บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ได้รับเชิญเข้าร่วมเครือข่ายผู้ประกอบการ Farmer Shop
ซึ่งประกอบด้วย ร้านค้าปลีกที่ผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นเจ้าของร่วมกัน
เพื่อสร้างสรรค์ระบบธุรกิจค้าปลีกที่เป็นธรรม
โครงการ Farmer Shop
ร้านค้าปลีกที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์ระบบธุรกิจค้าปลีกที่เป็นธรรม

Farmer Shopเป็นรูปแบบของร้านค้าปลีก ที่เป็นศูนย์รวมและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพ ที่ผ่านกระบวนการคัดสรร พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และการสร้างสรรค์ระบบการบริหารจัดการร้านสรรพาหารขนาดเล็กที่ผู้ผลิต และผู้บริโภคจะมาเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยคาดหวังว่าระบบร้านค้าปลีกเชิงสร้างสรรค์ของ Farmer Shop จะช่วยลดดีกรีความเสียเปรียบดุลการค้า สินค้าเกษตรแปรรูปจากต่างประเทศ ด้วยการรณรงค์ให้คนไทยที่รักประเทศไทย
มาช่วยกันอุดหนุนสินค้าไทยที่มีคุณภาพ พร้อมกับการยกระดับการพัฒนาสินค้าเกษตร ซึ่งในที่สุด เกษตรกรไทยคงจะมีชีวิตที่ดีขึ้น จากการที่คนไทยช่วยคนไทยด้วยกัน ผ่านกลไกของระบบFarmer Shopนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่า
ผ่านการวิจัย
มาช่วยกันอุดหนุนสินค้าไทยที่มีคุณภาพ พร้อมกับการยกระดับการพัฒนาสินค้าเกษตร ซึ่งในที่สุด เกษตรกรไทยคงจะมีชีวิตที่ดีขึ้น จากการที่คนไทยช่วยคนไทยด้วยกัน ผ่านกลไกของระบบFarmer Shopนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่า
ผ่านการวิจัย
Farmer Shop เป็นกระบวนการดำเนินงานของร้านค้าปลีกสินค้าเกษตรแปรรูป ผ่านกลไกของการบริหารจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ ภายใต้แบรนด์ Farmer Shopที่ครอบคลุมระบบจัดหา การกำหนดราคา สต็อกสินค้า การจัดชั้นวางจำหน่าย การจัดทำรายงานการเงิน การบริหารจัดการ และการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม การจัดตั้ง และดำเนินงาน Farmer Shopในรูปแบบโครงการนำร่องเพื่อการทดสอบระบบ และการพัฒนาไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน สหกรณ์ และผู้ประกอบการรายย่อย
Farmer Shopเป็นตัวแบบธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ในทิศทางของการบูรณาการโซ่อุปทาน เพื่อนำสินค้าเกษตรแปรรูปของสถาบันเกษตรกร /สหกรณ์ ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข และสนใจเข้าร่วมโครงการ เป็นการต่อยอดการนำทุนความรู้ ทุนสังคม และทุนทรัพยากรภายใต้ชุดโครงการวิจัย และขยายผลไปในทิศทางของการพัฒนาระบบธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ตามกรอบทิศทางเชิงนโยบาย ในการพัฒนาเศรษฐกิจ –สังคมของประเทศ และได้ช่องทางการตลาดใหม่ สำหรับสินค้าเกษตรกรของสถาบันเกษตรกร และเกษตรกรรายย่อย ซึ่งจะช่วยลดปัญหา /ข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดผลลัพธ์ที่คาดหวังในรูปของ “ระบบธุรกิจร้านค้าปลีก” สามารถขยายผลไปใช้ประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน สหกรณ์ และผู้สนใจ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชนในการแก้ปัญหาความยากจนในอนาคต ภายใต้กระบวนการทำงานในทิศทางของการจัดการโซ่อุปทาน ไปสู่โซ่คุณค่านั้นเป็นการเปิดเวทีให้นักธุรกิจ /ผู้ประกอบการ /สถาบันเกษตรกรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม มาร่วมพลังสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ในสังคม การสร้างดุลยภาพแก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม โดยลดการพึ่งพาการส่งออก การนำเข้า และการสานต่อนโยบายการสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคการเกษตรไทยภายใต้ยุคการค้าเสรี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น