ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผลการวิจัยเรื่องการนอนหลับกับการทำงานของสมอง

ผลการวิจัยเรื่องการนอนหลับกับการทำงานของสมองย้ำถึงความสำคัญของการนอนต่อสุขภาพอนามัยและโรคภัยไข้เจ็บของคนเรา
มีคำตอบหลายคำตอบด้วยกันว่าการนอนมีความสำคัญต่อคนเราและสมองของเราอย่างไร งานวิจัยล่าสุดที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาให้คำตอบที่ละเอียดมากขึ้น และอาจช่วยให้มีวิธีใหม่ๆในการบำบัดโรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่นโรคสมองเสื่อม หรือ Alzheimer’s ได้ด้วย

นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Rochester ในรัฐนิวยอร์ค บอกว่า ขณะที่เรานอนหลับนั้น สมองไม่ได้พักผ่อนนอนหลับด้วย หากแต่ทำงานอย่างหนักเพื่อกำจัดของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสมองได้ออกไป

นักวิจัยศึกษาสมองของหนูในห้องทดลอง ด้วยการฉีดสีย้อมเรืองแสงเข้าไปในของเหลวที่หล่อเลี้ยงสมองและลำไขสันหลัง ซึ่งช่วยให้ติดตามดูการทำงานของสมองได้

นักประสาทวิทยา Dr. Maiken Nedergaard หัวหน้าทีมวิจัย บอกว่า สมองมีหน้าที่ทำงานที่โดดเด่นสองหน้าที่ด้วยกัน คือ เวลาเราตื่น แซลล์สมองทำงานอย่างหนักในการประมวลผลข้อมูลรอบๆตัวเรา แต่ในขณะที่เรานอนหลับ แซลล์สมองก็ทำงานอย่างหนักด้วย เพื่อกำจัดของเสียที่สะสมขึ้นมาในช่วงเวลาที่เราตื่น

นักวิจัยเรื่องสมองกับการนอน บอกว่า ของเสียนั้นมีสารพิษที่ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม หรือ Alzheimer’s disease และโรคทางประสาทอื่นๆได้ นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า ในการนอนหลับนั้น แซลล์สมองหดตัวลง เพื่อเปิดทางให้กำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และว่าของเสียที่ถูกกำจัดออกจากสมอง เคลื่อนไปอยู่ในตับ ซึ่งเป็นที่ที่สารพิษถูกย่อยทำลายในที่สุด

นักวิจัยผู้นี้บอกต่อไปว่า ผลของการศึกษาวิจัยชี้แนะว่า เราจะต้องนอนหลับ เพราะเรามีระบบทำความสะอาดขนาดจิ๋วที่กำจัดของเสียที่มีพิษออกจากสมองของเรา และว่าขั้นต่อไปของงานวิจัย คือการศึกษาการทำงานของสมองของคนเรา และว่าผลการวิจัยเท่าที่ได้ ชี้แนะถึงความสำคัญของการนอนต่อสุขภาพอนามัยและโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งวันหนึ่ง อาจช่วยในการพัฒนาวิธีบำบัดรักษาโรคต่างๆที่เกี่ยวกับประสาทได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น