มันมากับความสวยสดอวบอิ่มเต่งตึง
ข่าวเรื่องการพบสารเคมีปนเปื้อนอยู่ในอาหารนั้นมีมานานแล้ว ซึ่งสารเคมีที่พบอยู่ในอาหารนั้น บางชนิดก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว อย่างล่าสุดนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาบอกว่า ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2557 มีรายงานการสุ่มตรวจประเมินอาหารปลอดภัยของกรมอนามัย ในตลาดที่ จ.นครสวรรค์ 5 แห่ง โดยมีการเก็บอาหารตรวจทั้งหมด 275 ตัวอย่าง
ผลที่ได้นั้นน่าตกใจมาก เพราะมีการพบการใช้สารฟอร์มาลินกับอาหารสด เพื่อไม่ให้เน่าเสียง่าย โดยใน 5 แห่งนี้ ตรวจพบ 102 ตัวอย่าง เฉลี่ยร้อยละ 25 แต่บางแห่งเช่นในตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง พบร้อยละ 59 ซึ่งอาหารที่ตรวจพบได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก หมึกกรอบ ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด ถั่วฝักยาว สไบนาง (ผ้าขี้ริ้ว)
ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารในกลุ่มที่ตรวจพบฟอร์มาลินนั้น ที่ผ่านมามักจะตรวจพบสารฟอกขาว ซึ่งการที่ตรวจพบฟอร์มาลินสูงขึ้นอาจจะเป็นเพราะพ่อค้าแม่ค้าเปลี่ยนจากการใช้สารฟอกขาวมาใช้ฟอร์มาลินแทน ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศฉบับที่ 93 พ.ศ.2528 เรื่องวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใดละเมิดใส่ในอาหารต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ฐานผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์
สำหรับ “ฟอร์มาลิน” นั้น เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง อยู่ในรูปของ “สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์” ซึ่งหากอยู่ในสถานะก๊าซจะมีชื่อเรียกว่า “ฟอร์มัลดีไฮด์” ในทางการแพทย์จะใช้ฟอร์มาลินในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องผู้ป่วย ส่วนในอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้คุณสมบัติที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา ยังถูกนำไปใช้ในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยวและใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร
ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ จึงมีคนหัวใสนำฟอร์มาลินมาราดใส่ลงในอาหารสดเพื่อให้คงความสดได้นาน ไม่เน่าเสียเร็ว ซึ่งอาหารที่มักจะพบว่ามีฟอร์มาลินอยู่ อาทิ อาหารทะเลต่างๆ โดยเฉพาะปลาหมึก เนื้อสัตว์ต่างๆ ผักสด เช่น ถั่วฝักยาว หน่อไม้ ยอดมะพร้าว ผักกาดขาว ฯลฯ
ดังที่บอกว่าฟอร์มาลินนั้นเป็นสารเคมีที่มีพิษ ซึ่งหากสูดดมฟอร์มาลินเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ปอดอักแสบ น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนผลต่อระบบผิวหนังคือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้ หรือเปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง
ในส่วนของการนำฟอร์มาลินมาใช้กับอาหาร หากบริโภคอาหารที่ถูกปนเปื้อนเข้าไปในปริมาณมาก จะเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดท้อง ในปากและคอแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจมีอาการถ่ายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น คอแข็ง และเคยมีรายงานว่ามีผู้กินฟอร์มาลิน 2 ช้อนโต๊ะเพื่อฆ่าตัวตาย พบว่าตายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารดังกล่าว และเมื่อผ่าศพชันสูตรพบแผลไหม้ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
นอกจากผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นที่ปรากฏอาการให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีรายงานผลจากฟอร์มาลินในระยะยาว โดยสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารประกอบของฟอร์มาลิน เป็นสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย
การหลีกเลี่ยงฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหาร อาจจะดูเป็นเรื่องยากหากต้องซื้อหาผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่างๆ จากท้องตลาดทั่วไป ผู้บริโภคควรจะต้องอาสัยการสังเกตลักษณะของอาหารว่ามีความแตกต่างจากปกติหรือไม่ อาทิ เนื้อสัตว์ หากวางขายอยู่นาน ถูกแดดถูกลมแล้วก็น่าจะมีลักษณะเหี่ยวลง ดูไม่สดเหมือนเดิม แต่ถ้ายังดูมีความสดมากๆ แม้จะวางขายอยู่นานแล้ว หรือหากมีกลิ่นฉุนๆ แสบจมูก ก็ไม่ควรซื้อมาบริโภค
