ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กรมอนามัยพร้อมรับไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้นในอีก 8 ปีข้างหน้า




สธ. - กรมอนามัย เผยผู้สูงอายุไทยมีมากที่สุดในอาเซียน และปี 2564 จะเข้าสังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น เตรียมพร้อมระดมบุคลากรด้านสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย รับมือและจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในการสัมมนาวิชาการงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติ “ผู้สูงวัยมุ่งสู่...อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว”

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติ ครั้งที่ 1/2556 เรื่อง “ผู้สูงวัยมุ่งสู่...อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” ณ ร.ร.เอเชียแอร์พอร์ต จ.ปทุมธานี ว่า ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุของโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและขณะนี้โลกก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากประชากรผู้สูงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ขณะที่จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2555 พบว่าโลกมีประชากรจำนวน 7,058 ล้านคน มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 565 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8 ขณะที่ผู้สูงอายุของประเทศไทยมีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึงร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศอาเซียน นอกจากนี้ยังพบว่าความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ทำให้อัตราการเกิดน้อยลง ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น คาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Age Society และจากนั้นอีกเพียง 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด”

นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า จากรายงานการประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545-2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 ระยะที่ 2 พ.ศ.2550-2554 โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) พบว่าประชากรมีการเตรียมความพร้อม เพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพเพียงร้อยละ 34.2 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 18.7 จากเป้าหมายร้อยละ 30 เป็นสมาชิกชมรมและร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 23.7 จากเป้าหมายร้อยละ 25 ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 29.9 จากเป้าหมายร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปีเพียงร้อยละ 56.7 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่ผ่านการประเมินตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ

“ปัญหาและสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม กรมอนามัย จึงต้องเร่งส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี โดยการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้ผู้สูงอายมีสุขภาพแข็งแรง ชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้สามารถรักษาตนเอง และบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้นได้จากการพิการหรือทุพพลภาพ”นพ.เจษฎา กล่าว.- สำนักข่าวไทย

ที่มา :  http://www.mcot.net/site/content?id=50f52eed150ba0cc5a000048#.UYtW4LWl66M

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น