ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์
บทนำ
๒. ข้อเท็จจริงที่ว่าการวิจัยมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสูญญากาศ หากเกิดขึ้นและปฏิบัติการท่ามกลางความเชื่อ ค่านิยม ระบบอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของมนุษย์และสังคมนั้น ๆ สภาพการณ์นี้ทำให้เรามักพบเสมอว่า มาตรฐานจริยธรรมในการวิจัยกำหนดได้ยาก ไม่เป็นสากล และเป็นสาเหตุทำให้เกิดจริยธรรมที่มีมาตรฐาน ๒ ระดับ ( double standard ) ที่แตกต่างกันต่อเรื่องเดียวกัน เช่นมาตรฐานทางจริยธรรมเมื่อทำวิจัยในประเทศพัฒนา จะแตกต่างจากในประเทศด้อยพัฒนา ทั้ง ๆ ที่เป็นนักวิจัยหรือการวิจัยในเรื่องเดียวกัน คือในสังคมซึ่งรู้จักสิทธิ และสนใจสิทธิของตนเอง นักวิจัยอาจจำเป็นจะต้องจำกัดสิทธิของตนเองด้วยการยืดถือจริยธรรมเป็นกรอบ แต่ในสังคมซึ่งยังขาดสิทธิ หรือไม่รู้จักสิทธิของตนเอง นักวิจัยก็มีโอกาสที่จะใช้สิทธิในการวิจัยตามความต้องการของตนเองได้มาก ในลักษณะนี้ จริยธรรมเกิดขึ้นจากการควบคุมของภายนอก ซึ่งผู้วิจัยหรือให้ทุนวิจัยที่ขาดจิตสำนึกจากภายใน ก็อาจจะหาวิธีและโอกาสหลีกเลี่ยงหรือสร้างข้ออ้างที่ชอบธรรมขึ้นมา เมื่องานของตนเองถูกวิจารณ์ในแง่จริยธรรมการวิจัยแบบนี้จึงมิได้ช่วยพัฒนารากฐานแห่งความคิดทางจริยธรรมของนักวิจัย และทำให้เรื่องของจริยธรรมกลายเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภายนอก มิใช่เรื่องในวิถีชีวิตปกติ เหมือนดังที่บทความของ Donna L. Deyhle และคณะเสนอไว้ในบทสรุปว่า จริยธรรมมิใช่ประเด็นที่จะพูดถึงเมื่อนักวิจัยจะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลหรือเมื่อจะทำวิจัยเท่านั้น หากจริยธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตหรือการประพฤติปฏิบัติในทุกขณะของชีวิตบุคคลสาระที่ผู้เขียนสนใจ และพยายามที่จะคิดแล้วนำเสนอให้สืบเนื่องจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น คือ๑.ฐานคิดทางจริยธรรมตามทัศนะของผู้เขียน และฐานคิดดังกล่าวนำไปสู่กรอบหรือเกณฑ์การวินิจฉัยประเด็นจริยธรรมในการวิจัยอย่างไร๒. หากเราต้องการให้จริยธรรมในการวิจัยเป็นเรื่องของวิถีชีวิต มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิดถึงเฉพาะเวลาจะลงเก็บข้อมูล หรือคิดจะทำวิจัยเท่านั้น ฐานคิดของการวิจัยและจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร๑. ฐานคิดทางจริยธรรม
ในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐานคิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐานคิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐานคิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐานคิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ๑.๑ จริยธรรมในระดับสมมุติสัจจะ เป็นจริยธรรมระดับของคุณธรรมหรือศีลธรรมซึ่งกำหนดขึ้นจากระบบความเชื่อหรือคุณค่าของสังคมนั้น ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ซึ่งแต่ละสังคมอาจแตกต่างกันไปได้ ตามเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมและสภาพสังคมแต่ละยุคแต่ละถิ่น เช่น การเอื้อเฟื้อให้ที่นั่งแก่เด็ก เป็นความดีในสังคมไทย แต่ในสังคมซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์พึงได้รับการฝึกให้ช่วยตนเองให้มากที่สุด เช่น สังคมญี่ปุ่น การลุกให้เด็กนั่ง ไม่ถือเป็นความดี เพราะในสังคมอุตสาหกรรมการช่วยตนเองได้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง จริยธรรมระดับนี้ จึงถูกกำหนดโดยมนุษย์ และอาจเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม ยุคสมัย ( ทุนนิยมมีจริยธรรมแบบหนึ่ง สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง) จริยธรรมในระดับนี้ จะสร้างความสงบสุขในสังคมได้เพียงใด ขึ้นกับว่าจริยธรรมนั้น อิงอยู่บนฐานของจริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ (ความจริงสูงสุดตามธรรมชาติ) หรือระดับที่ ๒ มากเพียงใด๑.