ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อาหารเสริมสังเคราะห์ แตกต่างกับ อาหารเสริมสกัดจากธรรมชาติอย่างไร ?

อาหารเสริมสังเคราะห์ แตกต่างกับ อาหารเสริมสกัดจากธรรมชาติอย่างไร ?


อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีอยู่กลาดเกลื่อนในวันนี้ มีจำนวนไม่น้อยที่เสริมวิตามิน และวิตามินที่เสริมนี้ส่วนใหญ่เป็นวิตามินสังเคราะห์ เรื่องอย่างนี้ผู้บริโภคอาจจะไม่รู้ก็ได้ครับ
คำถามมีอยู่ว่าวิตามินสังเคราะห์เหล่านี้ให้ฤทธิ์หรือประสิทธิภาพเท่ากับวิตามินธรรมชาติหรือเปล่า และอาจจะก่อปัญหาได้หรือไม่ เห็นทีจะต้องมาพิจารณากัน
อาหารธรรมชาติคงไม่เป็นปัญหาเพราะวิตามินในอาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นวิตามินจากธรรมชาติ ปัญหาหากจะมีก็อยู่ที่อาหารผ่านกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหลายนั่นแหละ อาหารกลุ่มนี้หากเสริมวิตามินมาด้วยคงต้องดูว่ามีวิตามินสังเคราะห์ผสมลงมามากน้อยแค่ไหน
วิตามินสังเคราะห์ สังเกตกันง่ายๆ ดังนี้ ครับ
  • Ascorbic acid ส่วนใหญ่เป็นวิตามินสังเคราะห์ของวิตามินซี
  • Thiamin HCl หรือ Thiamin hydrochloride เป็นวิตามินสังเคราะห์ของวิตามินบีหนึ่ง
  • Thiamine Mononitrate เป็นวิตามินสังเคราะห์อีกรูปหนึ่งของวิตามินบีหนึ่ง
  • dl-Alpha Tocopherols หรือ mixed Tocopherols เป็นวิตามินสังเคราะห์ของวิตามินอี
  • Pyridoxine HCl หรือ Pyridoxine Hydrochloride เป็นวิตามินสังเคราะห์ของวิตามินบีหก
  • Irradiated Ergosterol เป็นวิตามินสังเคราะห์ของวิตามินดี
  • Vitamin A acetate หรือ vitamin A palmitate เป็นวิตามินสังเคราะห์ของวิตามินเอ
ชื่อที่เขียนไว้บนฉลากมักเป็นภาษาอังกฤษก็ขอให้จำไว้เถอะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซี หากเป็นวิตามินซีจากธรรมชาติ ก็มักจะเขียนว่าวิตามินซีหรือ vitamin C หากเขียนว่า Ascorbic acid มีความเป็นไปได้ว่าเป็นวิตามินสังเคราะห์ ซึ่งต้นทุนถูกกว่ากันแยะ
การเติมวิตามินสังเคราะห์ลงในอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่เรื่องผิดหรอกครับ เป็นเรื่องดีเสียอีกเพราะจะทำให้อาหารมีวิตามินมากขึ้น แต่คงต้องใส่ใจในสองเรื่อง นั่นคือ เรื่องฤทธิ์ของวิตามินซึ่งอาจต่ำกว่าวิตามินตัวเดียวกันที่เป็นวิตามินธรรมชาติ
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าห่วงคือ การบริโภควิตามินสังเคราะห์มากเกินไปอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
คนส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึงแพทย์และนักโภชนาการบางส่วนมักเข้าใจกันผิดว่า วิตามินสังเคราะห์ให้ฤทธิ์ไม่ต่างจากวิตามินธรรมชาติทั้งยังไม่สร้างปัญหา เห็นทีจะต้องทำความเข้าใจกันใหม่แล้วล่ะครับ
วิตามินสังเคราะห์พัฒนาขึ้นมากว่า 70 ปีแล้ว ตัวแรกเห็นจะเป็นวิตามินบีหนึ่ง ซี่งพัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1936 สามปีก่อนที่จะเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป ช่วงนั้นเป็นจังหวะที่อาหารขาดแคลน ยิ่งช่วงสงครามเกิดความกลัวกันว่าอาหารธรรมชาติ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดมีการปนเปื้อนสารพิษ ทำให้มีการใช้วิตามินสังเคราะห์ เสริมลงในอาหารธรรมชาติกันมากขึ้น วิตามินสังเคราะห์หลายชนิดจึงถูกพัฒนาตามๆ กันมาในช่วงนั้น
