สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามิน
- สารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นคำที่พวกเราได้ยินได้ฟังค่อนข้างคุ้นหู แต่ส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจว่ามีความหมายอย่างไร ผู้เขียนได้พยายามอ่านทำความเข้าใจ ก็
เข้าใจไม่ง่ายนัก เพราะมิใช่นักวิชาการด้านโภชนาการ แต่ก็พยายามจะนำมาสรุปให้พวกเราเข้าใจกันสักนิด
- สารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้พวกอนุมูลอิสระก่อตัวขึ้น โดยจะทำการยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ และหยุดการก่อตัวใหม่
ของอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากตัวอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งช่วยกำจัดและแทนที่โมเลกุลที่ถูกทำลาย
- อนุมูลอิสระ คืออะไร อนุมูลอิสระ คือ โมเลกุลที่ไม่คงตัว จะวิ่งพล่าน เหมือนนักโทษอุกฉกรรจ์ที่แหกคุกมาก่อการร้าย สร้างปัญหาปฏิกริยาลูกโซ่ต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุด เนื่องจากเป็น
โมเลกุลที่ขาดอิเล็คตรอน จะไปชิง อิเล็คตรอนจากโมเลกุลตัวอื่น โมเลกุลที่ถูกชิงอิเล็คตรอนไป ก็จะไปชิงอิเล็คตรอนตัวอื่นอีกต่อๆไป หรือ นัยหนึ่งคือ อนุมูลอิสระเป็นตัวทำลายสมดุลของ
ระบบต่างๆในร่างกายทำให้โปรตีนในร่างกายไม่ทำงานตามปกติ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งเซลต่างๆในร่างกายมีอยู่ประมาณ 3 พันล้านเซลล์ จะถูกอนุมูลอิสระวิ่งเข้าช่วงชิง
ประมาณ 10,000 ครั้ง/วัน (ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) หากอนุมูลอิสระมีมากในร่างกายของผู้ใด มักจะปรากฏว่าเป็นโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด
หัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคข้ออักเสบ โรคแก่ก่อนวัยอันควร โรคต้อกระจก โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ฯลฯ เป็นต้น
อนุมูลอิสระ ที่มาจากแหล่งภายนอกร่างกาย เช่น มลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ แสงแดด ความร้อน และยาบางชนิด เป็นต้น - สารต้านอนุมูลอิสระ จะเป็นตัวช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระมิให้ไปทำลายเซลใดๆ โดยป้อนอิเล็คตรอนให้แก่อนุมูลอิสระ และขับไล่อนุมูลอิสระ ปกติในร่างกายของคนเราทุกคน ก็มีสารต้าน
อนุมูลอิสระ โดยได้มาจากการที่เรารับประทานอาหารต่างๆ โดยเฉพาะพวกผัก และผลไม้ เช่น บร๊อคโคลี่ กระหล่ำดอก กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ คื่นช่าย กุยช่าย สะระแหน่ญี่ปุ่น สะระแหน่
หญ้าหวาน ใบชะพลู เป็นต้น
1. วิตามินอี
มีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคไขมันในเลือดสูง ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ทำให้ผิวหนังสดชื่น ชะลอความแก่ กระตุ้นระบบภูมิ
คุ้มกันในร่างกายให้ขยันทำงาน ซึ่งวิตามินอี จะทำหน้าที่คล้ายกองกำลังลาดตระเวน คอยกำจัดอนุมูลอิสระ โดยวิตามินอี 1 โมเลกุล จะต้านทานอนุมูลอิสระได้ 1,000 ตัว และควร
เพิ่มวิตามินซี เพื่อเสริมทำให้วิตามินอีทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
วิตามินอี มีมากในเมล็ดข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน ดอกคำฝอย ถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ และปลา แต่แสงแดดและออกซิเจนทำให้สูญวิตามินอีได้ง่าย