๒ จริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ คือจริยธรรมที่ตั้งอยู่บนสัจจะสูงสุดหรือกฎความจริงของโลก ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สถานที่ บุคคล สังคม ฯลฯ เป็นจริยธรรมที่ไม่ได้กำหนดโดยมนุษย์ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่อยู่เหนือสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลก กำหนดให้มนุษย์ต้องทำตาม เพื่อให้เกิดสมดุลและปกติภาวะในการดำรงอยู่ของโลก กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือปรมัตถ์สัจจะดังกล่าวคือ สรรพสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม ในเชิงพึ่งพาอาศัย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ความสัมพันธ์นี้เชื่อมโยงอยู่ในลักษณะเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดสิ่งนี้ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ( ความรู้ในเรื่องนิเวศวิทยา ช่วยยืนยันสภาวะความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ) มนุษย์ในฐานะปัจจัยย่อยหนึ่งของระบบธรรมชาติย่อมต้องขึ้นกับกฎธรรมชาตินี้ด้วย ในทัศนะของพุทธศาสนา มนุษย์มิได้เป็นศูนย์กลางของธรรมชาติ(โลก) ที่สามารถอยู่อย่างเอกเทศ มีอำนาจในการควบคุมธรรมชาติเหมือนความคิดความเชื่อของปรัชญาตะวันตก ซึ่งเป็นฐานคิดของวิทยาศาสตร์แบบวัตถุหรือปริมาณดังนั้น การจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ปราศจากความยุติธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จึงเป็นสภาวะที่ขัดกับกฎธรรมชาติ สังคมนั้นไม่สามารถจะมีสันติภาพ (สันติภาวะ) คือสมดุลหรือดุลยภาพได้ เช่นเดียวกับการที่มนุษย์สัมพันธ์กับระบบนิเวศอย่างไม่สมดุล คือใช้ความรู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะข้อกำหนดของธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการหรือความพอใจ(ซึ่งไม่ที่ที่สิ้นสุด)ของมนุษย์ พฤติกรรมนี้จะทำลายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่ซับซ้อนเกินความหยั่งรู้ของมนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ การทำลายล้างดังกล่าว จะย้อนกลับมาลงโทษมนุษย์ด้วยอย่างรุนแรงและหลีกหนีไม่พ้น ตามกฎแห่งการกระทำ(กรรม ) เช่น ความแปรปรวนของภูมิอากาศ การลดลงของชั้นโอโซน อันเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง การระบาดของโรคพืช สัตว์ มนุษย์ อันเนื่องมาจากกลไกการควบคุมกันเองของแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ถูกทำลายลงจากความแปรปรวนในระบบนิเวศ ที่สืบเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมทั้งความแปรปรวนในพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์เองด้วยผู้เขียนเชื่อว่า จริยธรรมระดับที่ ๒ มิใช่ข้อกำหนดที่ให้เลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา จะทำตามหรือไม่ทำตาม คือไม่ว่าจะชอบหรือไม่อย่างไร ก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้แล้วทำตามกฎธรรมชาตินี้ หากมนุษย์ต้องการที่จะดำรงเผ่าพันธุ์และมีสังคมที่สงบสุข เพราะจริยธรรมนี้อยู่เหนือการกำหนดและการต่อรองของมนุษย์๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ จากฐานคิดทางจริยธรรมดังกล่าว ผู้เขียนมีความเห็นหรือมุมมองในเรื่องของจริยธรรมและการวิจัยดังนี้๒.๑ จริยธรรมมิใช่เป็นเพียงเรื่องของความดีความเลว(สมมุติสัจจะ) แต่เป็นเรื่องของความจริงด้วย บรรทัดฐานของจริยธรรมในสังคม จะต้องตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ของธรรมชาติหรือโลก จึงจะทำให้สังคมสงบสุขอย่างยั่งยืนได้ การประพฤติปฏิบัติตามจริยธรรม จึงเป็นเรื่องกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตบุคคล เพื่อเข้าสู่สภาวะธรรมชาติ เกิดความหยั่งรู้ถึงกฎเกณฑ์ของโลกมากขึ้น และปฏิบัติตามได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนทั้งระดับบุคคลและสังคม๒.