ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชี้เทรนด์โลกอนาคต "อาหาร" และ "ยา" แยกกันไม่ออก


ชี้เทรนด์โลกอนาคต "อาหาร" และ "ยา" แยกกันไม่ออก

   ตัวอย่างนวัตกรรมอาหารที่จะเสนอในงาน FIF 2011

      ชี้เทรนด์โลกอนาคตอีกแค่ 5 ปีข้างหน้า อาหารและ ยาจะเป็นสิ่งแยกกันแทบไม่ออก เพราะอาหารจะไม่มีไว้เพื่อให้กินอิ่มและอร่อยเท่านั้น แต่จะตอบสนองผู้บริโภคคามแนวคิด ป้องกันดีกว่ารักษาพร้อมชี้คนเรามักไม่รู้ตัวว่าขาดสารอาหารในกลุ่มเกลือแร่และวิตามิน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว จึงจำเป็นต้องการกิน อาหารเสริม 
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) มีกำหนดจัดงานประชุมสัมมนาและนิทรรศการนานาชาติด้านอาหารในโลกอนาคต (InnovAsia 2001: Food in the Future: FIF2011) ระหว่างวันที่ 15-17 ก.ย.54 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจนวัตกรรมอาหารจากทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชียรวม 25 คน มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในงาน พร้อมทั้งเผยมุมมองการพัฒนานวัตกรรมอาหารของโลกในศตวรรษที่ 21 อาทิ ตัวแทนจากศูนย์วิจัยอาหารไนโซ่ ประเทศเนเธอร์แลนด์, ตัวแทนจาก บริษัท เซเรบอส แห่งเอเชีย แปซิฟิก และตัวแทนจากบริษัท มารูเซน ฟาร์มาซูติคอล ญี่ปุ่น เป็นต้น 
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. เผยถึงการจัดงานดังกล่าวแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์และสื่อมวลชนว่า งานนิทรรศการอาหารในโลหอนาคตนี้จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2552 และจะพยายามผลักดันให้งานดังกล่าวเป็นงานระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้าชมงานน่าจะได้เห็นแนวโน้มของธุรกิจอาหารในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่มีแนวโน้มว่าต่อไปในอนาคตนั้นอาหารและยานั้นแทบจะแยกจากกันไม่ออก 
ภายในงานจะได้เห็นนวัตกรรมอาหาร 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก กลุ่มอาหารเพื่อการบำรุงสมอง ซึ่งตอนนี้กำลังมั่วๆ อยู่ เพราะมีเครื่องดื่มที่อ้างว่าดื่มแล้วฉลาด ดื่มแล้วสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ซึ่งถ้าเราจะทำเรื่องนี้คงต้องมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ อีกกลุ่มคือกลุ่มอาหารต้านชรา ชะลอความแก่ และสุดท้ายคือกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน จะเป็นอาหารที่ช่วยเสริมเฉพาะด้าน ซ่อมแซมเฉพาะที่ เช่น บำรุงข้อ บำรุงสายตา เป็นต้นผู้อำนวยการ สนช. กล่าว 
ทางด้าน ภก.ดร.พิสุทธ์ เลิศวิไล นายกสมาคมผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพและกรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) กล่าวในทำนองเดียวกับนายศุภชัยว่า ในอนาคตอาหารและยาจะเป็นสิ่งที่มาบรรจบกันและแยกจากกันไม่ออก เหมือนที่ปราชญ์ในอดีตเคยกล่าวไว้ว่า จงอาหารเป็นยาและใช้ยาเป็นอาหารซึ่งเห็นได้จากภูมิปัญญาจีนที่อาหารหลายอย่างใช้ประโยชน์ในทางยาด้วย ซึ่งแนวคิดแบบ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้นั้นเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอยู่แล้ว 