การสังเคราะห์วิตามินในทางอุตสาหกรรมไม่ใช่เรื่องยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่ายมีทั้งใช้สารเคมี ใช้แร่ ใช้ผลิตผลทางการเกษตร ต้นทุนการผลิตจึงค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการใช้วิตามินธรรมชาติซึ่งสกัดได้ค่อนข้างยาก เป็นเพราะวิตามินสังเคราะห์ราคาถูกกว่าวิตามินธรรมชาติมากนี่เองที่ทำให้ความนิยมใช้วิตามินสังเคราะห์ เป็นไปอย่างกว้างขวาง มีผลิตภัณฑ์อาหารมากมายที่เสริมวิตามินสังเคราะห์ลงไป ลองไปสังเกตที่ฉลากผลิตภัณฑ์ก็แล้วกันครับ อาจจะเจอชื่อวิตามินอย่างที่บอกไว้แต่ทีแรก
วิตามินอีสังเคราะห์ เป็นวิตามินตัวหนึ่งที่มีการใช้กันมากในทางอุตสาหกรรมอาหาร นักวิทยาศาสตร์พบว่าวิตามินอีสังเคราะห์ให้ฤทธิ์แค่ครึ่งเดียวของวิตามินอีธรรมชาติ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยกว่า ทั้งยังมีช่วงเวลาที่อยู่ในร่างกายสั้นกว่า สรุปก็คือหากใช้วิตามินอีสังเคราะห์ จะต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าวิตามินธรรมชาติถึงเท่าตัวจึงจะให้ฤทธิ์เท่าๆ กัน
วิตามินบีหนึ่งรวมไปถึงวิตามินบีหก ก็มีปัญหาในลักษณะเดียวกับวิตามินอี
แต่ตัวที่อาจจะมีปัญหาค่อนข้างมากคือ วิตามินซี ซึ่งมีการใช้กันมากที่สุด
วิตามินซีที่เสริมอยู่ในอาหารหรือแม้กระทั่งที่ขายกันในรูปของผลิตภัณฑ์ยาส่วนใหญ่เป็นวิตามินซีสังเคราะห์ หรือกรดแอสคอร์บิก คงต้องพิจารณาแล้วล่ะครับว่าวิตามินซีกลุ่มนี้ออกฤทธิ์อย่างไร
วิตามินซีสังเคราะห์ ดูดซึมน้อยกว่าทั้งยังถูกขับออกจากร่างกายมากกว่า วิตามินซีสังเคราะห์อยู่ในรูปของกรด เมื่อขับออกมันอาจสร้างความระคายเคืองให้กับเนื้อเยื่อของไตได้ คงต้องระมัดระวังกันหน่อย หากคิดจะเสริมก็อย่าเสริมให้มันมากจนเกินเหตุ คิดถึงอันตรายของวิตามิน ที่เรามักจะคิดว่าไม่มีอันตรายไว้บ้าง
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าห่วงคือ เคยมีรายงานในสัตว์ทดลองว่า การเสริมวิตามินบีหนึ่งสังเคราะห์ ปริมาณสูงทำให้สัตว์เป็นหมัน นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มกังวลกันว่าปัญหาที่ทำให้คนในหลายประเทศ มีลูกน้อยลงกว่าแต่ก่อนอาจจะเป็นผลมาจากเพศชายมีปริมาณสเปิร์มลดลงก็เป็นได้
ยกตัวอย่างเช่นรายงานของมหาวิทยาลัยฟลอริดา กล่าวว่า คนอเมริกันเมื่อปี ค.ศ.1929 มีความเข้มข้นของสเปิร์ม 100 ล้านตัวต่ออสุจิ 1 ซีซี ถึงปี 1973 ความเข้มข้นลดลงเหลือ 60 ล้านตัว เข้าปี 1980 มีรายงานว่าสเปิร์มลดลงเหลือแค่ 20 ล้านตัวเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่จะต้องช่วยกันตรวจสอบคือ ชื่อวิตามินที่เขียนบนฉลากโภชนาการในภาษาไทย ไม่รู้ว่าใช้คำถูกต้องหรือเปล่าหรือไปเข้าใจกันเอาเองว่า Thiamin HCl รวมไปถึงสารอื่นๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นล้วนเป็นวิตามิน จึงใช้ชื่อวิตามินกันตรงๆ ทำให้ดูไม่ออกว่าเป็นวิตามินธรรมชาติหรือสังเคราะห์ เห็นทีจะต้องสอบถามไปที่ อ.ย. ได้คำตอบอย่างไรจะเอามาเล่าสู่กันฟังครับ

ที่มา : https://sites.google.com/site/yesproductt/word-of-the-week/extra-credit

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น