ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

คุณประโยชน์ จากหอมหัวใหญ่ .......

หอมหัวใหญ่.  ..ห่างไกลโรค



หอมหัวใหญ่ (Allium cepa) เป็นพืชในตระกูลเดียวกับกระเทียม อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม      กำมะถัน ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน ช่วยลดอาการกระตุกของกล้มเนื้อ มีฤทธิ์มากในการขับสารพิษทั้งที่เป็นโลหะหนักและพยาธิ นอกจากนี้หอมหัวใหญ่ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆในร่างกายดังนี้

โคเลสเตอรอลและความดันเลือดสูง
   หอมหัวใหญ่มีผลคล้ายกระเทียมในการลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือด มีสารไซโคลอัลลิอิน ที่สามารถละลายลิ่มเลือดได้ ผลการศึกษากลุ่มคนกินมังสวิรัติในประเทศอินเดียที่กินกระเทียม 10 กรัมต่อสัปดาห์ และกินหอมหัวใหญ่ 200 กรัมต่อสัปดาห์ มีปริมาณโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เฉลี่ย 172 และ 75 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่าดังกล่าวในกลุ่มควบคุม (ไม่ได้กินกระเทียมและหอมหัวใหญ่) คือ 208 และ 109 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การกินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัวในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันเอชดีแอลในผู้ป่วยดังกล่าวจากร้อยละ 20 เป็น 30 มีผลลดระดับโคเลสเตอรอลในภาพรวม และเพิ่มอัตราส่วนระหว่างไขมันเอชดีแอล (ไขมันดี) ต่อไขมันแอลดีแอล (ไขมันเลว) อย่างน่าพอใจด้วย

ภูมิแพ้และหอบหืด 
   หอมหัวใหญ่มีความสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลพอกซีจีเนสและไซโคลออกซีจีเนส ซึ่งสร้างสารพรอสตาแกลนดินและทรอมบอกเซนซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบ เมื่อให้หนูตะเภากินสารสกัดแอลกอฮอล์ของหอมหัวใหญ่ 1 มิลลิลิตร พบว่าสามารถลดอาการหืดหอบจากการหดลองสูดดมสารก่อภูมิแพ้ได้ หอมหัวใหญ่มีเควอเซทิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์เชิงเภสัชวิทยาของมัน พบว่าเควอเซทินสามารถยับยั้งการปล่อยฮิสตามีนจากมาสต์เซลล์ และยับยั้งการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่นลิวโคทรีนได้ เควอเซทินพบมากที่สุดในผิวชั้นต้นๆ ของหอมหัวใหญ่ และพบมากกว่าในหอมหัวใหญ่สีม่วงและหอมแดงแต่ฤทธิ์ป้องกันอาการหอบหืดและภูมิแพ้คาดว่ามาจากสารกลุ่มไอโซโอไซยาเนต

เบาหวาน
   หอมหัวใหญ่แสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผลงานการศึกษาทางการแพทย์และทางคลินิกหลายชิ้นสารออกฤทธิ์ในหอมหัวใหญ่เชื่อว่าเป็นสารอัลลิลโพรพิลไดซัลไฟด์ (Allyl propy disuldhide หรือ APDS) และ มีฟลาโวนอยด์อื่นร่วมด้วย หลักฐานจากการทดลองและสังเกตในคลินิกพบว่า APDS ลดระดับกลูโคสโดยแข่งกับอินซูลิน (ซึ่งเป็นไดซัลไฟด์เช่นกัน) ในการเข้าสู่จุดยับยั้งการทำงานโดยอินซูลิน (Insulin-inactivating sites) ในตับ ทำให้มีอินซูลินอิสระเพิ่มขึ้น การกินหอมหัวใหญ่ 1-7 ออนซ์ (16 ออนซ์ประมาณครึ่งกิโลกรัม) มีผลลดปริมาณน้ำตาลในเลือดผลนี้พบทั้งในหอมหัวใหญ่ทั้งดิบและที่ต้มแล้ว

