โรคอ้วน คือ
ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ การที่มีการสะสมของไขมันมากขึ้นนี้อาจเนื่องมาจากร่างกายได้รับพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจึงมีการสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตาม อวัยวะต่างๆ
และนำมาซึ่งสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ
#ชนิดของโรคอ้วน
โรคอ้วนที่ผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่
2 ประเภท คือ
1. อ้วนลงพุง
เป็นลักษณะของคนอ้วนที่มีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ
ไต ลำไส้ กระเพาะอาหารและอื่นๆ ไขมันที่อยู่ในอวัยวะภายในเหล่านี้
เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไขมันในเลือดสูง โดยรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ
5 ซม. จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า
2. อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มขึ้น
มิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใด
ตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ
บางคนนอกจากเป็นโรคอ้วนทั้งตัวแล้วยังเป็นโรคอ้วนลงพุงร่วมด้วย จะมีโรค
แทรกซ้อนทุกอย่าง และโรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวมาก ได้แก่ โรคไขข้อ ปวดข้อ
ข้อเสื่อม ปวดหลัง ระบบ
หายใจทำงานติดขัด
#รู้ได้อย่างไร ...ว่าเป็น #โรคอ้วน
โรคอ้วนทั้งตัวบอกได้จากการวัดปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยเพียงใด
ส่วนการวัดปริมาณไขมันในช่องท้องและไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องจะชี้บอกว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงหรือไม่
แต่การวัดปริมาณไขมันในร่างกายต้องใช้เครื่องมือพิเศษและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ในทางปฏิบัติจึงใช้ค่าดัชนีมวลกายเพื่อการวินิจฉัยโรคอ้วนทั้งตัว
และวัดเส้นรอบเอวเพื่อการวินิจโรคอ้วนลงพุง
#ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ #BMI )
คือ ค่าความหนาของร่างกาย
ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20
ปีขึ้นไป ซึ่งคำณวนได้จาก
การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง
ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดังสูตรต่อไปนี้
ดัชนีมวลกาย (BMI) =
|
น้ำหนักตัว
(กิโลกรัม)
|
|
ส่วนสูง
(เมตร)2
|
เช่น น้ำหนักตัว 74 กิโลกรัม
สูง 160 เซนติเมตร มีดัชนีมวลกายเท่าไหร่ ?
ดัชนีมวลกาย
(BMI) =
|
74 กก.
|
= 28.9
กก./ม.2
|
|
1.60 ม. x 1.60 ม.
|
|
ตารางที่ 1 การแบ่งระดับความอ้วนตามค่าดัชนีมวลกายของคนเอเชีย
ค่าดัชนีมวลกาย (กก./ม.2)
|
ภาวะน้ำหนักตัว
|
น้อยกว่า 18.5
|
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
|
18.5 – 22.9
|
ปกติ
|
23.0 – 24.9
|
น้ำหนักเกิน
|
25.0 – 29.9
|
โรคอ้วน
|
มากกว่า 30
|
โรคอ้วนอันตราย
|
การวัดเส้น #รอบเอว
หรือเส้นรอบพุง(โดยทั่วไปจะวัดรอบเอว
ตรงระดับสะดือพอดี) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการก่อโรค
ผู้ชายต้องมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร และผู้หญิงน้อยกว่า 80 เซนติเมตร
ถ้าเส้นรอบเอวใหญ่เกินกว่าค่าดังกล่าวนี้แล้วก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆนั้นสูงขึ้น
ตารางที่ 2 เส้นรอบเอวของคนอ้วนที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพไม่ดี
ชาย
|
หญิง
|
ตั้งแต่ 90 เซนติเมตร ขึ้นไป
|
ตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ขึ้นไป
|
( รูปการวัดรอบเอว )
|
วิธีการวัดเส้นรอบเอว
1.
อยู่ในท่ายืน
2.
ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ *
3.
วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ)
โดยให้สายวัดแนบกับ
ลำตัว
ไม่รัดแน่น และให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอว
วางอยู่ในแนวขนานกับพื้น
* เป็นวิธีวัดอย่างง่าย เพื่อการติดตามเฝ้าระวังภาวะอ้วนลงพุง
|
#ลดน้ำหนัก ด้วยหลัก 3 อ.
