วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันพุธที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
วันแม่แห่งชาติ ที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับ วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ และถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วย
ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์และเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นใจ จึงยกย่องให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ เป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาติ ซึ่งทางราชการให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา อ่านเพิ่มเติม
แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่ มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรก เป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขวัญวันแม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พุทธศักราช ๒๕๑๙ ทางราชกาารได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า
"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด
หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของประชาชนชาวไทยทั้งมวล"
ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ
ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนดวัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า
"เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกลก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปีติ แล้วจึงหัวเราะออกลักษณะการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนั้นย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"
และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า
"เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่เป็นเสียและความหมายที่ซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณ และความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงเรียกตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็นแม่มาก็หัวเราะทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่ เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมด
ต่อมาถึง พุทธศักราช ๒๕๑๙ ทางราชกาารได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า
"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด
หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของประชาชนชาวไทยทั้งมวล"
ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ
ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนดวัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า
"เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกลก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปีติ แล้วจึงหัวเราะออกลักษณะการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนั้นย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"
และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า
"เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่เป็นเสียและความหมายที่ซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณ และความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงเรียกตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็นแม่มาก็หัวเราะทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่ เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมด
เราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"
อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่งและกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า
อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่งและกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลสดใสหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
ที่มา : http://guru.sanook.com/2537/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น