ด้านภาพรวมของนวัตกรรมอาหารทั่วโลกนั้น ภก.ดร.พิสุทธ์กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีตลาดอาหารสุขภาพที่ใหญ่มาก เพราะมีกฎหมายเฉพาะ ซึ่งสินค้าจะได้รับการรับรองต่อเมื่อผ่านการทดลองในมนุษย์แล้วปลอดภัยเท่านั้น ส่วนสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศเสรีนั้นสามารถอ้างสรรพคุณของอาหารได้อย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากผู้บริโภคอเมริกันนั้นฉลาดและแข็งแกร่งมาก หากสินค้าไม่ดีบริษัทจะถูกฟ้องจนล้มละลายได้ และในการกล่าวอ้างสรรพคุณเพื่อขอการรับรองจากหน่วยที่ควบคุมด้านอาหารและยานั้นต้องมีเอกสารที่พิสูจน์คุณสมบัติอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เสนอแก่หน่วยงานอย่างเพียงพอ ไม่ใช่ส่งเอกสารเพียง 2-3 แผ่นเพื่อขอการรับรอง 
นายศุภชัยบอกด้วยว่า อาหารนั้นถือเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ซึ่งต้องยอมรับว่าฐานของประเทศนั้นเป็นเกษตรกรรม หากจะขายสินค้าด้านซอฟท์แวร์หรืออิเล็กทรอนิกส์นั้นเราได้ค่าส่วนเหลื่อมการตลาด (Marketing margin) เพียงเล็กน้อย แม้มูลค่าที่ขายได้จะสูง แต่เมื่อหักลบต้นทุนแล้วเหลือส่วนต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงจำเป็นต้องหันกลับมามองจุดแข็งของประเทศ โดยแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมอาหารจะเน้นไปที่การขายของเป็นกรัม ขายสารสกัด ซึ่งดีกว่าการขายข้าวเป็นเกวียนแล้วได้เงินแค่หมื่นกว่าบาท 
เราไม่อยากขายข้าวเป็นเกวียน ซึ่งถ้าเอาวิทยาศาสตร์เข้าไปจับเราจะเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรได้มหาศาล จากขายเป็นเกวียนก็เปลี่ยนมาขายเป็นกรัม อย่างน้ำมันรำข้าวมีต้นทุนเป็นบาทแต่ขายได้เป็นร้อย ซึ่งธุรกิจสารสกัดเป็นธุรกิจที่ สนช.ให้ความสำคัญมาก แต่ต้องสกัดให้ได้สารบริสุทธิ์ จริงนายศุภชัยกล่าว และให้นิยามอาหารของโลกอนาคตว่า ไม่ใช่แค่อิ่มอร่อย แต่ต้องให้ผลดีในด้านสุขภาพ และต้องช่วยปรับสมดุลในร่างกายด้วย 
ตัวอย่างผลงานเด่นที่จะนำเสนอภายในงาน อาทิ เครื่องดื่มผสมสารสกัดเซราไมด์ที่ได้จากสับปะรด ซึ่งมีประโยชน์ในด้านความงาม โดยช่วยให้เซลล์ผิวกระจ่างใสและได้รับความชุ่มชื้น นวัตกรรมอาหารเสริมจากญี่ปุ่น คิวเอช” (QH) ซึ่งเป็นอีกรูปของโคเอนไซม์คิวเท็น (Q10) แต่ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ดีกว่า โยเกิร์ตผสมสารสกัดช่วยให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุตาย และสารให้รส อูมามิหรือรสกลมกล่อมจากหอมหัวใหญ่ ซึ่งใช้แทนผงชูรสและเป็นวัสดุปรุงอาหารสำหรับผู้แพ้ผงชูรส เป็นต้น 
อย่างไรก็ดี นวัตกรรมอาหารภายในงานนั้นเน้นที่อาหารเสริม ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ จึงสอบถามว่าการรับประทานอาหารเสริมนั้นมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ซึ่ง ภก.ดร.พิสุทธ์กล่าวว่า โดยปกติแล้วเรามักไม่ขาดสารอาหารในหมู่หลักๆ คือ โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต แต่มักจะขาดอาหารหมู่ย่อยคือเกลือแร่และวิตามิน ซึ่งในระยัสั้นอาจไม่ส่งผลอะไรมากนัก แต่ในระยะยาวจะมีผลกระทบอย่างแน่นอน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้สุงอายุหลายคนเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกผุ อันเกิดจากการขาดสารอาหารกลุ่มเกลือแร่และวิตามินที่จำเป็น ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากการปรุงและการเก็บอาหารไว้นานๆ 
ถ้าร่างกายปกติ กินอาหารครบและออกกำลังกายเป็นประจำก็ไม่ต้องกินอาหารเสริมก็ได้ แต่คนเราจะมีช่วงที่ร่างกายแข็งแรงสูงสุดถึงอายุ 30 ปี หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มเสื่อมถอย สิ่งที่ควรทำคือควรดูแลให้การเสื่อมถอยช้าลง เริ่มจากการดูแลกินอาหารให้ครบ ออกกำลังกาย กินอาหารเสริมและดูแลสุขภาพจิต สำหรับการเลือกอาหารเสริมนั้นต้องดูความต้องการของแต่ละคน ซึ่งมีไม่เท่ากัน คนที่ต้องเดินถนน เจอมลพิษควรจะได้รับสารอาหารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี ซึ่งเป็นอาหารเสริมพื้นฐานและมีราคาถูก และง่ายที่สุดสำหรับทุกคนคือกินวิตามินและเกลือแร่รวมภก.ดร.พิสุทธ์กล่าว