#อาหาร ( รูปอาหารจานเดียว สูตร 2 1 1)
- กินให้ครบทั้ง 3 มื้อ
ต้องไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
-
เลือกกินอาหารพลังงานต่ำ หรือลดปริมาณอาหารทุกมื้อที่กิน
- กินผัก ผลไม้รสไม่หวานในมื้ออาหารให้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม
- เคี้ยวอาหารช้าๆ ใช้เวลาเคี้ยวประมาณ 30
ครั้งต่อ 1 คำ
#ออกกำลังกาย ( รูปออกกำลังกาย)
แค่ขยับก็เท่ากับออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิค อย่างต่อเนื่องนานกว่า 45
นาทีขึ้นไป 5 วันต่อสัปดาห์
- เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
-
เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์
-
เพิ่มการเดินให้ได้ 2,000 ก้าวต่อวัน
#อารมณ์ คือ
อารมณ์มุ่งมั่นต่อเป้าหมายลดน้ำหนัก ต้องมีจิตใจที่มั่นคง
หากไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้ จะทำให้ล้มเลิกความคิดในการลดน้ำหนักในที่สุด
หลักในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนัก
สกัด สกัดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หิว
สะกด
สะกดใจไม่ให้บริโภคเกิน
สะกิด
ให้คนรอบข้างช่วยเหลือ และเป็นกำลังใจขณะลดน้ำหนัก
ปัจจุบันคนที่มี #น้ำหนักมาก เกินเกณฑ์ จัดเป็นโรคอ้วนและเป็นส่วนหนึ่ง
ของกลุ่มโรคเมตาโบลิก (Metabolic syndrome ) ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมากมาย เช่น
1. #ความดันโลหิตสูง คนอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง กว่าคนไม่อ้วน 2-9 เท่า และถ้าน้ำหนักตัวลดลงความดันโลหิตก็จะลดลงด้วย
2. #โรคเบาหวาน คนอ้วนเล็กน้อยจะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานได้มากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า คนอ้วนปานกลางจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 5 เท่าและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 10 เท่าในคนที่อ้วนมากๆ (น่ากลัวไหมคะ)
3. #ความผิดปกติของระดับไขมันในหลอดเลือด คนอ้วนมักจะมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และเอชดีแอลต่ำจึงจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจขาดเลือด
4. #โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้หากใครที่อ้วนและเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก ควรเริ่มตรวจหัวใจด้วย
5. #โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ ความอ้วนมากจะทำให้เกิดความผิดปกติ ในการหายใจเข้าออกและกระบังลม ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะ ขาดออกซิเจนเรื้อรังมีอาการเหนื่อยง่าย มีอาการปวดศีรษะในตอนเช้า ในเวลากลางวันจะมีอาการง่วงนอน เหมือนนอนไม่พอ นอนกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่านอนหงาย บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ เวลานอนหลับหรือภาวะหายใจอุดกั้น (Sleep Apnea disease) ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมากค่ะ ส่งผลระยะยาวหัวใจซีกขวาทำงานหนักและอาจเสียชีวิตได้
6. #โรคข้อเสื่อม คนอ้วนจะมีอาการของข้อเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม ปวดเข่า ปวดหลัง เนื่องจากข้อต่างๆ ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ นอกจากนี้ คนอ้วนมักจะมีระดับกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกติและมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากขึ้น
7. #โรคถุงน้ำดี คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีสูงกว่าคนไม่อ้วน 3-4 เท่า
8. #โรคมะเร็งบางชนิด จากการศึกษาพบว่า คนที่เป็นโรคอ้วนจะเป็นมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่อ้วน เช่น โรคมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมน และมะเร็งระบบทางเดินอาหารมะเร็งของเยื่อบุมดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งถุงน้ำดี
9. #ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เช่น #โรคเชื้อราที่ผิวหนัง #เส้นเลือดขอด อาการท้องผูก การคลอดบุตรมีปัญหา แผลผ่าตัดอาจจะหายช้ากว่าปกติ เป็นต้น
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น