คนไทยทั้งประเทศ เสียภาษีแค่ 2 ล้านคน และครึ่งหนึ่งมาจากคน 30000 คน
รายงานผลสำรวจของสำนักงานสถิตแห่งชาติในปี 2553 ระบุว่าแรงงานในระบบของไทยทั้งหมดมีประมาณ 38 ล้านคน แบ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน และกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น หมอ วิศวะ ก่อสร้าง เกษตรกร แท็กซี่ หาบเร่แผงลอยอีก 21 ล้านคน
แต่ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน ได้รับค่าแรงไม่ถึง 300 บาทต่อวัน มีจำนวน 11.5 ล้านคน กลุ่มนี้อยู่นอกฐานภาษีของกรมสรรพากร เพราะมีรายได้ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ส่วนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่เหลือ 5.5 ล้านคน ได้รับค่าแรงเกินวันละ 300 บาท เมื่อรวมกับกลุ่มอาชีพอิสระจำนวน 21 ล้านคน จะมีจำนวนผู้เสียภาษี 26.5 ล้านคน ปรากฏว่าในปี 2554 มีคนมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 กับกรมสรรพากรแค่ 11.7 ล้านคน แต่อีก 14.8 ล้านคน ไม่มายื่นแบบเสียภาษี
มีคำถามว่า แล้วคนกลุ่มนี้อยู่ที่ไหน ประเด็นนี้ นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงว่า คนไทยมีประมาณ 66 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบ 38 ล้านคน ส่วนที่เหลือ 28 ล้านคน เป็นเด็ก คนชรา พระภิกษุ และผู้ช่วยครัวเรือน
พร้อมกับยืนยันว่า จริงๆ จำนวนผู้ที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91) ไม่ได้ลดลง ตรงกันข้ามตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 8 ล้านคน เป็น 9 ล้านคน และปัจจุบัน 11.7 ล้านคน แต่ในบรรดาคนที่มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91 จำนวน 11.7 ล้านคนนั้น มีผู้ที่เสียภาษีจริงๆ แค่ 2 ล้านคน อีกประมาณ 9 ล้านคน เข้ามายื่นภาษีฯ อยู่ในระบบแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี จึงหลุดออกไปอยู่นอกฐานภาษี
ข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุในรายละเอียดว่า กลุ่มผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคธรรมดา 2 ล้านคนนั้น มีผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 37% ของรายได้สุทธิ อยู่ประมาณ 30,000 คน ซึ่งจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ อย่างในปีงบประมาณ 2554 กรมสรรพากรเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 236,339 ล้านบาท ซึ่งมีผู้มีรายได้สูงประมาณ 30,000 คนนี้ จ่ายภาษีประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยจ่ายภาษีคนละ 4 ล้านบาทต่อปี ส่วนผู้เสียภาษีที่เหลืออีกประมาณเกือบ 2 ล้านคน จ่ายภาษีได้ประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยต่อหัวจ่ายภาษีคนละประมาณ 60,000 บาทต่อปี
ดังนั้น ประเทศไทยมีบุคคลธรรมดาที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงแค่ 2 ล้านคนเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีมนุษย์เงินเดือน11.7 ล้านคน
แต่ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน ได้รับค่าแรงไม่ถึง 300 บาทต่อวัน มีจำนวน 11.5 ล้านคน กลุ่มนี้อยู่นอกฐานภาษีของกรมสรรพากร เพราะมีรายได้ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ส่วนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่เหลือ 5.5 ล้านคน ได้รับค่าแรงเกินวันละ 300 บาท เมื่อรวมกับกลุ่มอาชีพอิสระจำนวน 21 ล้านคน จะมีจำนวนผู้เสียภาษี 26.5 ล้านคน ปรากฏว่าในปี 2554 มีคนมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 กับกรมสรรพากรแค่ 11.7 ล้านคน แต่อีก 14.8 ล้านคน ไม่มายื่นแบบเสียภาษี
มีคำถามว่า แล้วคนกลุ่มนี้อยู่ที่ไหน ประเด็นนี้ นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงว่า คนไทยมีประมาณ 66 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบ 38 ล้านคน ส่วนที่เหลือ 28 ล้านคน เป็นเด็ก คนชรา พระภิกษุ และผู้ช่วยครัวเรือน
พร้อมกับยืนยันว่า จริงๆ จำนวนผู้ที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91) ไม่ได้ลดลง ตรงกันข้ามตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 8 ล้านคน เป็น 9 ล้านคน และปัจจุบัน 11.7 ล้านคน แต่ในบรรดาคนที่มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91 จำนวน 11.7 ล้านคนนั้น มีผู้ที่เสียภาษีจริงๆ แค่ 2 ล้านคน อีกประมาณ 9 ล้านคน เข้ามายื่นภาษีฯ อยู่ในระบบแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี จึงหลุดออกไปอยู่นอกฐานภาษี
ข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุในรายละเอียดว่า กลุ่มผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคธรรมดา 2 ล้านคนนั้น มีผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 37% ของรายได้สุทธิ อยู่ประมาณ 30,000 คน ซึ่งจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ อย่างในปีงบประมาณ 2554 กรมสรรพากรเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 236,339 ล้านบาท ซึ่งมีผู้มีรายได้สูงประมาณ 30,000 คนนี้ จ่ายภาษีประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยจ่ายภาษีคนละ 4 ล้านบาทต่อปี ส่วนผู้เสียภาษีที่เหลืออีกประมาณเกือบ 2 ล้านคน จ่ายภาษีได้ประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยต่อหัวจ่ายภาษีคนละประมาณ 60,000 บาทต่อปี
