ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

มะเร็งใกล้ตัว... แฝงมาในรูปแบบต่างๆ หากไม่ใส่ใจในอาหาร

   
    
ไกล “มะเร็ง” ง่ายๆ แค่ใส่ใจอาหาร

       อาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียมอาจส่งผลให้เกิดมะเร็งได้
       เมื่อเอ่ยถึงโรคร้ายแรงอย่าง “มะเร็ง” เชื่อว่าคนฟังร้อยทั้งร้อยได้ยินก็นึกอยากหนีให้ไกลแสนไกล เพราะไหนจะความทุกข์ทรมานจากโรครวมถึงขั้นตอนการรักษา ทั้งยังไหนจะค่ายาและค่ารักษาที่ค่อนข้างสูง และในระยะหลังๆ เมื่อกระแสการดูแลสุขภาพมีมากขึ้น ทำให้มีทั้งกูรูและผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ ตบเท้าออกมาแนะนำวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงอาหารสุขภาพอันหลากหลาย และแนะนำวิตามินสำเร็จรูปที่มีมากมายในท้องตลาด เพื่อรักษาสุขภาพให้ไกลจากโรคร้ายต่างๆ รวมถึงมะเร็งร้าย
      
       แต่ทั้งที่จริงๆ แล้ว วิธีการห่างไกลมะเร็งแบบง่ายๆ อยู่แค่ “ความใส่ใจ” ของเราๆ ท่านๆ เองแท้ๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า “การเลือกกิน” นั่นเอง ที่ช่วยให้เราหลีกลี้หนีไกลมะเร็งได้
      
       เมื่อเร็วๆ นี้ มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ออกมารายงานถึงสถานการณ์ล่าสุดของโรคมะเร็ง ซึ่งระบุว่าสถิติล่าสุดพบว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 56,058 ราย หรือ 8,834 รายต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 10.7% โดยมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 1 และสถิติล่าสุดในขณะนี้ พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็ง 241,051 ราย คิดเป็น 80,350 รายต่อปี เป็นหญิงประมาณ 120 ราย และเป็นชายประมาณ 140 รายต่อประชากร 1 แสนคน และพูดให้ชัดลงไปอีกก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเดือนละ 4,671 ราย หรือ 156 รายต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 23% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสถิติปี 2541-2543 ซึ่งคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็ง 195,780 ราย หรือ 65,260 รายต่อปี
ไกล “มะเร็ง” ง่ายๆ แค่ใส่ใจอาหาร
        พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุกรรม และนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เผยว่า สิ่งที่วงการแพทย์ไทยมีความกังวลเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง ยังคงเป็นเรื่องของความรู้ ความเข้าใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เช่น อาหารที่เป็นประโยชน์ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารที่ไม่มีโปรตีน เช่น ผู้ป่วยมะเร็งบางรายไม่ยอมรับประทานเนื้อสัตว์ แต่บางรายกลับไปใช้ยาสมุนไพรหรือยาลูกกลอนที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย
      
       “ปัจจุบันมีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลของการกินอาหารกับต่อโรคมะเร็งอยู่พอสมควร ซึ่งจากการศึกษาพบว่า อาหารบางชนิดสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น อาหารที่มีสารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้ปิ้ง ย่าง จนเกรียม อาหารที่มีส่วนผสมของไนไตรทจากสารรักษาสภาพอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาหารหมักดอง และอาหารที่มีความชื้นและมีเชื้อราปนเปื้อน ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งมากกว่าอาหารอื่น”
ไกล “มะเร็ง” ง่ายๆ แค่ใส่ใจอาหาร
       พญ.สุดสวาทกล่าวต่อไปอีกว่า โรคมะเร็งอาจเกิดจากผลของสารอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของการเผาผลาญอาหาร ถ้ามีอนุมูลอิสระนี้มากเกินไป เซลปกติอาจกลายพันธุ์เป็นเซลมะเร็งได้ ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า antioxidant พบมากในผักและผลไม้บางชนิด เช่น ชาเขียว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ซึ่งจะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งได้ระดับหนึ่ง การกินเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง ไขมันสูง แค่พอเหมาะ และหันมากินปลามากขึ้น เน้นผักผลไม้ให้มากขึ้น อาจช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งได้
      
