ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

Kuu Ne คูเน่ หยุดเสี่ยง ! เลือกกินอาหารดีๆ แต่ปรุงรสด้วยสารเคมี


 Kuu Ne คูเน่  หยุดเสี่่ยง !   เลือกกินอาหารดีๆ
แต่ปรุงรสด้วยสารเคมี ด้วยนวัตกรรมทางผงปรุงครบรสหอมหัวใหญ่ จากธรรมชาติ เพื่อสุขภาพ
ปราศจากเนื้อสัตว์ สารเคมีปรุงแต่งกลิ่น สี รส อีกทั้งยังป้องกันความเสี่ยงต่อโรค ผลงานวิจัยดีเด่น
ม.เกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ  เข้มข้น 3 เท่า (อนุภาคหอมหัวใหญ่เกาะตัวกันตามธรรมชาติ)




สารปรุงแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งอาหาร  หมายถึง  สารปรุงรสและวัตถุเจือปนในอาหารที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสี  กลิ่น  รส และคุณสมบัติอื่น ๆ ของอาหาร  มีอยู่  3 ประเภท1ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย  ได้แก่
        1.1 สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอาหาร  ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ  ได้แก่
              -สีเขียว  จากใบเตยหอม  พริกเขียว
              -สีเหลือง  จากขมิ้นอ้อย  ขมิ้นชัน  ลูกตาลยี  ไข่แดง  ฟักทอง  ดอกคำฝอย  เมล็ดคำแสด
              -สีแดง  จากดอกกระเจี๊ยบ  มะเขือเทศ   พริกแดง  ถั่วแดง  ครั่ง
              -สีน้ำเงิน  จากดอกอัญชัญ
              -สีดำ  จากกากมะพร้าวเผา  ถั่วดำ  ดอกดิน
              -สีน้ำตาล  จากน้ำตาลเคี่ยวไหม้  หรือคาราเมล
a02.jpg a02 image by bddc2
         1.2 สารเคมีบางประเภท  ได้แก่              1.2.1 สารเคมีประเภทให้รสหวาน  เช่น  น้ำตาลทราย  กลูโคส  แบะแซ
              1.2.2 สารเคมีบางประเภทให้รสเปรี้ยวในอาหาร  เช่น  กรดอะซีติก  (กรดน้ำส้ม)  
กรดซิตริก  (กรดมะนาว)
              1.2.3 สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น  เช่น  น้ำนมแมว  หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่าง ๆ
2. ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้เกินขอบเขต
2.1 สีผสมอาหาร  ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี  แม้กฏหมายกำหนดให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้  แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภได้  ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม  ลูกกวาด  และขนมหวาน  มีดังนี้
      2.1.1 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน  70  มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค  1  กิโลกรัม
         -สีแดง  ได้แก่  เอโซรูบีน  เออริโทรซิน
         -สีเหลือง  ได้แก่  ตาร์ตราซีน  ซันเซ็ตเย็ลโลว์  เอ็ฟ  ซี  เอ็ฟ
         -สีเขียว  ได้แก่  ฟาสต์  กรีน  เอ็ฟ  ซี  เอ็ฟ
         -สีน้ำเงิน  ได้แก่  อินดิโกคาร์มีนหรืออินดิโกติน
2.1.2  สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน  50  มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค  1  กิโลกรัม
          -สีแดง  ได้แก่  ปองโซ  4  อาร์
           -สีน้ำเงิน  ได้แก่  บริลเลียนบลู  เอ็ฟ  ซี  เอ็ฟ
2.2 ผงชูรส  ป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร  มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท  ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง  หรือ จากกากน้ำตาล ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น  ปลายทั้ง  2  ข้างโตและมัน  ตรงกลางคอดเล็กคล้ายกระดูก ไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง  มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม  ปริมาณที่ใช้ควรเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีอาการแพ้ผงชูรสได้  ควรใช้ผงชูรสประมาณ  1/500-1/800   ส่วนของอาหารหรือประมาณ  1  ช้อนชาต่ออาหาร  10  ถ้วยตวง  และไม่ควรใช้ผงชูรสในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์

2.3 สารเคมีที่ใช้กันเสียกันบูด  เป็นสารประกอบทางเคมีหรือของผสมของสารประกอบที่ใช้เติมลงในอาหาร  เพื่อชะลอการเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บอาหาร  โดยจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และส่วนประกอบของเอนไซม์  ซึ่งทำให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หยุดชะงักหรือตายได้  นอกจากนี้ยังมีผลต่อการแบ่งเซลล์ยับยั้งการสังเคราะห์ของโปรตีน  ทำให้ขบวนการแบ่งเซลล์หยุดชะงัก  จำนวนจุลินทรีย์จะไม่เพิ่มขึ้น  การใช้วัตถุกันเสีย ไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้  กรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเลือกวัตถุกันเสียที่ปลอดภัยและใช้ในปริมาณที่กฏหมายกำหนด  รวมทั้งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร3. ประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย  เป็นอันตรายต่อชีวิตได
ปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารน่ารับประทานเก็บได้นานรวมทั้งราคาถูก  และจากการตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐพบว่า  มีการใช้สารเคมีที่กฏหมายห้ามใช้ในการปรุงแต่งในอาหาร  ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคถึงชีวิตได้
สารบอแรกซ์ในลูกชิ้น  
        
กลไกการทำงานและผลของบอแรกซ
            จะทำให้ระดับฟอสฟอรัสในสมองและตับลดต่ำลง มีผลต่อการยับยั้ง oxidoreductase enzyme   และ serine protease enzyme เพิ่มความเข้มข้นของ RNA ในตับและสมอง   มีผลต่อระบบประสาท่าวนกกลาง ตับ ไต และเยื่อบุอวัยวะย่อยอาหาร ทำให้ความดันลดลง การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน สมองตื้อ มีอาการบวมช้ำ ฮีโมโกลบินลดต่ำลง ไตเสื่อม และสมรรถทางเพศลดต่ำลง ผิวหนังแดง ไตพิการ และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เสียชีวิตในผู้ใหญ่จากการได้รับสารบอ แรกซ์ 5- 20 กรัม และเด็กทารกหากได้รับสารบอ แรกซ์น้อยกว่า กรัม   ก็ช็อค หรือตายได้
การนำบอแรกซ์มาใช้ในอาหาร
เนื่องจากสารบอ แรกซ์ ทำให้อาหารมีลักษณะ หยุ่นกรอบ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียอยู่ด้วย จึงมีการนำมาใช้ผลิตอาหารประเภทลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน   ไส้กรอก แป้งกรุบ ลอดช่อง ผงวุ้น ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักผลไม้ดอง และยังพบว่ามีการนำเอาบอ แรกซ์ไปละลายในน้ำแล้วทาที่เนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสด ไม่บูดเน่าก่อนเวลา นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลึกเล็กๆเละเป็น ผงซึ่มมีสีขาวคล้ายเศษของผงชูรส  
ขนาดของบอแรกซ์ที่เป็นอันตราย
-ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ 5 – 10 กรัม ในผู้ใหญ่
-ขนาดที่ทำให้ตายได้ 15 – 30 กรัม ในผู้ใหญ่
-ขนาดที่ทำให้เกิดพิษและตาย 4.5 – 1.4 กรัมในเด็ก ซึ่งการตายจะเกิดขึ้นภายใน 2 – 3 วัน

แหล่งที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/281926

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น