            หอมหัวใหญ่กับภูมิคุ้มกัน
   แคลเซียมมีการเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอนไซม์ที่ ที-เซลล์ (T-cells) ใช้ในการต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตแปลกปลอมและช่วยเม็ดเลือด ขาวในการทำลายและย่อยสลายไวรัส ปกติแคลเซียมจะได้มาจากผลิตภัณฑ์นม ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก ไขมันอิ่มตัวมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบ (Proinflamatory) ซึ่งมีผลในเชิงลบกับระบบภูมิคุ้มกันการกินหอมหัวใหญ่จึงได้แคลเซียมโดยปราศจากไขมัน (ถ้าไม่กินเป็นหอมหัวใหญ่ชุบแป้งทอด) หอมหัวใหญ่มีธาตุอาหารสำคัญอื่นๆ อีก ธาตุซีลีเนียม ที่พบมากในหอมใหญ่มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างแอนติบอดี ถ้าขาดธาตุนี้ร่างกายจะขาดความสามารถในการต้านการติดเชื้อที่เกิดขึ้นซ้ำซากได้ นอกจากนี้ ซีลีเนียมยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเอนไซม์กลูตาไทโอนเพอร์ออกซิเดส เอนไซม์นี้ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระที่จะก่อให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย หอมหัวใหญ่อุดมไป ด้วยธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นธาตุที่มักพบได้น้อยในอาหารประจำวัน มีความสำคัญในการสร้างคอมพลีเมนต์ ซึ่งมีความสำคัญในการทำลายเซลล์มะเร็งและกำจัดไวรัส ตัวอย่างของคอมพลีเมนต์ ได้แก่ อินเทอฟีรอน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ยังมีธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสร้างพรอสตาแกลนดินและการควบคุมปริมาณฮิสตามีน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่มีธาตุกำมะถัน ช่วยให้เอนไซม์ตับทำงานขับสารพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ตำราอาหารโยคะบำบัดจากประเทศอินเดียกล่าวไว้ว่าในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องให้กินหอมหัวใหญ่วันละ 1 หัว เพื่อป้องกันพยาธิทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ อาจเติมในโยเกิร์ต สลัด ผักนึ่ง หรือในข้าวก็ได้ และกินนมแพะสีทองเพื่อป้องกันแบคทีเรีย ไวรัส เสริมฤทธิ์ต้านอักเสบและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน  
ที่มา : http://www.elib-online.com/doctors49/herb_allium001.html 
 คำถาม
ตอบ จากเรื่องหอมหัวใหญ่ ห่างไกลโรคนี้ ทำให้เราทราบว่า นอกจากคุณประโยน์ของหอมหัวใหญ่ที่ใช้ใส่ในอาหารไทยเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่อีก ซึ่งมากกว่าแค่กลบกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะหอมชนิดนี้เป็นที่รวมตัวของสารอาหารต่างๆมากมายเช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน จึงเป็นผักที่รักษาโรคได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันมะเร็งลำไส้ สลายลิ่มเลือด ลดอาการปวดอักเสบ ทำให้เจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด กระจ่ายเลือด แก้บวม แก้ปวด มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แก้ลมพิษ ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ขับพยาธิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แก้ความดันโลหิตสูง ลดโคเลสเตอรอลในเลือด แก้ภูมิแพ้หอบหืด และเบาหวาน
ตอบ จากบทความเรื่องเรื่อง ‘’ หอมหัวใหญ่.  ..ห่างไกลโรค’’ นี้ให้ประโยชน์ คือ
ต่อตนเอง :
1. ทำให้เราได้ทราบสรรพคุณต่างๆในการรักษาโรคของหอมหัวใหญ่ เพราะในบางครั้งเราอาจจะเห็นสมุนไพรไทยอื่นๆที่มีคุณสมบัติโดดเด่นมากกว่า เช่น ขมิ้น กระเทียม พริกไทย จนทำให้มองข้ามหอมหัวใหญ่ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งไป เพราะ หอมหัวใหญ่ไม่เพียงแต่จะมีฤทธิ์ต้านโรค อาทิ เบาหวาน ภูมิแพ้และหอบหืดแล้ว แต่ยังมีประสิทธิภาพในการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอีกด้วย โดยจะช่วยสร้างธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นธาตุที่มักพบได้น้อยในอาหารประจำวันเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและกำจัดไวรัส
2. ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั้น การบริโภคอาหารย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็น ช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ บางครั้งในเวลาเร่งรีบนั้นอาจทำให้เราต้องรับประทานอาหารที่แทบจะไม่มีสารอาหารหรือคุณประโยชน์ใดๆเลย อีกทั้งจะเป็นตัวบั่นทอนสุขภาพกายอีกด้วย ดังนั้นหากเราได้รับรู้ถึงคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยแล้ว ก็จะทำให้เกิดความตระหนักในการบริโภคอาหารแต่ละมื้อมากขึ้น โดยคิดไว้เสมอว่า การกินอาหารที่ดีช่วยยืดชีวิตให้ยืนยาว เพื่อที่ตะได้ระมัดระวังการกินของตน และเลือกกินอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย
ต่อส่วนรวม :
1. ในคนหมู่มากในไวน์ มีสารพิเศษ "ฟลาโวนอยด์" ที่มี คุณสมบัติขัดขวางไขมัน ไม่ให้มาเกาะอุดตันตามผนังหลอดเลือด ที่เป็น สาเหตุหนึ่งอันก่อให้เกิดหัวใจขาดเลือด ทำให้คนมากมายยอมจ่ายเงินทีละมากๆ เพื่อเข้าร่วมขบวนการ "ดื่มไวน์เพื่อสุขภาพ" ซึ่งจริงๆแล้วสาร ฟลาโวนอยด์ตัวนี้ ยังสามารถหาได้ใน หอมหัวใหญ่ เมื่อคนส่วนใหญ่รู้ถึงความจริงข้อนี้แล้ว ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียเงินแพงๆเพื่อซื้อไวน์มาดื่ม
2. ประช่าชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ทันเวลา โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่นิยมกินอาหารแบบตะวันตกกัน ประกอบกับไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ทำให้มีการสะสมของไขมันในร่างกายและในเส้นเลือดสูง ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เมื่อกำหนดการกินหอมหัวใหญ่ในแต่ละวัน และนำไปทำเป็นส่วนประกอบของอาหารแล้ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ และช่วยป้องกันไขมันไม่ให้เกาะผนังเส้นเลือดอีกด้วย