       “อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไม่มีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดมะเร็งโดยตรง แต่น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อโรคมะเร็ง ดังนั้น อาหารเพื่อต่อต้านการเกิดมะเร็งจึงควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ไม่ใช่เลือกที่จะบริโภคหรือไม่บริโภคอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง และเป็นอาหารที่มีความสะอาด เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ” พญ.สุดสวาทกล่าว
ไกล “มะเร็ง” ง่ายๆ แค่ใส่ใจอาหาร
น่าห่วงอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่เลือกใช้ยาลูกกลอนที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
       แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมรายนี้อธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอยู่แล้ว ความต้องการอาหารจะแตกต่างจากคนปกติ เพราะผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรับยาเคมีบำบัด ซึ่งต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อซ่อมแซมเซลปกติ และช่วยให้ร่างกายสามารถรับการรักษาได้ครบถ้วนตามแผนที่แพทย์ได้วางไว้ นอกจากนี้ โรคมะเร็งหรือวิธีการรักษาอาจมีผลทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร แผลอักเสบเยื่อบุช่องปากหรือหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มที่จะขาดสารอาหาร และมีน้ำหนักตัวลดลง
ไกล “มะเร็ง” ง่ายๆ แค่ใส่ใจอาหาร
       “ควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ในระหว่างการรักษา ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมากคือ อาหารต้องสุกและสะอาด ในขณะที่มีภาวะเม็ดโลหิตขาวต่ำหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก เช่น หอยนางรม กุ้งเต้น ปลาดิบ ที่สำคัญ ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าการเลือกรับประทานอาหารจะทำให้มะเร็งโตช้าลงหรือฝ่อลงแต่อย่างใด เนื้อสัตว์หนึ่งคำที่รับประทานเข้าไป ย่อมกระจายไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ไม่ได้เลือกที่จะวิ่งไปสู่ก้อนมะเร็งเพียงที่เดียว ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นของโรคมะเร็งตามมาอีกด้วย ดังนั้น ขอย้ำว่าอาหารต้านมะเร็งควรรับประทานคืออาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและสมดุล มีความสุกสะอาด ไม่ใช่เลือกรับประทานอาหารเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง” 

ที่มา : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000003921

เรามารู้จักสารแต่งกลิ่น**ในขนมกันค่ะ มาไล่ดูและแปลทีละตัวกันเลย โมโนโซเดียมกลูตาเมต = ผงชูรส (MSG) อันนี้เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้วนะคะ ริโบไทด์ = เป็นสารเพิ่มรสชาติตัวหนึ่งมีคุณสมบัติคล้ายผงชูรส คือให้รสชาติอร่อย กลมกล่อม แต่มีความอันตรายกว่าผงชูรสถึง 50 เท่า (หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป) โดยส่วนมากจะใช้เป็นสารปรุงรสในบะหมี่สำเร็จรูป ปลาเส้น เป็นต้น ดังนั้นหากรู้แบบนี้แล้ว เราควรที่จะอ่านฉลากโภชนาการและส่วนประกอบของขนมก่อนที่เราจะซื้อทาน หรือแอบดูขนมที่ลูกๆรับประทานด้วย ขนมบางชนิด อาจจะโฆษณาถึงข้อดี เช่น ไร้ไขมัน แคลเซียมสูง โปรตีนสูง ก็อาจจะมีอันตรายจากสิ่งอื่นด้วย ยังไงเวลาเลือกซื้อควรระวังดีๆด้วย

มะเร็งใกล้ตัว และแล้วความจริงก็ค่อยๆ ถูกเปิดเผยแบ่งปันให้ผู้บริโภคได้รับรู้มากขึ้น ที่พยายามเลี่ยงคำว่า ไม่มีผงชูรส แต่ก็แฝงมาในรูปแบบอื่น เช่นเครื่องปรุงรส ขอให้ดูรายละเอียดส่วนประกอบด้วย
หากมีศัพย์ภาษาอังกฤษแต่งเติม ขอให้ระวังให้ดี เช่นคำนี้ Ribotide ริโบไทด์ และยังอื่นๆอีก
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3039/disodium-5-ribonucleotide-ไดโซเดียม-ไรโบนิวคลีโอไตด์

เคยเห็นในฉลากอาหารไหม ไดโซเดียม 5'-ไรโบนิวคลีโอไตด์ (Disodium 5'-Ribonucleotides) อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ผงชูรส (monosodium glutamate : MSG) ให้รสอูมามิ (umami) โดยออกฤทธิ์แรงกว่าผงชูรส MSG(monosodium glutamate) 50-100 เท่า 

Facebook โครงการคนไทยเข้าใจฉลากอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น