ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

อาหารฤดูร้อนห่างไกลพิษ

ฤดูร้อนมาเยือน อากาศอบอ้าว อุณหภูมิสูงปรี๊ด ช่างเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่กระจายล่องลอยอยู่ในอากาศทั่วทุกแห่ง พอตกลงไปในอาหารก็ทำให้อาหารบูด เมื่อรับประทานอาหารนั่นเข้าไปก็ทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้
อาหารปนเปื้อนในหน้าร้อนไม่ได้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ เพราะอาการบูดเน่าและอาหารที่มีแมลงวันตอมเท่านั้น แต่การกินอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนักเป็นพิษก็เป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของเราได้เหมือนกัน
โรคที่พึงระวังในหน้าร้อนไม่พ้น โรคทางเดินอาหาร ต่างๆ ทั้งโรคท้องร่วง-อาหารเป็นพิษ-โรคไทฟอยด์-อหิวาตกโรค-โรคบิด อ.สง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการ และผู้จัดการแผนงานโภชนาการเชิงรุก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่า โรคเหล่านี้มักมาในหน้าร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีงานเทศกาล มีการท่องเที่ยวและการเดินทางมากขึ้น อย่างไรก็ตามโรคดังกล่าวเหล่านี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ไม่ยาก หากเราใส่ใจ คิดให้ดีก่อนที่จะรับประทาน
สำหรับอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในหน้าร้อนมี 7ประเภท ดังนี้ 1.อาหารประเภทกะทิ เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ขนมพวกกะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่ง่ายต่อการบูดเสีย เชื้อจุลินทรีย์ชอบ ดังนั้น ต้องมั่นใจว่าเป็นอาหารปรุงสุกใหม่ ถ้ากินไม่หมดต้องนำเข้าตู้เย็นแล้วนำมาอุ่น ทางที่ดีควรรับประทานให้หมดภายในมื้อเดียว ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารประเภทกะทิที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ โดยเฉพาะอาหารแผงลอย ริมฟุธบาตก็น่าจะลดความเสี่ยงได้มากทีเดียว
2.อาหารประเภทยำที่มีเนื้อต่างๆ ทั้งหมู ไก่ ปลา อาหารทะเล รวมถึงส้มตำ สำหรับอาหารยำ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีลวก แต่ลวกไม่สุกทำให้เชื้อโรคไม่ตาย หากรับประทานเข้าไปเชื้อโรคก็อาจเข้าไปขยายพิษในร่างกาย ส่วนส้มตำน่าจะเป็นอาหารไทยที่ทำให้คนท้องเดินมากที่สุด ทั้งปลาร้าที่ไม่ผ่านการต้มสุก ปูดองดิบๆ ที่เชื้อจุลินทรีย์ซ่อนอยู่ในขาปูที่เราชอบดูด รวมทั้งถั่วลิสงป่นที่มีเชื้ออัลฟาท็อกซิน กุ้งแห้งใส่สีที่ไม่ได้ล้าง มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว มะละกอไม่ได้ล้างน้ำ ครกที่มีแมงลงวันตอม ซึ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่กินไม่ได้ แต่ขอให้เราใส่ใจเลือกแค่นั้นก็ปลอดภัยแล้ว
3.ขนมจีน มีความเสี่ยง ทั้งจากเส้นขนมจีน น้ำยากะทิ และผักสดที่ไม่ล้างหรือล้างไม่สะอาด เนื่องจากทั้งเส้นขนมจีนและกะทินั้นบูดง่ายมาก ส่วนผักไม่ว่าจะผักสด ผักดอง ก็ล้วนต้องระมัดระวัง 4.อาหารทะเล จะบูดเน่าง่ายในหน้าร้อน ก่อนกินต้องทำให้สุกทุกครั้ง โดยเฉพาะยำหอยแครง ปลาหมึก 5.อาหารค้างคืน หรืออาหารที่เหลือจากมื้ออื่น ต้องมั่นใจว่าไม่บูดเสีย และมีการอุ่นให้ได้ที่ ทางที่ดีควรกินอาหารปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง
6.อาหารที่มีแมลงวันตอม สักเกตได้ง่ายนิดเดียว โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จที่วางขายในภาชนะที่ไม่มีฝาและสิ่งใดปกปิด ที่สำคัญคงไม่ใช่แค่แมลงวันที่ไปไต่ตอม แต่พวกฝุ่นละออง เชื้อโรค ก็ร่วงหล่นลงไปในอาหารด้วย 7.น้ำดื่ม และน้ำแข็ง ต้องมั่นใจว่าเป็นน้ำดื่มที่อาดได้มาตรฐาน อย. น้ำแข็งที่แช่ร่วมกับอาหารนั้นเสี่ยงต่อการทำให้ท้องร่วงมาก ขณะเดียวกันน้ำที่ใส่เหยือกหรือกาไว้ก็ไม่น่าไว้ว่างใจเช่นเดียวกัน