Overview
Early Bird Registration extended to 31 August 2011.
In the past few decades, consumers around the world have increasingly been concerned about their health, and as a result, prefer products that would enhance their well-being. Nowadays, it is widely believed that “prevention is better than cure.” In addition, busy lifestyle and fast food are main causes of malnutrition, which could lead to major diseases. Consequently, dietary supplements and nutraceuticals have also played a bigger role in the global food market. Therefore, entrepreneurs in the food industry have to keep developing their products and coming up with innovative products continuously in response to the fast-growing global demands.
In Thailand, food industry is one of the country’s major industries. Thai entrepreneurs have been developing themselves to become key manufacturers and exporters, by creating innovative products to promote good health and integrating knowledge from academic research, advanced technologies and advantages of the country’s biodiversity to satisfy the world market.
To encourage and strengthen the connections between key players and stakeholders in the food industry, NIA is proud to present the InnovAsia 2011: Food in the Future (FIF2011) Conference & Exhibition to provide updates on recent innovations, trends and market perspectives in the food industry.
InnovAsia 2011: Food in the Future will showcase presentations by internationally renowned speakers on various topics related to the foresight into the future of health food sector, current trends of the global market, investment opportunities, and fascinating exhibitions from world’s leading companies.
Conference Highlights
Global Perspective on Food Innovation
Current Innovation Trend and Foresight
Marketing Strategies for Innovative Food Products
Recent Development in Application
Food for Brain
Food for Beauty and Anti-Aging
Food for Well-Being
Food for Weight Management
Exhibition Highlights
Product Display on Food Innovation
Business Matching
Reasons to Attend Food in the Future 2011
UNRIVALLED presentations on the latest innovation and technology from food industry experts
UPDATE on consumers trends in innovative food market
UNIQUE food product innovations and breakthroughs
UNDERSTAND emerging opportunities and challenges in the global food market
UTILIZE networking opportunities and enjoy personal discussions with leading experts
Who Should Attend?
Executives and those working in the food industry (health& organic food, nutraceuticals and dietary supplements, functional beverages, etc.)
Researchers (food technologists, food designers, nutritionists, dieticians, biotechnologists, physicians, engineers)
Regulatory and legislative bodies
Food retailing, trade associations and services
Investors and interested individuals