ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

พบคนไทยมีแนวโน้มอ้วน น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น เป็นอันดับ 2 อาเซียน

เผยคนไทยมีแนวโน้มอ้วนมากขึ้น น้ำหนักเกินจากพฤติกรรมการบริโภค เป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากมาเลเซีย คนกรุงมีแนวโน้มโรคอ้วนรุนแรงมากสุด ต่ำที่สุดคืออีสาน

พบคนไทยมีแนวโน้มอ้วน น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น

สำนักข่าวไทย 17 มิ.ย.-ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ #เผยคนไทยมีแนวโน้มอ้วนมากขึ้น น้ำหนักเกิน มาจากพฤติกรรมการบริโภค เป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากมาเลเซีย คน กทม.มีแนวโน้มโรคอ้วนรุนแรงมากสุด ต่ำที่สุดคืออีสาน
ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2557 ที่อิมแพคเมืองทองธานี พร้อมอบรางวัล 1 จังหวัด 1 พื้นที่ ที่นำกระบวนการสมัชชาสุขภาพ แก่ สมัชชาจังหวัดปัตตานี ธรรมนูญสุขภาพ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดน่าน

ส่วนการคาดการณ์แนวโน้มสุขภาพคนไทยปี 2557 #พบคนไทยมีแนวโน้มอ้วนมากขึ้น #น้ำหนักเกิน ที่มาจากพฤติกรรมการบริโภค เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากข้อมูลปี 2552 พบว่าในเขต กทม. มีแนวโน้มโรคอ้วนรุนแรงมากที่สุด ต่ำที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนว่าโรคอ้วนเกิดในคนเมือง ฐานะดี รายได้สูง มากกว่าคนชนบท และเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคอาเซียน #พบว่าไทยมีคนอ้วนมากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รองจากมาเลเซีย.-สำนักข่าวไทย
ที่่มา : http://www.mcot.net/site/content?id=539fc48abe0470d4eb8b456b#.VBEubPmSzg8

เผยรายงานสุขภาพคนไทยปี 57 พบคนไทยน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 2 ทศวรรษ เทียบ 10 ประเทศในเอเชีย ชายไทยอยู่ในอันดับ 4 หญิงอันดับ 2 นำสู่โรคเรื้อรัง...สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เเปิดเผย "รายงานสุขภาพคนไทย 2557" สะท้อนให้เห็นถึงภัยคุกคามสุขภาวะที่สำคัญในปีนี้ คือภาวะ "โรคอ้วน" ที่กำลังบั่นทอนสุขภาพคนไทยมากขึ้นดร.ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า #ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แย่ลง ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะ #พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาทิ #อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม และอาหารที่ขาดคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ฯลฯ รวมถึงการมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบแบบคนเมือง มีกิจกรรมทางร่างกายลดลง และการใช้เวลากับสื่อออนไลน์มากขึ้น เป็นต้น
 “ปัญหาขณะนี้คือเรามีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อมในการบริโภคอาหาร ซึ่งต้องปรับปรุงกันอย่างเร่งด่วนต่อไป ไม่เช่นนั้นปัญหาโรคอ้วนจะมีมากขึ้น เพราะ ณ ขณะนี้ประเทศไทยพบคนเป็นโรคอ้วน ในอันดับต้นๆ ของอาเซียนแล้ว โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีปัญหานี้ได้ง่ายที่สุด"รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557 ระบุว่า โรคอ้วนถือเป็นสาเหตุให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวันอันควร จาก #โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases : #NCDs) อาทิ #เบาหวาน #ความดันโลหิตสูง #โรคตับ #โรคมะเร็ง #โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี #โรคซึมเศร้า #ภาวะหายใจลำบากและหยุดหายใจขณะหลับ และ #โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น โดยคนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้มากกว่าปกติ 2-3 เท่านอกจากนี้ ภาวะโรคอ้วนในประเทศไทย มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต จากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในปี 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 3 อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว เมื่อเทียบกับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 2534-2552) และหากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทยอ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียเท่านั้นขณะเดียวกัน ยังพบเด็กอ้วนตั้งแต่ในระดับปฐมวัย (อายุ 1-5 ปี) และวัยเรียน (อายุ 6-14 ปี) ขยายตัวมากจนน่าเป็นห่วง คือเด็กนักเรียนทุกๆ 10 คน จะพบผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนอย่างน้อย 1 คนสถานการณ์โรคอ้วน มีความรุนแรงแตกต่างไปในแต่ละภูมิภาค เพิ่มขึ้นตามระดับการพัฒนาและฐานะทางเศรษฐกิจ โดยอัตราสูงสุดอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร และต่ำสุดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการศึกษาภาวะโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน ที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ พบว่า ในประเทศกำลังพัฒนาโรคอ้วนจะเกิดมากในเขตคนเมือง ครอบครัวที่มีฐานะ และผู้ที่มีรายได้สูง มากกว่าคนในชนบท แต่เมื่อประเทศนั้นๆ มีการยกระดับการพัฒนาสูงขึ้น เศรษฐกิจเติบโต ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและรายได้ดีขึ้น สถานการณ์กลับตรงกันข้าม เพราะกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคอ้วนจะกลายเป็นกลุ่มคนจน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีทางเลือกในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพได้น้อยกว่า ขณะที่อาหารฟาสต์ฟู้ด อหารจานด่วน มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำแต่ให้พลังงานสูง จะมีราคาถูกลง ทำให้คนจนมีโอกาสซื้อได้เพิ่มขึ้น แต่คนรวยจะหันมาเลือกซื้ออาหารที่ดีกับสุขภาพและป้องกันโรคได้ดีกว่า ดังนั้น การจัดการกับโรคอ้วนจึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่ปลายทางหรือส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องแก้ไขในระดับโครงสร้าง ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจด้วย.
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/430573

ภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลัก 3 อ. 

1.เลือกกินอาหาร 2.อารมณ์ดี 3.ออกกำลังกาย

หากว่าท่านต้องการความสะดวกมากขึ้น ขอแนะนำ Kuu Ne อาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก ลดไขมัน ควบคุมระดับน้ำตาล เร่งการเผาผลาญ ผลิตจากธรรมชาติ 100% ติดตามได้ที่

http://www.ptpfoods.com/2014/07/kuu-ne-fit-firm.html


มีจิตใจที่แน่วแน่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ทำกิจกรรมงานบ้าน สนุกสนานกับครอบครัวและคนรอบข้างพร้อมๆกับการเสริมอาหารแร่ธาตุวิตามินจากธรรมชาติ สิ่งที่ยากไม่เคยทำได้ก็เป็นจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น