         3. เรานำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านเรื่องนี้มาใช้ใน "ชีวิตจริง" อย่างไรได้บ้าง ?
ตอบ จากที่เราได้ทราบถึงสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆมาแล้วนั้น ก็สามารถทำให้พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราได้ดังนี้
1. สมุนไพรไทยนั้น นับได้ว่าเป็นมรดกทางธรรมชาติที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นเราจึงควรตระหนักในคุณค่าของสมุนไพรไทยชนิดนี้ เพื่อให้ชื่อของสมุนไพรไทยยังคงถูกพูดถึงตลอดไป โดยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของหอมหัวใหญ๋ที่ช่วยรักษาโรค ให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก ได้รับรู้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ และพัฒนาสมุนไพรไทยในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบผง แบบเม็ด และแบบน้ำเป็นต้น
ซึ่งสามารถทานได้ทุกวัย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้กิน
2. นำหอมหัวใหญ่มาปรับรูปแบบเพื่อให้เข้ากับวิถีการกินของเรา โดยหอมหัวใหญ่กับอาหารไทยนั้นเป็นตัวอย่างของภูมิปัญญาไทยที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะหอมหัวใหญ่มีสรรพคุณมากในการใช้รักษาโรค เมื่อนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารไทยแล้ว ก็จะเป็นอาหารที่มีความสมดุล มีไขมันต่ำ และมีเส้นใยสูง ดังนั้นหากส่วนประกอบของอาหารไทยมีคุณสมบัติเป็นยาแล้ว อาหารไทยจึงเป็นอาหารสุขภาพด้วย โดยการทานหอมหัวใหญ่นั้นมิใช่หมายถึงกินแบบดิบๆทั้งลูก แต่อาจนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆและนำไปปรุงร่วมกับอาหารที่ชอบ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราสามารถรับประทานสมุนไพรได้โดยไม่รู้สึกเหม็น หรือเผ็ดเลย
                                        +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


2.  ประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่องนี้ "ต่อตนเองและส่วนร่วม" คืออะไร ?
1. เรื่องนี้ "บอก"  อะไรกับเรา ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น