๒ จริยธรรมเป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์ที่อิงกับกฎความจริงของธรรมชาติ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จึงต้องเป็นไปอย่างอิงอาศัยกัน เป็นผู้ให้และผู้รับ ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น สังคมซึ่งคนหมู่มากไม่ได้รับความเป็นธรรม มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำแตกต่างมาก มีฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจกระทำต่ออีกฝ่ายหนึ่งอยู่ตลอดเวลา จึงขัดกับกฎธรรมชาติ ถือเป็นพฤติกรรมที่ขาดจริยธรรมในระดับปรมัตถ์สัจจะ ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสรรพชีวิตอื่นในธรรมชาติก็ต้องอยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย คือไม่มุ่งเอาประโยชน์ของมนุษย์เป็นตัวตั้งฝ่ายเดียว ( เช่น การทำเกษตรกรรมเคมีในระบบปัจจุบัน )๒.๓ ผลกระทบจากความเสื่อมถอยของศาสนา ทั้งสถาบันและคำสอน มีผลให้ความหมายของจริยธรรมในระดับปรมัตถ์สัจจะเลือนหายไป และถูกทำให้คลาดเคลื่อนไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะของระบบทุนนิยมและอำนาจนิยม ทำให้จริยธรรมระดับแรกไร้รากหรือขาดฐานคิดของปรมัตถ์สัจจะ จึงล้าสมัย มีคุณค่าน้อยในทัศนะของคนสมัยใหม่ เพราะอาจเป็นจริยธรรมในยุคสมัยเดิมซึ่งสังคมยังไม่ซับซ้อน(สังคมเกษตรกรรม) ปัญหาไม่หนักหน่วงรุนแรงเช่นปัจจุบัน ที่สังคมมีขนาดใหญ่มีลักษณะโลกาภิวัตน์ เมื่อนำจริยธรรมที่เป็นปัญหาดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับการวิจัย จึงทำให้เกณฑ์การวินิจฉัยเกิดความคลุมเครือ ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งงานวิจัยและนักวิจัย๒.๔ หากพิจารณาจริยธรรมในความหมายระดับที่ ๒ คือมุ่งการสร้างสังคมที่มีสภาวะสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ ( พึ่งพาอาศัย มีสมดุล สันติภาพ ) กรอบจริยธรรมจะต้องได้รับการขยายความใหม่ ให้ครอบคลุมสังคมที่มีพฤติกรรมและระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอย่างเช่นปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น- รูปแบบการพัฒนาที่นำไปสู่การทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ สรรพชีวิตอื่น ระบบนิเวศ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ถือว่าผิดจริยธรรม- การที่คนส่วนมากตกอยู่ในสภาพถูกเอารัดเอาเปรียบ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างอดอยากขาดแคลน คับแค้น เป็นสังคมซึ่งขาดจริยธรรม- การที่คนเมืองใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ด้วยการแย่งชิงจากชนบท ( แม้จะถูกกฎหมาย) ถือว่าผิดจริยธรรม เช่น การใช้น้ำ ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อบำรุงความสุข ความสะดวกสบาย เนื่องจากทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ระบบนิเวศถูกกระทบมากขึ้น เพราะการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้นไม้ - สัตว์ป่าจำนวนมหาศาลถูกรบกวนและทำลายล้าง ชุมชนถูกไล่ที่ และการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ฯลฯ- การสร้างมลภาวะ มลพิษแก่สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าบนบก น้ำ อากาศ เป็นการประทำที่ผิดจริยธรรม เพราะทำลายสุขภาพของผู้อื่น ( ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช ) และทำลายระบบนิเวศ ก่อผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร วงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่น- การกระทำหลายอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ผิดจริยธรรมได้ กฎหมายไม่เป็นบรรทัดฐานของจริยธรรม เนื่องจากกฎหมายกำหนดขึ้นตามอำนาจและทัศนคติของผู้บัญญัติ หรือตามความต้องการของมนุษย์ฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงการอยู่อาศัยร่วมกับสรรพชีวิตอื่น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ- พฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคนในสังคม ก็มีความเกี่ยวโยงทางจริยธรรมด้วย เช่น การสวมหมวกกันกระแทก การคาดเข็มขัดนิรภัย การขับรถโดยไม่ประมาท ฯลฯ เพราะการป้องกันหรือหาทางลดความรุนแรงจากอุบัติที่ป้องกันได้ ช่วยให้ทรัพยากรทางการแพทย์ (งบประมาณสาธารณสุข บุคลากร เวลา สถานที่ ) ได้รับการสงวนไว้สำหรับความเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะแก่คนยากจน แม้แต่การไม่ทิ้งขยะลงบนถนน ก็เป็นประเด็นทางจริยธรรม เพราะช่วยให้คนกวาดถนนไม่ต้องทำงานหนัก เสียสุขภาพ มีเวลาอยู่กับครอบครัวของตนเองมากขึ้น ฯลฯ
๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย 5
ผู้เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคลและสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ"ปัญญา" การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคลและสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ"ปัญญา" การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคลและสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ"ปัญญา" การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคลและสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ"ปัญญา" การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้การวิจัยตามนัยนี้ จึงหมายความว่า คนทุกคนควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นนักวิจัย เช่นในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย ผู้เรียนควรได้วิจัยชีวิตตนเองและสิ่งรอบตัว รู้จักการตั้งคำถามและวิธีการหาคำตอบ คนทุกระดับโดยเฉพาะคนด้อยโอกาสควรมีโอกาสได้วิจัยชีวิตและปัญหาของตนเอง ให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของตนเองหากทำได้ดังนี้ ทั้งการวิจัยและจริยธรรมก็จะเป็นวิถีชีวิตของคนทั้งหมดในสังคม มิใช่ของนักวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้บริโภคงานวิจัยเท่านั้น และจะเป็นกระบวนการเสริมสร้างพลังให้แก่ผู้ด้อยโอกาสด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ จะนำไปสู่ชีวิตและสังคมที่ตั้งอยู่บนความดี ความงาม และความจริงของโลกด้วย.
บรรณานุกรม
Deyhle , Donna L. , Hess , G. Alfred , LeCompte , Magaret D. "Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education". in The Handbook of Qualitative Research in Education. ( San Diego , Academic Press, 1992 )Patai , Daphne. " U.S. Academics and Third World Women : Is Ethical Research Possible ? in Gluck & Patai . Women' s Words , 1991
Rubin & Bubbies. "The Ethics and Politics of Social Work Research" in Research Methods of Social Work. 1993
Useem , Michael & Marx , Gary t. , "Ethical dilemmas and political considerations" in : Smith, Robert B. , An Introduction to Social Research.
พระธรรมปิฎก. การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. ( กรุงเทพฯ : กองทุนวุฒิธรรม, ๒๕๔๑ )
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. "จริยธรรมในสังคมไทย ในทัศนะของฝ่ายศาสนา" ใน ศาสนากับสังคมไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เทียนวรรณ , ๒๕๒๕
ที่มา : http://v1.midnightuniv.org/midnightweb/newpage3.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น