ผลที่ได้นั้นน่าตกใจมาก เพราะมีการพบการใช้สารฟอร์มาลินกับอาหารสด เพื่อไม่ให้เน่าเสียง่าย โดยใน 5 แห่งนี้ ตรวจพบ 102 ตัวอย่าง เฉลี่ยร้อยละ 25 แต่บางแห่งเช่นในตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง พบร้อยละ 59 ซึ่งอาหารที่ตรวจพบได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก หมึกกรอบ ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด ถั่วฝักยาว สไบนาง (ผ้าขี้ริ้ว)
ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารในกลุ่มที่ตรวจพบฟอร์มาลินนั้น ที่ผ่านมามักจะตรวจพบสารฟอกขาว ซึ่งการที่ตรวจพบฟอร์มาลินสูงขึ้นอาจจะเป็นเพราะพ่อค้าแม่ค้าเปลี่ยนจากการใช้สารฟอกขาวมาใช้ฟอร์มาลินแทน ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศฉบับที่ 93 พ.ศ.2528 เรื่องวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใดละเมิดใส่ในอาหารต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ฐานผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์
สำหรับ “ฟอร์มาลิน” นั้น เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง อยู่ในรูปของ “สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์” ซึ่งหากอยู่ในสถานะก๊าซจะมีชื่อเรียกว่า “ฟอร์มัลดีไฮด์” ในทางการแพทย์จะใช้ฟอร์มาลินในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องผู้ป่วย ส่วนในอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้คุณสมบัติที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา ยังถูกนำไปใช้ในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยวและใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร
ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ จึงมีคนหัวใสนำฟอร์มาลินมาราดใส่ลงในอาหารสดเพื่อให้คงความสดได้นาน ไม่เน่าเสียเร็ว ซึ่งอาหารที่มักจะพบว่ามีฟอร์มาลินอยู่ อาทิ อาหารทะเลต่างๆ โดยเฉพาะปลาหมึก เนื้อสัตว์ต่างๆ ผักสด เช่น ถั่วฝักยาว หน่อไม้ ยอดมะพร้าว ผักกาดขาว ฯลฯ
ดังที่บอกว่าฟอร์มาลินนั้นเป็นสารเคมีที่มีพิษ ซึ่งหากสูดดมฟอร์มาลินเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ปอดอักแสบ น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนผลต่อระบบผิวหนังคือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้ หรือเปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง
ในส่วนของการนำฟอร์มาลินมาใช้กับอาหาร หากบริโภคอาหารที่ถูกปนเปื้อนเข้าไปในปริมาณมาก จะเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดท้อง ในปากและคอแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจมีอาการถ่ายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น คอแข็ง และเคยมีรายงานว่ามีผู้กินฟอร์มาลิน 2 ช้อนโต๊ะเพื่อฆ่าตัวตาย พบว่าตายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารดังกล่าว และเมื่อผ่าศพชันสูตรพบแผลไหม้ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
นอกจากผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นที่ปรากฏอาการให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีรายงานผลจากฟอร์มาลินในระยะยาว โดยสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารประกอบของฟอร์มาลิน เป็นสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย
การหลีกเลี่ยงฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหาร อาจจะดูเป็นเรื่องยากหากต้องซื้อหาผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่างๆ จากท้องตลาดทั่วไป ผู้บริโภคควรจะต้องอาสัยการสังเกตลักษณะของอาหารว่ามีความแตกต่างจากปกติหรือไม่ อาทิ เนื้อสัตว์ หากวางขายอยู่นาน ถูกแดดถูกลมแล้วก็น่าจะมีลักษณะเหี่ยวลง ดูไม่สดเหมือนเดิม แต่ถ้ายังดูมีความสดมากๆ แม้จะวางขายอยู่นานแล้ว หรือหากมีกลิ่นฉุนๆ แสบจมูก ก็ไม่ควรซื้อมาบริโภค
ที่มา : http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000021712
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น