ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคเก๊าท์ กับอาหารที่ควรควบคุม

***โรคเก๊าท์ กับอาหารที่ควรควบคุม***



โรคเก๊าท์ เกิดจากความผิดปรกติของกรดยูริค (Uric acid) คือกรดชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการเผาผลาญของสารพิวรีน ถ้ามีมาก เกินไปจะเก็บสะสมตามข้อต่างๆ จนอาจจะเป็นโรคเก๊าท์ได้ ชาย ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

**อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มก.ต่ออาหาร 100 ก.)
1.นมและผลิตภัณฑ์จากนม
2.ไข่
3.ธัญญพืชต่าง ๆ
4.ผักต่าง ๆ
5.ผลไม้ต่าง ๆ
6.น้ำตาล
7.ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด)
8.ไขมัน

**อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มก.ต่ออาหาร 100 ก.)
1.เนื้อหมู
2.เนื้อวัว
3.ปลากระพงแดง
4.ปลาหมึก
5.ปู
6.ถั่วลิสง
7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ
9.ข้าวโอ๊ต
10.ผักโขม
11.เมล็ดถั่วลันเตา
12.หน่อไม้

**อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มก.ขึ้นไป) >>อาหารที่ควรงด

1.หัวใจไก่
2.ไข่ปลา
3.ตับไก่
4.มันสมองวัว
5.กึ๋นไก่
6.หอย
7.เซ่งจี้(หมู)
8.ห่าน
9.ตับหมู
10.น้ำต้มกระดูก
11.ปลาดุก
12.ยีสต์
13.เนื้อไก่,เป็ด
14.ซุปก้อน
15.กุ้งชีแฮ้
16.น้ำซุปต่าง ๆ
17.น้ำสกัดเนื้อ
18.ปลาไส้ตัน
19.ถั่วดำ
20.ปลาขนาดเล็ก
21.ถั่วแดง
22.เห็ด
23.ถั่วเขียว
24.กระถิน
25.ถั่วเหลือง
26.ตับอ่อน
27.ชะอม
28.ปลาอินทรีย์
29.กะปิ
30.ปลาซาดีนกระป๋อง

*การดูแลตนเองสำหรับผู้มีกรดยูริคสูง*

-ให้รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ โดยงดอาหารที่มีพิวรีนสูงดังกล่าวข้างต้นและอาหารหมักที่ใช้ยีสต์เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว

-ผัก รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย ไม่รับประทานส่วนยอดผัก และหลีกเลี่ยงหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม

-รับประทานเต้าหู้เป็นประจำ เพราะเต้าหู้จะช่วยขับยูริคได้

-ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง

-ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ

-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น

-ส่วนยอดของผักต่าง ๆ เ่ช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีน ก็เป็นอาหาร ที่ควรละเว้น

-ผลของพืชไม่ได้ห้าม แต่เมล็ดพืชควรงด รวมทั้งงาด้วย ให้สังเกตว่าอะไรที่สามารถงอกได้จะ มีการสะสมสารพิวรีนแม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม และเมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ

-ถั่วเมล็ดแห้งทั้งหลายมีสารยูริกสูงปานกลาง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่ในที่นี้คุณดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมาก ประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว ถ้าอาการ ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องงดสักระยะหนึ่งก่อน ให้เวลาร่างกายขับยูริกออกก่อน ปกติเมื่อปรึกษาแพทย์ๆ จะให้ยาขับยูริก และอาการจะดีขึ้นใน 3-4 วัน

ที่มา : guru.google.co.th/by สาระแห่งสุขภาพ


อ้างอิง  มีผู้ป่วยโรคเก๊าท์ โทรมาขอบคุณที่ทำให้เขามีเรี่ยวมีแรงขึ้น แต่ยังไม่ดีเท่าที่กินอาหารได้อร่อยขึ้นจากเดิมไม่มีรสชาติใดเลยมานานแล้ว กินอะไรก็มีผลข้างเคียงให้ให้เท้าบวม ปวดข้ออย่างทรมานมากๆ
สุดท้ายทางโรงพยาบาลให้ลองใช้ Kuu Ne คูเน่ นวัตกรรมผงปรุงครบรสหอมหัวใหญ่ จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพ โซเดียมต่ำ ทำให้ชีวิตเขามีความสุขมากขึ้น ... ยินดีด้วยกับชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุข


โรคใหม่ๆเกิดขึ้นมากพอๆกับความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ หวนคืนสู่ธรรมชาติเฉกเช่น สูงสุดคืนสู่สามัญ คิดเสียว่าไม่มีอะไรจีรัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ วางจิตที่ตรงกลาง สงบที่สุด การบอกให้รู้ คิดดี ทำดี มีความสุข ก็เป็นหนึ่งใน ... ธรรมทาน  

www.ptpfoods.com, www.facebook.com/kuunepage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น