฏว่าหนูทดลองถึงกับแท้งลูก นี่แสดงถึงความสำคัญของต่อมไพเนียลซึ่งถึงกับสร้างความแปรปรวนของระบบฮอร์โมนในร่างกาย เพียงเพราะว่าแสงไฟที่สาดส่องให้อย่างไม่เป็นเวลา
นพ.บรรจบ บอกต่อว่า งานวิจัยอีกชิ้นในสหรัฐฯทดลองในพยาบาลเวรดึก กลุ่มหนึ่งให้ออกเวรแล้วเดินผ่านอุโมงค์มืดๆ ไปเข้านอน อีกกลุ่มให้เดินผ่านแสงตะวันยามเช้า ไปเข้านอน เมื่อเจาะเลือดเปรียบเทียบระดับฮอร์โมนของร่างกาย พบว่าพยาบาลกลุ่มหลังฮอร์โมนแปรปรวนไปหมด ขณะที่กลุ่มแรกฮอร์โมนยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ นี่ก็อิทธิพลของแสงตะวันที่เจ้าตัวรับเข้าไปผิดเวลา
  • กับดักสุขภาพประการที่ 3
คือ กลัวคอเลสเตอรอล จนไม่กล้ากินไข่ แต่หันไปดื่มนมแทน ซึ่งนิตยสาร Time ในอเมริกาตีพิมพ์ตั้งแต่เดือนกันยายน 1999 บอกว่า ” Cholesterol-Good News ” ยืนยันว่า คอเลสเตอรอลในเลือดของคนเรา สร้างจากภายในตัวเราเองถึง 90% มีเพียง 10% ที่เป็นผลกระทบจากคอเลสเตอรอลในอาหาร และวัตถุดิบที่สร้างคอเลสเตอรอลคือกรดไขมันอิ่มตัว ดังนั้น ไข่ซึ่งเป็นแหล่งของคอเลสเตอรอลจึงได้รับการถอดออกจาก Black list ทางโภชนาการที่อเมริกา แต่ตรงกันข้าม แหล่งของกรดไขมันอิ่มตัวหลายอย่างได้รับการบรรจุให้กลายเป็นตัวที่ถูกเพ่งเล็งทางสุขภาพ ตัวสำคัญได้แก่ นม เนย ชีสต์
นพ.บรรจบ บอกต่อว่า ประเทศไทยซึ่งถูกประโคมให้กลัวไข่กันมามากกว่า 10 ปี จนปัจจุบันคนไทยกินไข่เพียง 130 ฟอง/คน/ปี แต่คนไทยดื่มนมกันไม่อั้น เพราะถูกประโคมข่าวว่ายิ่งดื่มนมยิ่งสุขภาพดี ผลปรากฏว่าคนไทยมีโรคไขมันเลือดสูงมากขึ้นๆ ทุกปี รวมทั้งโรคอ้วนทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ไทยมีโรคไขมันเลือดสูง 50% ของประชากรในเมือง แม้แต่เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี พูดง่ายๆ ว่าอยู่ในวัยอนุบาลก็มีไขมันเลือดสูง 25% ของประชากร มาดูอย่างประเทศจีนบ้าง จีนกินไข่มากกว่าเรา คือ 330 ฟอง/คน/ปี กินไข่มากกว่าเรา 3 เท่า แต่คนจีนมีโรคไขมันเลือดสูงต่ำกว่าคนไทย การดื่มนมจึงเป็นกับดักสุขภาพที่ต้องละเลี่ยง
ปัจจุบันทั่วโลกในประเทศที่มีการศึกษาสูง กำลังหันมาส่งเสริมการบริโภคไข่ ลดละการดื่มนม ที่เบลเยียมมีประดิษฐ์กรรมใหม่ เขาสร้างไข่ชนิดใหม่ เรียกว่า ไข่โคลัมบัส ซึ่งเป็นไข่ที่นอกจากกินแล้วคอเลสเตอรอลไม่สูง แต่ไข่โคลัมบัสใช้กระบวนการเลี้ยงไก่ด้วยอาหารพื้นบ้าน ซึ่งเขาถือว่าอาหารพื้นบ้านจะมีสัดส่วนของโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ที่ถูกต้องโดยธรรมชาติ เมื่อมาเลี้ยงไก่ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ไขมันจำเป็นในร่างกายถูกต้องไปด้วย เป็นผลให้กินไข่โคลัมบัสควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกต่างหาก

” ผมเชื่อว่ายังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดและยังถ่ายทอดความรู้ที่ผิดๆนี้ออกไปสู่คนรอบข้างซึ่งหากเราเป็นคนที่ต้องการุรักษาสุขภาพจริงๆควรจะปฏิบัติตนอย่างพอเหมาะพอควรจะดีกว่า “

แหล่งที่มา: ผู้จัดการรายสัปดาห์  http://www.bkkparttime.com

รายงานสุขภาพคนไทย 2555 ความมั่นคงทางอาหาร " เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง "


picture
รายงานสุขภาพคนไทย 2555 
ความมั่นคงทางอาหาร " เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง "

11 ตัวชี้วัดประชากรไทยกับสุขภาพ 
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ


คณะผู้จัดทำรายงานสุขภาพคนไทย ได้จัดทำรายงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณะในประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับสุขภาพในมิติทางร่างกาย จิตใจ สัมคม ปัญญา และวัฒนธรรม ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 9 โดยสุขภาพคนไทย 2555 เล่มนี้ ได้นำเสนอหัวข้อพิเศษประจำฉบับเรื่อง “ความมั่นคงทางอาหาร” ท่ามกลางกระแสความไม่ปลอดภัยในอาหารสารพิษตกค้าง ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนอาหาร ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กลายเป็นปัญหที่ซึมลึกในสังคม และสั่งสมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาสังคมเกิดความวิตกกังวลและหันมาให้ความสำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยในการดำรงชีวิต 

สาระสำคัญของบทความ “ความมั่นคงทางอาหาร” ได้ชี้ให้เห็นถึงระบบการผลิตอาหารที่มั่นคง เกื้อหนุน และรักษาสมดุลกับระบบนิเวศ สามารถเข้าถึงอาหารที่มีอยู่อย่างเพียงพอและพอเพียง สำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศมีคุณภาพของอาหาร ความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศทั้งในภาวะปกติและในยามที่เกิดภัยพิบัติ หรือในกรณีการก่อการร้ายในความมั่นคงทางอาหาร อันนำไปสู่พลังที่จะจุดประกายทางความคิดให้สังคมไทยตื่นตัวในเรื่องของอาหาร เพื่อความไม่ประมาทและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับแผ่นดิน สร้างความตื่นตัวในเชิงนโยบายสาธารณะที่ว่า อาหารที่ผลิตในแผ่นดินไทย “ต้องเพื่อรับใช้คนไทย ไม่ใช่เพื่อคนอื่น” 
จัดทำโดย  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.)
สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)


ที่มา : http://www.hiso.or.th/hiso5/report/report2012T.php