น้ำมันที่ใช้หลายครั้ง คุณค่าวิตามินอีจะสูญหายไปหมด
2. วิตามินซี
- คณะนักวิจัยสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยว่า ถ้าบริโภควิตามินซี วันละ 200 มิลลิกรัม จะช่วยป้องกันมะเร็งในช่องปาก มะเร็งในหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอดได้
- แหล่งของวิตามินซี ได้แก่ ผักใบเขียว ใบสีเข้ม มีวิตามินซี มากกว่าใบสีอ่อน ผลไม้รสเปรี้ยว มักมีวิตามินซี มีข้อเสียที่สลายง่าย โดยความร้อน และอากาศ ผักผลไม้ที่เก็บนาน สูญ
วิตามินซีได้ 33 % ผักและผลไม้สดที่เก็บใหม่ๆจึงจะมีวิตามินซีสูง การหุงต้ม ทำลายวิตามินซีได้ถึง 50– 80 % การหั่นผัก ก็ทำลายวิตามินซี ใช้ไมโครเวฟทำลายวิตามินซีน้อยกว่าการหุงต้มปกติ
ิ3. เบต้าแคโรทีน
ทำหน้าที่ยับยั้งการเกิดมะเร็ง พบมากในพืชสีเหลือง สีส้ม หรือสีเขียวเข้ม เมื่อร่างกายได้รับสารดังกล่าวนี้ ร่างกายก็จะนำไปสังเคราะห์เป็นวิตามินเอให้แก่ร่างกายอีกด้วย โดย 1
โมเลกุล ของเบต้าแคโรทีนจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ 2 โมเลกุล โดยวิตามินเอ จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่วนเบต้าแคโรทีน จะหยุดยั้งการเจริญเติบ
โตของเซลมะเร็ง หากพบว่าเซลใดในร่างกายของมนุษย์ จะกลายเป็นเซลมะเร็ง มันจะเข้าไปทำลายเซลมะเร็งโดยทันที พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่าง
กายอีกด้วย
4. แซนโทฟิลด์
สามารถป้องกันการเสื่อมของสายตาได้ถึง 40 % ลดอัตราการเกิดต้อกระจกได้ 20 %
พบมาก ในผักขม ผักบร๊อคโคลี่ ไข่ พริกหยวกสีแดง ผักที่มีสีเขียวเหลือง ผลไม้สีส้ม สีแดง และสีเหลือง
5. สารประกอบฟินอลิค
เป็นสารกลุ่มใหญ่ พบทั่วไปในพืชเกือบทุกชนิด และมีสารฟลาโวนอยด์อยู่ในกลุ่มนี้ ช่วยต้านอาการแพ้ต่างๆ ต้านไวรัสตับอักเสบ กำจัดอนุมูลอิสระ (น้ำองุ่นสีม่วง ช่วยลดอาการโรค
หัวใจได้ดี เช่นเดียวกับชาเขียว ชาดำก็ใช้ได้ - ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนทำให้เกิดการอุดตัน โดยควรหาไว้ดื่มเป็นประจำ)
6. พืชผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่ควรรับประทานบ่อยๆ ได้แก่
- บร๊อคโคลี่ กระหล่ำดอก กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ ต้นกระเทียม กุยช่าย บัวบก คื่นช่าย
- ถั่วเหลือง ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ
- น้ำบัวบก
- ขมิ้น ตะไคร้
7. ผักและสมุนไพร กลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง-ต่ำ ที่ควรหามาไว้รับประทาน และดื่มเป็นประจำ มีดังนี้.-
7.1 มีสูง มีมากกว่า 12 หน่วย ได้แก่ หญ้าหวาน ผักเชียงคา ใบชะพลู หม่อน สะระแหน่ญี่ปุ่น และไพล เป็นต้น
7.2 มีปานกลาง มี 6.0 – 11.9 หน่วย ได้แก่ โหระพาช้าง (ยี่หร่า) ผักชีล้อม กระถิน ฟ้าทะลายโจร ผักปอด สะระแหน่ บัวบก กวาวเครือขาว ชุมเห็ดเทศ คื่นช่าย ผัก
แว่น เตย สะเดา ยอดมะระ ผักชีฝรั่ง และมะตูม เป็นต้น
7.3 มีต่ำ มี 1.0 – 5.9 หน่วย ได้แก่ โหระพา มะเขือเทศ ใบยอ ทองพันชั่ง ชะเอมไทย กระเจี๊ยบแดง คำฝอย ตะไคร้ มะขามแขก หญ้าแห้วหมู กระเพรา แมงลัก ข่า อบเชย
โป๊ยกัก ส้มป่อย เล็บครุฑ ขิง ย่านาง ตำลึง ขี้เหล็ก ผักขม กระเทียม ชะอม มะกรูด ผักชี ผักกระเฉด ผักบุ้งไทย กระชาย ยอดฟักทอง ต้นหอม เป็นต้น
เรื่อง
บทความของ อ.มงคล กริชติทายาวุธ
- สารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นคำที่พวกเราได้ยินได้ฟังค่อนข้างคุ้นหู แต่ส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจว่ามีความหมายอย่างไร ผู้เขียนได้พยายามอ่านทำความเข้าใจ ก็
เข้าใจไม่ง่ายนัก เพราะมิใช่นักวิชาการด้านโภชนาการ แต่ก็พยายามจะนำมาสรุปให้พวกเราเข้าใจกันสักนิด
- สารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้พวกอนุมูลอิสระก่อตัวขึ้น โดยจะทำการยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ และหยุดการก่อตัวใหม่
ของอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากตัวอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งช่วยกำจัดและแทนที่โมเลกุลที่ถูกทำลาย
- อนุมูลอิสระ คืออะไร อนุมูลอิสระ คือ โมเลกุลที่ไม่คงตัว จะวิ่งพล่าน เหมือนนักโทษอุกฉกรรจ์ที่แหกคุกมาก่อการร้าย สร้างปัญหาปฏิกริยาลูกโซ่ต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุด เนื่องจากเป็น
โมเลกุลที่ขาดอิเล็คตรอน จะไปชิง อิเล็คตรอนจากโมเลกุลตัวอื่น โมเลกุลที่ถูกชิงอิเล็คตรอนไป ก็จะไปชิงอิเล็คตรอนตัวอื่นอีกต่อๆไป หรือ นัยหนึ่งคือ อนุมูลอิสระเป็นตัวทำลายสมดุลของ
ระบบต่างๆในร่างกายทำให้โปรตีนในร่างกายไม่ทำงานตามปกติ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งเซลต่างๆในร่างกายมีอยู่ประมาณ 3 พันล้านเซลล์ จะถูกอนุมูลอิสระวิ่งเข้าช่วงชิง
ประมาณ 10,000 ครั้ง/วัน (ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) หากอนุมูลอิสระมีมากในร่างกายของผู้ใด มักจะปรากฏว่าเป็นโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด
หัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคข้ออักเสบ โรคแก่ก่อนวัยอันควร โรคต้อกระจก โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ฯลฯ เป็นต้น
อนุมูลอิสระ ที่มาจากแหล่งภายนอกร่างกาย เช่น มลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ แสงแดด ความร้อน และยาบางชนิด เป็นต้น - สารต้านอนุมูลอิสระ จะเป็นตัวช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระมิให้ไปทำลายเซลใดๆ โดยป้อนอิเล็คตรอนให้แก่อนุมูลอิสระ และขับไล่อนุมูลอิสระ ปกติในร่างกายของคนเราทุกคน ก็มีสารต้าน
อนุมูลอิสระ โดยได้มาจากการที่เรารับประทานอาหารต่างๆ โดยเฉพาะพวกผัก และผลไม้ เช่น บร๊อคโคลี่ กระหล่ำดอก กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ คื่นช่าย กุยช่าย สะระแหน่ญี่ปุ่น สะระแหน่
หญ้าหวาน ใบชะพลู เป็นต้น
1. วิตามินอี
มีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคไขมันในเลือดสูง ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ทำให้ผิวหนังสดชื่น ชะลอความแก่ กระตุ้นระบบภูมิ
คุ้มกันในร่างกายให้ขยันทำงาน ซึ่งวิตามินอี จะทำหน้าที่คล้ายกองกำลังลาดตระเวน คอยกำจัดอนุมูลอิสระ โดยวิตามินอี 1 โมเลกุล จะต้านทานอนุมูลอิสระได้ 1,000 ตัว และควร
เพิ่มวิตามินซี เพื่อเสริมทำให้วิตามินอีทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
วิตามินอี มีมากในเมล็ดข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน ดอกคำฝอย ถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ และปลา แต่แสงแดดและออกซิเจนทำให้สูญวิตามินอีได้ง่าย
