ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อึ้ง! ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร พบสารเคมีตกค้างมากถึงร้อยละ 87.5

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผัก-ผลไม้ที่ได้รับรองมาตรฐานมีสารตกค้างร้อยละ 87.5


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ เพื่อหาสารเคมีตกค้างปี 2557 พบผัก-ผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มีสารตกค้างสูงถึงร้อยละ 87.5 ซึ่งมากกว่าผัก-ผลไม้ ที่วางขายในตลาดทั่วไป



หากจำแนกตามประเภทแหล่งจำหน่าย พบว่าผักผลไม้ที่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด คือผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตรารับรองมาตรฐาน "Q" พบการตกค้างมากถึงร้อยละ 87.5 และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน MRL มากถึงร้อยละ 62.5 รองลงมาคือผักผลไม้ที่จำหน่ายในห้างค้าปลีก ส่วนแหล่งที่พบผักผลไม้เกินมาตรฐาน MRL น้อยที่สุดกลับเป็นตลาดทั่วไป โดยผลผลิตที่มีสายเคมีตกค้างมากที่สุด ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง รองลงมาคือฝรั่ง ส่วนที่พบสารตกค้างน้อยสุดคือแตงโมและพริกแดงนายพชร แก้วกล้า ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่าจากการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ เพื่อหาสารเคมีตกค้างปี 2557 จาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และยโสธร รวม 118 ตัวอย่าง ซึ่งผลการวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่าผักผลไม้เกินครึ่งหนึ่งที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยพบการตกค้างที่เกินมาตรฐาน MRL หรือ ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดในสินค้าเกษตรของไทย มากถึงร้อยละ 46.6
อย่างไรก็ตามสารเคมีที่พบตกค้างในผักผลไม้ทุกชนิด คือคลอร์ไพริฟอสและไซเปอร์เมทริน รวมทั้งสารคาร์เบนดาซิม ที่พบตกค้างในส้ม แอปเปิ้ลและสตรอว์เบอร์รี่ สูงกว่าค่า MRL หลายเท่าตัว เพราะคาร์เบนดาซิม เป็นสารดูดซึมตกค้างเข้าไปในเนื้อเยื่อผลไม้และไม่สามารถล้างออกได้ แต่ถ้าเป็นสารพิษชนิดอื่นที่ไม่ใช่สารดูดซึม หากนำผลไม้ล้างด้วยน้ำสารพิษจะลดลงได้ร้อยละ 40-80
องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เสนอให้กรมวิชาการเกษตร รวมทั้งสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ องค์การอาหารและยา ปฎิรูปการออกเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร นอกจากนี้ให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ประกาศห้ามใช้สารเคมีที่อันตรายร้ายแรง ขณะที่กรมวิชาการเกษตร ต้องควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรงและดูดซึมอย่างเข้มงวด

คลิกดูข่าว TPBS นำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://youtu.be/aIg4hgAmn34

ที่มา : http://news.thaipbs.or.th/content/มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผัก-ผลไม้ที่ได้รับรองมาตรฐานมีสารตกค้างร้อยละ-87.5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น