ค้นหาบล็อกนี้

Translate

คุ้มค่าด้วยคุณค่า เติมสุขเสริมสุขภาพ ใช้ปรุงอาหาร หรือชงดื่มเพื่อสุขภาพ หอมชงปานะ

นวัตกรรมเครื่องปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ ผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตรฯ ผลิตจากหอมหัวใหญ่ เข้มข้น 3 เท่า ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ สารก่อมะเร็ง ช่วยชะลอความชรา อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อนุภาคหอมหัวใหญ่จะเกาะตัวกันตามธรรมชาติ โดยปราศจากสารเคมีป้องกันการเกาะตัว)

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เกล็ดเล็กๆ กับการสร้างความสุขให้ชีวิต

"คนที่มีความสุขที่สุด ดูเหมือนจะเป็นคนประเภทที่ไม่มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษที่จะต้องมีความสุข พวกเขาแค่เลือกที่จะมีความสุขเท่านั้นเอง"
ถ้าเราอยากสร้างสรรค์ความสุขให้กับชีวิตตนเอง เราก็ต้องเริ่มทำความเข้าใจและปรับปรุงแบบมุมมองความคิดของเราเสียก่อน ที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องของการเลือกที่จะมองเท่านั้นเอง คนที่เลือกจะมองคนอื่นในแง่ร้าย ก็จะมีแต่น้ำขุ่นๆ อยู่ในใจของเขาเอง แต่คนที่เลือกจะมองคนอื่นและสิ่งต่างๆ ในแง่ดี ในใจก็ย่อมจะมีแต่น้ำใสๆ ที่นำความฉ่ำเย็นมาสู่จิตใจได้ตลอดไป

การรับของขวัญ

ทุกครั้งที่รับของขวัญของฝากจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยหรือของขวัญชิ้นใหญ่เท่าใด หน้าที่ของคนที่เป็นผู้รับจะต้องแสดงความยินดีที่ได้รับและแสดงความชื่นชมต่อสิ่งของนั้น และแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจด้วยท่าทีที่มีความยินดีปรีดาเป็นพิเศษ เพราะการแสดงออกเช่นนั้นแหละคือสิ่งสำคัญที่ผู้รับของขวัญแสดงตอบกลับไปให้กับผู้ให้ การแสดงออกของผู้รับที่มีความสุขจะทำให้ผู้ให้รู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุขด้วยเช่นกัน ไม่ใช่คุณจะมีความสุขใจแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่คุณยังเรียนรู้ที่จะรักและเรียนรู้ที่จะมอบความสุขกลับไปให้กับตัวผู้ให้อีกด้วย อย่าเพียงแต่กล่าวคำขอบคุณตามมารยาทสังคมเท่านั้น แต่จงแสดงความกระตือรือร้นและความปลาบปลื้มใจในการรับของขวัญชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ทุกๆ ชิ้นเสมอไป
เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
๏ สิ่งปรารถนาของมนุษย์

อันความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุกๆ คน และทุกๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้ว ความสุขเป็นอย่างไร จึงเป็นที่รู้จักกันอยู่ ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบ สมบูรณ์ สบาย ก็กล่าวกันว่าเป็นสุข ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและใจนี่เอง


๏ ความสุขทางร่างกาย

สำหรับกายนั้น เพียงให้เครื่องอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ก็นับว่าสบาย แม้กายสบายดังกล่าวมานี้ ถ้าจิตไม่สบาย กายก็พลอยซูบซีดเศร้าหมองด้วย

ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วยความเจ็บป่วย หรือด้วยความคับแค้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตยังร่าเริงสบายอยู่ ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนเท่าใดนัก และ ความไม่สบายของกายก็อาจบรรเทาไปได้ เพราะเหตุนี้ความสุขจิตสุขใจนั่นแลเป็นสำคัญ
๏ ความสุขทางจิตใจ
อันความสุขทางจิตใจนี้ คิดๆ ดูก็เห็นว่าหาได้ไม่ยากอีก เพราะความสุขอยู่ที่จิตใจของตนเอง จักต้องการให้จิตเป็นสุขเมื่อใดก็น่าจะได้ ใครๆ เมื่อคิดดูก็จักตองยอมรับว่าน่าคิดเห็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องยอมจนอีกว่า สามัญชนทำไม่ได้เสมอไป เพราะยังต้องการเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข มีเงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น

ถ้าเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขขาดไป หรือมีไม่เพียงพอ ก็ทำให้เป็นสุขมิได้ นี้เรียกว่ายังต้องปล่อยใจให้เป็นไปตามเหตุการณ์อยู่ ข้อนี้เป็นความจริง เพราะเหตุฉะนี้ ในที่นี้จึงประสงค์ความสุขที่มีเครื่องแวดล้อม หรือที่เรียกว่า สุขสมบัติ อันเป็นความสุขขั้นสามัญชนทั่วไป


๏ ความสุขอยู่ที่ไหน ?

คิดดูเผินๆ ความสุขนี้น่าจักหาได้ไม่ยาก เพราะในโลกนี้มีเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขแวดล้อมอยู่โดยมาก หากสังเกตดูชีวิตของคนโดยมากที่กำลังดำเนินไปอยู่ จักรู้สึกว่าตรงกันข้ามกับที่คิดคาด ทั้งนี้มิใช่เพราะเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขในโลกนี้มีน้อยจนไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะผู้ขาดแคลนความสุขสมบัติไม่ทำเหตุอันเป็นศรีแห่งสุขสมบัติ จึงไม่ได้สุขสมบัติเป็นกรรมสิทธิ์ ส่วนผู้ที่ทำเหตุแห่งสุขสมบัติ ย่อมได้สุขสมบัติมาเป็นกรรมสิทธิ์ เพราะเหตุนี้ ผู้ปรารถนาสุขจึงสมควรจับเหตุให้ได้ก่อนว่า อะไรเป็นเหตุของความสุข และอะไรเป็นเหตุของความทุกข์
๏ เหตุแห่งความสุข และเหตุแห่งความทุกข์
บางคนอาจเห็นว่า เหตุของความสุขความทุกข์อยู่ภายนอก คือสุขเกิดจากสิ่งภายนอก มีเงินทอง ยศ ชื่อเสียง บ้านที่สวยงาม เป็นต้น ส่วนความทุกข์ก็เกิดจากสิ่งภายนอกนั้นเหมือนกัน บางคนอาจเห็นว่าความสุขความทุกข์เกิดจากเหตุภายใน


๏ เงื่อนไขของความสุข

สิ่งภายนอกโดยมากถ้าเป็นส่วนที่ดี มีเงินทอง ยศชื่อเสียง เป็นต้น ก็เป็นที่ปรารถนาตรงกันของคนเป็นอันมาก จึงต้องมีการแสวงหาแข่งขั้นกันโดยทางใดทางหนึ่ง เมื่อได้มาก็ให้เกิดความสุขเพราะสมปรารถนาบ้าง เพราะนำไปเลี้ยงชีพตน และผู้อื่นให้อิ่มหนำสำราญบ้าง สิ่งภายนอกย่อมอุดหนุนความสุขฉะนี้

แต่สิ่งภายนอกเป็นของไม่ยั่งยืน แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ความสุขที่เกี่ยวเกาะติดอยู่ก็ต้องแปรเปลี่ยนไป ความทุกข์จึงปรากฏขึ้นติดๆ กันไปทีเดียว ความสุขเช่นนี้เป็นความสุขที่ลอยไปลอยมา หรือเรียกว่าเป็นความสุขลูกโป่ง และในความแสวงหา ถ้าไม่ได้หรือได้สิ่งที่ไม่ชอบก็ให้เกิดความทุกข์ เพราะไม่สมปรารถนา

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น