น้ำมันที่ใช้หลายครั้ง คุณค่าวิตามินอีจะสูญหายไปหมด
2. วิตามินซี
- คณะนักวิจัยสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยว่า ถ้าบริโภควิตามินซี วันละ 200 มิลลิกรัม จะช่วยป้องกันมะเร็งในช่องปาก มะเร็งในหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอดได้
- แหล่งของวิตามินซี ได้แก่ ผักใบเขียว ใบสีเข้ม มีวิตามินซี มากกว่าใบสีอ่อน ผลไม้รสเปรี้ยว มักมีวิตามินซี มีข้อเสียที่สลายง่าย โดยความร้อน และอากาศ ผักผลไม้ที่เก็บนาน สูญ
วิตามินซีได้ 33 % ผักและผลไม้สดที่เก็บใหม่ๆจึงจะมีวิตามินซีสูง การหุงต้ม ทำลายวิตามินซีได้ถึง 50– 80 % การหั่นผัก ก็ทำลายวิตามินซี ใช้ไมโครเวฟทำลายวิตามินซีน้อยกว่าการหุงต้มปกติ
ิ3. เบต้าแคโรทีน
ทำหน้าที่ยับยั้งการเกิดมะเร็ง พบมากในพืชสีเหลือง สีส้ม หรือสีเขียวเข้ม เมื่อร่างกายได้รับสารดังกล่าวนี้ ร่างกายก็จะนำไปสังเคราะห์เป็นวิตามินเอให้แก่ร่างกายอีกด้วย โดย 1
โมเลกุล ของเบต้าแคโรทีนจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ 2 โมเลกุล โดยวิตามินเอ จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่วนเบต้าแคโรทีน จะหยุดยั้งการเจริญเติบ
โตของเซลมะเร็ง หากพบว่าเซลใดในร่างกายของมนุษย์ จะกลายเป็นเซลมะเร็ง มันจะเข้าไปทำลายเซลมะเร็งโดยทันที พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่าง
กายอีกด้วย
4. แซนโทฟิลด์
สามารถป้องกันการเสื่อมของสายตาได้ถึง 40 % ลดอัตราการเกิดต้อกระจกได้ 20 %
พบมาก ในผักขม ผักบร๊อคโคลี่ ไข่ พริกหยวกสีแดง ผักที่มีสีเขียวเหลือง ผลไม้สีส้ม สีแดง และสีเหลือง
5. สารประกอบฟินอลิค
เป็นสารกลุ่มใหญ่ พบทั่วไปในพืชเกือบทุกชนิด และมีสารฟลาโวนอยด์อยู่ในกลุ่มนี้ ช่วยต้านอาการแพ้ต่างๆ ต้านไวรัสตับอักเสบ กำจัดอนุมูลอิสระ (น้ำองุ่นสีม่วง ช่วยลดอาการโรค
หัวใจได้ดี เช่นเดียวกับชาเขียว ชาดำก็ใช้ได้ - ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนทำให้เกิดการอุดตัน โดยควรหาไว้ดื่มเป็นประจำ)
6. พืชผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่ควรรับประทานบ่อยๆ ได้แก่
- บร๊อคโคลี่ กระหล่ำดอก กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ ต้นกระเทียม กุยช่าย บัวบก คื่นช่าย
- ถั่วเหลือง ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ
- น้ำบัวบก
- ขมิ้น ตะไคร้
7. ผักและสมุนไพร กลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง-ต่ำ ที่ควรหามาไว้รับประทาน และดื่มเป็นประจำ มีดังนี้.-
7.1 มีสูง มีมากกว่า 12 หน่วย ได้แก่ หญ้าหวาน ผักเชียงคา ใบชะพลู หม่อน สะระแหน่ญี่ปุ่น และไพล เป็นต้น
7.2 มีปานกลาง มี 6.0 – 11.9 หน่วย ได้แก่ โหระพาช้าง (ยี่หร่า) ผักชีล้อม กระถิน ฟ้าทะลายโจร ผักปอด สะระแหน่ บัวบก กวาวเครือขาว ชุมเห็ดเทศ คื่นช่าย ผัก
แว่น เตย สะเดา ยอดมะระ ผักชีฝรั่ง และมะตูม เป็นต้น
7.3 มีต่ำ มี 1.0 – 5.9 หน่วย ได้แก่ โหระพา มะเขือเทศ ใบยอ ทองพันชั่ง ชะเอมไทย กระเจี๊ยบแดง คำฝอย ตะไคร้ มะขามแขก หญ้าแห้วหมู กระเพรา แมงลัก ข่า อบเชย
โป๊ยกัก ส้มป่อย เล็บครุฑ ขิง ย่านาง ตำลึง ขี้เหล็ก ผักขม กระเทียม ชะอม มะกรูด ผักชี ผักกระเฉด ผักบุ้งไทย กระชาย ยอดฟักทอง ต้นหอม เป็นต้น
เรื่อง
บทความของ อ.มงคล กริชติทายาวุธ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น