ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพ




สิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ทั้งในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่างๆ เช่น การเอื้อประโยชน์ต่อกัน การแก่งแย่งแข่งขันกัน เป็นศัตรูต่อกันและที่สำคัญที่สุด คือเป็นอาหารซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานแก่กันในระบบนิเวศ โดยผ่านการกินกันเป็นทอดๆ ตามลำดับเรียกว่าห่วงโซ่อาหาร (food chain) ห่วงโซ่อาหารอาจจะสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนในรูปของสายใยอาหาร (food web) ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบบต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย เราแบ่งชนิดความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศได้ หลายรูปแบบดังนี้

ความสัมพันธ์ด้านอาหาร

ความสัมพันธ์ด้านอาหาร แบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ
1.
ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมในระบบนิเวศ เช่น กลุ่มพืช สามารถสร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์
2.
ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ สิ่งมีชีวิตพวกนี้จะกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร เป็นผู้บริโภคนั่นเอง เช่น สัตว์ต่างๆ ซึ่งเราแบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ ผู้บริโภคพืชเป็นอาหาร ได้แก่ วัว ควาย ม้า ช้าง ฯลฯ ผู้บริโภคสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต เหยี่ยว งู ฯลฯ ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น คน สุนัข นก แมว และผู้บริโภคซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร เช่น ไส้เดือน นกแร้ง ปลวก ฯลฯ
3.
ผู้ย่อยอินทรีย์สาร (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ จะบริโภคอาหารโดยการย่อยสลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตายลงเป็นอาหาร ได้แก่ พวกจุลินทรีย์ เป็นต้น

ความสัมพันธ์กันตามภาวะการล่าเหยื่อ

ความสัมพันธ์กันตามภาวะการล่าเหยื่อ (predation) เป็นความสัมพันธ์พื้นฐานในการหาอาหารของสิ่งมีชีวิต คือ
1.
ผู้ล่า (predator) เป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์ จะมีขนาดใหญ่กว่า แข็งแรงกว่าอีกฝ่ายที่เสียประโยชน์
2.
เหยื่อ (prey) เป็นฝ่ายที่เสียประโยชน์เพราะถูกกินเป็นอาหาร จะมีขนาดเล็กกว่าอ่อนแอกว่า เช่น สิงโตล่ากวาง แมวจับหนู เหยี่ยวล่ากระต่าย นกกินหนอน งูกินนก เหยี่ยวกินงู เป็นต้น


ความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์

ความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์

1.ภาวะปรสิต (parasitism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ อีกฝ่ายเสียประโยชน์ โดยฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จะอาศัยอยู่ในร่างกายของผู้เสียประโยชน์ เรียกว่าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับประโยชน์ว่า ปรสิต (parasite) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่เสียประโยชน์ว่า ผู้ถูกอาศัย (host) โดยปรสิตจะแย่งอาหารหรือกินบางส่วนของร่างกายผู้ถูกอาศัย เช่น กาฝากบนต้นไม้ กาฝากเป็นปรสิตได้รับอาหารจากต้นไม้ที่อยู่อาศัย ฝ่ายต้นไม้จะเสียประโยชน์เพราะถูกแย่งอาหารไป
2.
ภาวะอิงอาศัย (commensalism)เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ พลูด่าง ที่เกาะบนเปลือกต้นไม้ จะใช้ต้นไม้เป็นแหล่งที่อยู่และให้ความชื้นโดยไม่เบียดเบียนอาหารจากต้นไม้เลย
3.
ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (protocooperation) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันตางฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่เมื่อแยกออกจากกันแต่ละฝ่ายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง เช่น ผีเสื้อกับดอกไม้ นกเอี้ยงบนหลังควาย มดดำกับเพลี้ย ซีแอนนีโมนีที่เกาะอยู่บนหลังปูเสฉวน เป็นต้น
4.
ภาวะพึ่งพากัน (mutualism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยอยู่ด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน หากแยกออกจากกันไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียไรโซเบียมจะจับไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรด ส่วนแบคทีเรียได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่อยู่ในรากพืช รากับสาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นไลเคน โดยสาหร่ายสร้างอาหารได้เองแต่ต้องอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ส่วนราก็อาศัยดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นกับสาหร่าย
5.
ภาวะมีการย่อยสลาย (saprophuistm) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้รับประโยชน์จากซากของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น แบคทเรีย รา และเห็ด

ที่มา : http://thitiwatwonghirundeha.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น