“อาหารทั้ง 7 ประเภท ไม่ได้หน้าสะพรึงกลัวอย่างที่คิด เพียงแค่อยากให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากในฤดูร้อน เพราะเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทั่วไป” อ.สง่า  ดามาพงศ์ นักโภชนาการ และผู้จัดการแผนงานโภชนาการเชิงรุก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำ

อย่างไรก็ตามความสุขจากการกินอาหารในหน้าร้อน คงไม่ได้มองเพียงเรื่องอาหารปลอดภัยเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ และประเภทอาหารที่กินเข้าไปไม่ให้เพิ่มความรุ่มร้อน แต่ในทางตรงข้าม ได้เพิ่มความเย็นสบาย ด้วย โดยนักโภชนาการ มีข้อแนะนำในการรับประทานอาหารดังนี้
1.ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพราะหน้าร้อนร่างกายเสียเหงื่อมาก ต้องได้น้ำเข้าไปทดแทน จะเป็นน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาก็ได้ แต่ระมัดระวังน้ำอัดลม ดื่มได้แต่อาจเพิ่มแก๊สให้อึดอัดท้อง และเพิ่มน้ำตาลกลายเป็นพลังงานส่วนเกิน ทำให้อ้วนได้ ทางที่ดีในแต่ละวันควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว 2.หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และเค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูงย่อยยาก ให้พลังสูง เพื่อความร้อนมากขึ้นได้ และ3.กินผลไม้ไทยๆ ที่มีรสหวานน้อยเป็นประจำช่วยดับร้อนได้ดีทั้งชมพู ส้ม แตงโม แก้วมังกร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลไม้ที่มีน้ำมากกว่า 90%4.รับประทานอาหารไทยๆ เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงป่า แกงอ่อม เป็นต้น 5. ออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
นักโภชนาการแนะอาหาร 7 ประเภทที่ควรเลี่ยงหน้าร้อน
แกงกะทิ-ยำ อาหารที่ควรเลี่ยงในช่วงหน้าร้อน

อ.สง่า ยังแสดงความเป็นห่วงเด็กๆ ในช่วงปิดเทอม เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเมื่อเด็กปิดเทอมนั้น เสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคอ้วน น้ำหนักขึ้น เพราะเมื่ออยู่บ้านเด็กมีอิสระในการกิน อาจทำให้เด็กกินอาหารมากและถี่ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพ่อแม่ผู้ปกครองกลัวว่าลูกจะอดก็ซื้ออาหารตุนไว้ที่บ้าน ทั้งขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ยิ่งเป็นตัวการที่ทำให้เด็กอ้วนไม่รู้ตัว ดังนั้น สิ่งที่ควรมีติดตู้เย็นไว้มากที่สุด คือ ผลไม้ที่รับประทานง่าย ความหวานน้อย และการเอาใจใส่ของพ่อแม่       
เพียงเท่านี้ก็จะเป็นฤดูร้อนที่มีความสุข ห่างไกลความทุกข์ ที่เกิดจากอาหารเป็นพิษนะคะ
ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Content/20119

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น