ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

7 อันดับโรคร้ายแรง คนไทยกลัว “มะเร็ง” มากสุด

7 อันดับโรคร้ายแรง คนไทยกลัว “มะเร็ง” มากสุด เอแบคโพลล์ เผย 7 โรคร้ายแรงที่คนไทยกลัว “มะเร็ง” อันดับหนึ่ง เบาหวาน รั้งที่สอง ความดันโลหิต อันดับที่สาม เชื่ออาหารกระป๋องมีการปนเปื้อนสารเคมีมากที่สุด

      
       ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง สังเคราะห์งานวิจัยสู่ข้อเสนอโมเดล ลดปัจจัยเสี่ยงจากวิถีอาหารปลอดภัย ผลวิจัยของเอแบคโพลล์ กับกลุ่มคนกรุงเทพฯ ในปี 2554 พบว่า 7 อันดับแรกของโรคร้ายแรงที่คนไทยกลัว ได้แก่ อันดับแรก ร้อยละ 71.9 โรคมะเร็ง
      
       อันดับที่สอง ร้อยละ 53.2 ระบุ โรคเบาหวาน อันดับที่สาม ร้อยละ 47.1 ระบุ โรคความดันโลหิต อันดับที่สี่ ร้อยละ 46.3 ระบุ โรคหัวใจและหลอดเลือด อันดับที่ห้า ร้อยละ 41.4 ระบุโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันดับที่หก ร้อยละ 39.3 ระบุโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และอันดับที่เจ็ด ร้อยละ 38.9 ระบุโรคไต ตามลำดับ
      
       นอกจากนี้ ยังพบว่า ร้อยละ 65.0 ระบุ สารพิษปนเปื้อนในอาหาร คือ ยาฆ่าแมลง รองลงมาคือ ร้อยละ 58.1 ระบุ ผงชูรส ร้อยละ 57.1 ระบุ สารกันบูด ร้อยละ 47.4 ระบุ สีผสมอาหาร ร้อยละ 47.2 ระบุ สารบอแร็กซ์ ร้อยละ 41.2 ระบุ สารแต่งกลิ่นและรส ตามลำดับ
      
       สำหรับประเภทอาหารที่เชื่อว่ามีสารปนเปื้อนมากที่สุด ร้อยละ 20.5 ระบุ ประเภทอาหารกระป๋อง รองลงมาคือ ร้อยละ 20.3 ระบุ อาหารประเภทปิ้งย่าง ร้อยละ 19.7 ระบุ อาหารตามสั่ง ร้อยละ 13.8 ระบุ อาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 12.7 ระบุ อาหารประเภทฟาสต์ฟูด ร้อยละ 6.6 ระบุ อาหารประเภททอด ร้อยละ 3.9 ระบุอาหารแช่แข็ง และร้อยละ 2.5 ระบุ อาหารประเภทจิ้มจุ่ม ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้ตัดสินใจเลือกทานอาหารปลอดภัยในความคิดเห็นของสาธารณชน ร้อยละ 77.4 ระบุ คุณภาพของวัตถุดิบ สดใหม่สะอาด รองลงมาคือ ร้อยละ 67.8 ระบุ รสชาติ ร้อยละ 55.4 ระบุ ราคา ร้อยละ 38.5 ระบุ ความสะอาดของบรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 35.9 ระบุ แบรนด์ ร้อยละ 33.4 ไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ร้อยละ 29.8 ระบุ คุณค่าทางโภชนาการ ร้อยละ 23.5 ระบุ วัตถุดิบที่ปราศจากสารพิษ และร้อยละ 9.3 ระบุ มีฉลากบอกคุณค่าทางโภชนาการ ตามลำดับ

ที่มา : http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9550000124759

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น