ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคภัยที่มากับ AEC AEC ไม่รู้ไม่ได้

โรคภัยที่มากับ AEC ไม่รู้ไม่ได้ - ขยายความ ขยายข่าว
วันที่ 15 ม.ค 2013 เวลา 11:27 น.


                    


เวลานี้ เมื่อพูดถึง AEC น้อยคนที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะแฟนรายการข่าวภาคเที่ยง ที่จะได้ดู คอลัมน์ "AEC ไม่รู้ไม่ได้" เป็นประจำ ซึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญกันขนาดนี้ เพราะเชื่อว่า AEC จะมีส่วนช่วยให้คุณภาพชีวิตของแรงงานไทยดีขึ้นได้

แต่การเปิดประเทศอย่างเสรี ก็มีภัยเงียบแฝงอยู่ โดยเฉพาะเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เห็นได้จากเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ที่มีการะบาดของโรคคอตีบจากประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทรวงสาธารณสุขต้องออกมาคิดหาทางป้องกันเป็นการด่วน

โดย นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ออกมาระบุว่า หลังเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 อาจทำให้ประชากรกว่า 600 ล้านคนในภูมิภาค เสี่ยงเป็นโรคทั้งติดต่อและไม่ติดต่อมากขึ้น ทั้งนี้ สหประชาชาติกังวลว่าหากไม่มีมาตรการที่ดี การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมากจนยากจะควบคุม เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน ทั้งการกินอาหาร และการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม

สำหรับโรคที่สหประชาชาติห่วงมากที่สุดมี 4 โรคคือ โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคปอด และโรคเบาหวาน ซึ่งคร่าชีวิตคนทั่วโลกไปแล้วมากถึง 36,000,000 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิตที่พบ 57,000,000 คนในแต่ละปี โดยเฉพาะในอาเซียน พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 4,000,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 60 หรือประมาณ 2,500,000 คนเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อนี้

ซึ่งในบทความ "เจาะ 7 โรคร้ายภัย AEC" ที่เผยแพร่ผ่านทาง นิตยสาร hospital & Healthcare ได้หยิบยกเอา 7 โรคร้ายที่มีแนวโน้มจะระบาดจากการเปิดประเทศเสรี โรคแรกคือ โรคคอตีบ ปัจจุบันผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ที่ติดต่อกันได้โดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด

ต่อมาคือ โรคไอกรน ที่เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีเสียงไอที่เป็นเอกลักษณ์ โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายมาก โอกาสที่คนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะติดเชื้อจากผู้ป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกันมีถึง 80-100%

และถึงแม้ว่า จะมีภูมิคุ้มกันต้านทานแล้ว ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20% ผู้ป่วยโรคไอกรนพบได้ทั่วโลก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม ก็ยังพบการระบาดเกิดขึ้นทุกๆ 3-5 ปี

ยังมีโรคบาดทะยัก ที่ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้เลย แต่โรคนี้ยังดีที่มีวัคซีนฉีดป้องกันได้ โรคต่อไปยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กันมาก

นั่นคือ โรคความดันโลหิตสูง ปัจจุบันคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคนี้สูงถึง 10,800,000 คน โดย 5,400,000 คนไม่รู้ว่าตนเองเป็น โดยคนที่เป็นโรคนี้มักมีคอเลสเตอรอลสูงกว่าคนปกติ 6-7 เท่า เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 25 ตามลำดับ และมีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายถึงร้อยละ 60-75 และมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า และโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ 2-4 เท่า

ไม่ต่างจากโรคหัวใจ เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 50 คนต่อวัน หรือชั่วโมงละ 2 คน และเจ็บป่วยนับเฉพาะที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในมากเฉลี่ยถึง 1,185 รายต่อวัน ผลการสำรวจพฤติกรรมคนไทยล่าสุดพบว่า คนไทยมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงถึงร้อยละ 86 เพราะนิยมบริโภคอาหารไขมันสูง ทำให้มีไขมันสะสมในเส้นเลือดแดง ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบตามมา จนมีคนไทยจำนวนมากที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ยังมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3,500,000 คน แต่มีถึง 1,100,000 คนที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย ที่น่าห่วงยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ป่วยเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงกว่าคนปกติถึง 2-4 เท่า โดยอาการที่สังเกตได้คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก หิวและกระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลียไม่มีแรง บางคนปัสสาวะแล้วมีมดขึ้น อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงขั้นน่าเป็นห่วง

สุดท้ายคือ โรคปอด โดยสาเหตุที่พบบ่อยคือ ปอดติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ ปิดบวม ซึ่งอาการสำคัญที่เกิดจากโรคปอดคือ อาการไอ อาจมีเสมหะ หรือไม่ก็ได้และอาการเหนื่อยหอบเมื่อมีการออกแรง

ซึ่งเมื่อมีอาการมาก หรือ ร่างกายขาดออกซิเจนมากๆ แล้วไม่ไปรักษา ตามข้อมูลบอกว่า อาจถึงขั้น หมดสติ ภาวะหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เพราะฉะนั้น ถ้ามีอาการไม่น่าวางใจ รีบพบแพทย์ อย่าปล่อยไว้นาน

ที่มา : http://news.ch7.com/detail/19466/โรคภัยที่มากับ_AEC_ไม่รู้ไม่ได้_-_ขยายความ_ขยายข่าว.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น