ดังนั้น ประเทศไทยมีบุคคลธรรมดาที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงแค่ 2 ล้านคนเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีมนุษย์เงินเดือน11.7 ล้านคน
ธนาคารโลกระบุไทยจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่ามาตรฐาน
จากข้อมูลผลการศึกษาของธนาคารโลกปี 2551 ระบุว่า ประเทศไทยควรจะเก็บภาษีได้ 21.35% ของจีดีพี แต่ปรากฏว่าเก็บได้จริงเพียงแค่ 16.20% ของจีดีพีเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของไทยอยู่ในระดับต่ำมากแค่ 0.76% และถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.90% ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.08%
ปัจจุบัน โครงสร้างของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยเป็นระบบภาษีอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได มีอยู่ 5 อัตรา แปรผันตามช่วงของเงินได้ เริ่มจากยกเว้นภาษี, 10%, 20%, 30% และ 37% ตามแต่อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) อยู่ที่ระดับ 3.7-4.7% เท่านั้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 52.6% ของจีดีพี นอกจากนี้ยังให้สิทธิลดหย่อนภาษีมากเกินไป จนทำให้ผู้ที่มีรายได้ดีนิยมใช้เป็นเครื่องมือหลบเลี่ยงภาษี
โครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปีที่ธนาคารโลกทำการศึกษา พบว่ามีผู้ประกอบการจดทะเบียนในรูปของบริษัท, ห้างหุ้นส่วนทั้งหมด 327,127 ราย ประกอบด้วย
1. บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 523 บริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บได้ทั้งหมด หรือ ประมาณ 28.5% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลมี 153,383 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บได้ หรือ ประมาณ 71.5% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนที่เหลืออีก 173,221 บริษัท ไม่ได้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร
ส่วนกลุ่มบริษัทห้างร้านที่เข้ามาอยู่ในฐานภาษีของกรมสรรพากรแล้ว ปรากฏว่ามีบริษัทเป็นจำนวนมากได้รับสิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท อาทิ บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอได้รับยกเว้นภาษี 8 ปี, ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี, กำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียภาษีที่อัตรา 15% และหากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เสียภาษีที่อัตรา 25% และถ้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใหม่เสีย 20% ทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงอยู่ที่ 23.9%
จากข้อมูลผลการศึกษาของธนาคารโลกปี 2551 ระบุว่า ประเทศไทยควรจะเก็บภาษีได้ 21.35% ของจีดีพี แต่ปรากฏว่าเก็บได้จริงเพียงแค่ 16.20% ของจีดีพีเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของไทยอยู่ในระดับต่ำมากแค่ 0.76% และถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.90% ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.08%
ปัจจุบัน โครงสร้างของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยเป็นระบบภาษีอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได มีอยู่ 5 อัตรา แปรผันตามช่วงของเงินได้ เริ่มจากยกเว้นภาษี, 10%, 20%, 30% และ 37% ตามแต่อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) อยู่ที่ระดับ 3.7-4.7% เท่านั้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 52.6% ของจีดีพี นอกจากนี้ยังให้สิทธิลดหย่อนภาษีมากเกินไป จนทำให้ผู้ที่มีรายได้ดีนิยมใช้เป็นเครื่องมือหลบเลี่ยงภาษี
โครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปีที่ธนาคารโลกทำการศึกษา พบว่ามีผู้ประกอบการจดทะเบียนในรูปของบริษัท, ห้างหุ้นส่วนทั้งหมด 327,127 ราย ประกอบด้วย
1. บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 523 บริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บได้ทั้งหมด หรือ ประมาณ 28.5% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลมี 153,383 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บได้ หรือ ประมาณ 71.5% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนที่เหลืออีก 173,221 บริษัท ไม่ได้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร
ส่วนกลุ่มบริษัทห้างร้านที่เข้ามาอยู่ในฐานภาษีของกรมสรรพากรแล้ว ปรากฏว่ามีบริษัทเป็นจำนวนมากได้รับสิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท อาทิ บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอได้รับยกเว้นภาษี 8 ปี, ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี, กำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียภาษีที่อัตรา 15% และหากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เสียภาษีที่อัตรา 25% และถ้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใหม่เสีย 20% ทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงอยู่ที่ 23.9%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น