เอกสารแนะนำผลิตภัณฑ์
“ซอสผงปรุงรส หอมหัวใหญ่”
ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดสูตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ซุปก้อนหอมหัวใหญ่” (KU Onion Cube) ได้รับรางวัลชนะเลิศอับดับที่ 1 จากการประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ประจำปี 2552 (Food Innovation Contest 2009) จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ อนุสิทธิบัตร เลขที่ 6247 และได้รับถ้วยรางวัลจาก ฯพณฯ ดร.อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
หอมหัวใหญ่อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน ซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายทั้งลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือด ลดอาการภูมิแพ้และหอบหืด ลดปริมาณน้ำตาลในเลือดทำให้มีอินซูลินอิสระเพิ่มขึ้นซึ่งช่วยในโรคเบาหวาน อุดมไปด้วยแมกนีเซียมซึ่งเป็นธาตุที่มีความสำคัญในการสร้างคอมพลีเมนต์ซึ่งมีความ สำคัญในการทำลายเซลล์มะเร็งและกำจัดไวรัส นอกจากนี้ในหอมหัวใหญ่ยังมีอินนูลิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย อุจจาระไม่แข็งจึงไม่เจ็บขณะถ่ายอุจจาระ ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ และยังช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น
สำหรับการแปรรูปหอมหัวใหญ่นี้นับว่าเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมเกษตรและการส่งออกของไทย เพื่อจะได้สร้างผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้มาตรฐานและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่แพ้ผงชูรส
สำหรับการแปรรูปหอมหัวใหญ่นี้นับว่าเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมเกษตรและการส่งออกของไทย เพื่อจะได้สร้างผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้มาตรฐานและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่แพ้ผงชูรส
เพื่อความสะดวกในการปรุงอาหารได้หลากหลายทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด หมัก ยำ
จึงทำการพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดผงปรุงรสออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์
จึงทำการพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดผงปรุงรสออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์
ผลิตภัณฑ์ซอสผงปรุงรสหอมหัวใหญ่
สถานที่ติดต่อ บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด
90/61 หมู่ 2 ถนนสุวินทวงศ์ ลำผักชี หนองจอก กรุงเทพฯ 10530
โทรศัพท์ : 02-956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117
มือถือ : 086 791 7007 (คุณคมชาญ)
คุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ทางยาของหอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่สดมีคุณค่าทางโภชนาการในส่วนที่รับประทานได้ 100 g ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงคุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่
พลังงาน 26 kcal แคลเซียม (Ca) 8 mg
ความชื้น 91.8 g ฟอสฟอรัส (P) 27 mg
โปรตีน 1.4 g เหล็ก (Fe) 8 mg
ไขมัน 0.1 g วิตามินบี 1 0.02 mg
คาร์โบไฮเดรต 5.0 g วิตามินบี 2 0.02 mg
เส้นใย 0.6 g ไนอะซิน 0.4 mg
วิตามินซี 22 mg
ที่มา : ธัญนีต์ สิมะโรจน์. 2542. ผักโภชนาการสูงจากธรรมชาติ. สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง 09, กรุงเทพฯ.
การบริโภคหอมหัวใหญ่สดมีประโยชน์ทางยา ได้แก่ ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว (Arherosclerosis) รักษาโรคบิดจากเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็ง ลดไขมัน ลดไข้ ลดความดันโลหิตสูง รักษาแผลอักเสบ บาดแผล แผลเป็น ขับลม ขับพยาธิ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ กระตุ้นน้ำดีและช่วยเจริญอาหาร (นิจศิริ, 2534; สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2541; สำนักงานข้อมูลสมุนไพรมหาวิทยาลัยมหิดล, 2551) Flavonoids ชื่อ Quercetin ในหอมหัวใหญ่ สดสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด (Marchand et al.,2000) และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความต้านทานของสาย DNA (Deoxyribonucleic Acid) ที่จะแตกสลาย (Boyle et al., 2000) หอมหัวใหญ่มีเส้นใยอาหาร (Dietary Fiber) สามารถนำมาสกัด Pectic Polysaccharides สกัด Fructo-oligosaccharides (FOSs) เพื่อใช้เป็น Prebiotics ให้กับ Bifidobacterias ที่อาศัยอยู่ใน ลำไส้ทางเดินอาหารของมนุษย์ (Gibson, 1998) เช่นเดียวกับไพโรจน์ (2546) ที่ได้สกัดเอา Oligosaccharides จากหอมหัวใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อใช้เป็นสาร Prebiotic และมีการสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย (Onion Oil) ที่มีความสามารถเป็น Antioxidant ต้านทานการเกิด Lipid Perlxidation ในหนูทดลองที่ไดรับสาร Nicotin ได้ใกล้เคียงกับวิตามินอี (Helen et al., 2000) ในทางการค้าหอมหัวใหญ่เป็นได้ทั้งอาหารและยา (Nutraceuticals) (Debnath et al., 2002) แต่การรับประทานหอมหัวใหญ่สดอย่างต่อเนื่องควรระวังสาร Diphenyl Amine ที่เป็นพิษต่อไต การบริโภคหอมหัวใหญ่สดไม่ควรเกิน 0.035 g/วัน หรือเทียบเท่ากับหอมหัวใหญ่อบแห้ง 100 g (สำนักงานข้อมูลสมุนไพรมหาวิทยาลัยมหิดล, 2551)
หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ มีฤทธิ์มากในการขับสารพิษ ทั้งที่เป็นโลหะหนักและพยาธิ อีกทั้ง
เควอเซทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก หอมหัวใหญ่มีผลคล้ายกระเทียมในการลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือด มีสาร
ไซโคลอัลลิอิน ที่สามารถละลายลิ่มเลือดได้ ผลการศึกษากลุ่มคนกินมังสวิรัติในประเทศอินเดียที่กินกระเทียม 10 กรัมต่อสัปดาห์ และกินหอมหัวใหญ่ 200 กรัมต่อสัปดาห์ มีปริมาณโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์เฉลี่ย 172 และ 75 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่าดังกล่าวในกลุ่มควบคุม (ไม่ได้กินกระเทียมและหอมหัวใหญ่) คือ 208 และ 109 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การกินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัวในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันเอชดีแอลในผู้ป่วย ดังกล่าวจากร้อยละ 20 เป็น 30 มีผลลดระดับโคเลสเตอรอลในภาพรวม และเพิ่มอัตราส่วนระหว่างไขมัน เอชดีแอลต่อไขมันแอลดีแอลอย่างน่าพอใจด้วย หอมหัวใหญ่มีความสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลพอกซีจีเนสและ ไซโคลออกซีจีเนส ซึ่งสร้างสารพรอสตาแกลนดินและทรอมบอกเซนซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบ เมื่อให้หนูตะเภากินสารสกัดแอลกอฮอล์ของหอมหัวใหญ่ 1 มิลลิลิตร พบว่าสามารถลดอาการหืดหอบจากการทดลองสูดดมสารก่อภูมิแพ้ได้ หอมหัวใหญ่มีเควอเซทิน ซึ่งพบว่าสามารถยับยั้งการปล่อยฮิสตามีนจากมาสต์เซลล์ และยับยั้งการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น
ลิวโคทรีนได้ เควอเซทินพบมากที่สุดในผิวชั้นต้นๆ ของหอมหัวใหญ่ และพบมากกว่าในหอมหัวใหญ่สีม่วง และหอมแดง แต่
ฤทธิ์ป้องกันอาการหอบหืดและภูมิแพ้คาดว่ามาจากสารกลุ่มไอโซโอไซยาเนตหอมหัวใหญ่แสดงฤทธ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผลงานการศึกษาทางการแพทย์และทางคลินิกหลายชิ้นสารออกฤทธิ์ในหอมหัวใหญ่ เชื่อว่าเป็นสารอัลลิลโพรพิลไดซัลไฟด์ (Allyl propy disuldhide หรือ APDS) และ มีฟลาโวนอยด์อื่นร่วมด้วย หลักฐานจากการทดลองและสังเกตในคลินิกพบว่า APDS ลดระดับกลูโคสโดยแข่งกับอินซูลิน (ซึ่งเป็นไดซัลไฟด์เช่นกัน) ในการเข้าสู่จุดยับยั้งการทำงานโดยอินซูลิน (Insulin-inactivating sites) ในตับ ทำให้มีอินซูลินอิสระเพิ่มขึ้น การกินหอมหัวใหญ่ 1-7 ออนซ์ (16 ออนซ์ประมาณครึ่งกิโลกรัม) มีผลลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ผลนี้พบทั้งในหอมหัวใหญ่ทั้งดิบและที่ต้มแล้วแคลเซียมมีการเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอนไซม์ที่ ที-เซลล์ (T-cells) ใช้ในการต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตแปลกปลอมและช่วยเม็ดเลือดขาวในการทำลายและย่อยสลายไวรัส ปกติแคลเซียมจะได้มาจากผลิตภัณฑ์นม ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก ไขมันอิ่มตัวมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบ(Proinflamatory) ซึ่งมีผลในเชิงลบกับระบบภูมิคุ้มกันการกินหอมหัวใหญ่จึงได้แคลเซียมโดยปราศจากไขมัน (ถ้าไม่กินเป็นหอมหัวใหญ่ชุบแป้งทอด) หอมหัวใหญ่มีธาตุอาหารสำคัญอื่นๆ อีกธาตุซีลีเนียม ที่พบมากในหอมใหญ่มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างแอนติบอดี ถ้าขาดธาตุนี้ร่างกายจะขาดความสามารถในการต้านการติดเชื้อที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ได้ นอกจากนี้ ซีลีเนียมยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเอนไซม์กลูตาไทโอนเพอร์ออกซิเดส เอนไซม์นี้ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระที่จะก่อให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย หอมหัวใหญ่อุดมไปด้วยธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นธาตุที่มักพบได้น้อยในอาหารประจำวัน มีความสำคัญในการสร้างคอมพลีเมนต์ซึ่งมีความสำคัญในการทำลายเซลล์มะเร็งและกำจัดไวรัส ตัวอย่างของคอมพลีเมนต์ ได้แก่ อินเทอฟีรอน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ยังมีธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสร้างพรอสตาแกลนดินและการควบคุมปริมาณฮิสตามีน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่มีธาตุกำมะถัน ช่วยให้เอนไซม์ตับทำงานขับสารพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (สุธาทิพ,2549)
นอกจากนี้ในหอมหัวใหญ่ ยังมีสารสำคัญ คือ อินนูลิน (Inulin) ซึ่งเป็นสารโพลีแซคคาไรด์ ที่พืชเก็บไว้เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโมเลกุลขนาดเล็กอยู่ในกลุ่มของโอลิโกฟรุคโตส อินนูลินมีอยู่ผัก และผลไม้มากกว่า 3,600 ชนิด โดยเฉพาะผักในตระกูล cichorium เช่น ชิคอรี พืชในตระกูลหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หัวกระเทียม และกล้วย เป็นต้น อินนูลินไม่สามารถย่อยได้ในลำไส้เล็ก แต่บางส่วนสามารถย่อยได้ในลำไส้ใหญ่โดยอาศัยจุลินทรีย์ (สุจิตตา, 2546) โดยอินนูลินมีประโยชน์มากต่อร่างกาย คือ
1. ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย อุจจาระไม่แข็งจึงไม่เจ็บขณะถ่ายอุจจาระ
2. ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ
3. ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค เนื่องจากอินนูลินจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของ Bifidobacteria และ Lactobacillus ซึ่งมีหน้าที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
4. ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก ของร่างกาย
5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น
6. ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียชนิด Clostridium perfringens ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในลำไส้ได้
7. ช่วยลดการสร้างสารก่อมะเร็ง (carcinogenesis) ในลำไส้
8. ช่วยลดปริมาณแคลอรี่ในผลิตภัณฑ์และรักษาระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ในร่างกาย ( Lopez et al., 2000 ; Van et al., 1998)__
WWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWW
Kuu Ne คูเน่ ซอสผงปรุงรส หอมหัวใหญ่ เพื่อสุขภาพ ใช้สำหรับการปรุงอาหารให้รสชาติกลมกล่อมครบรส ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด หมัก ยำ โดยปราศจากเนื้อสัตว์ ผงชูรส วัตถุปรุงแต่ง กลิ่น สี รส สารเคมี วัตถุกันเสีย สารป้องกันการเกาะตัวและสารเพิ่มปริมาณ ด้วยนวัตกรรมใหม่ได้รางวัลชนะเลิศ ผลิตวัตถุดิบจากธรรมชาติ 100% มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน หัวใจ ภูมิแพ้ และต้านสารก่อมะเร็ง อีกทั้งช่วยชะลอวัย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ สร้างเสริมสุขภาพที่ดี Non Anti Caking & Bulking Agent Chemical การเกาะตัวเป็นลักษณะทางธรรมชาติของหอมหัวใหญ่ ซึ่งคงคุณค่าคู่คุณภาพ ควบคุมมาตรฐานการผลิต บรรจุปิดผนึกด้วยซองฟอล์ย อายุการเก็บรักษา 1 ปี ผ่านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร จากสถาบันอาหาร พร้อมตราเครื่องหมายรับรอง อย. และ ฮาลาล สู่ทางเลือกฉลาดบริโภคเพื่อสุขภาพ คู่เน่ คู่ครัว คู่สุขภาพ คู่คุณ ด้วยส่วนผสมเข้มข้นสูงกว่าท้องตลาดทั่วไป 1 เท่าตัว
ตัวอย่างการปรุงอาหาร
ปริมาณเติม KuuNe คูเน่ ซอสผงปรุงรส หอมหัวใหญ่ (1 ช้อนโต๊ะ= 15 กรัม) | ||||||
ประเภท | ต้ม | ผัด | แกง | ทอด | หมัก | ยำ |
แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้ไข่ น้ำเดือด 1 ลิตร | 1 | |||||
ผัดผักรวมมิตรเห็ดหอม 1 จาน | ½ | |||||
แกงเขียวหวานเห็ดฟาง น้ำเดือด 1 ลิตร | 1 | |||||
ไข่เจียว 3 ฟอง | ½ | |||||
หมูทอด 1 ขีด (100g.) | ½ | |||||
ลาบไก่ 2 ขีด (200g.) | ½ |
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสในตลาดผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ Kuu Ne คูเน่ | |
ผลิตภัณฑ์ในตลาด | Kuu Ne คูเน่ |
1. ใช้ผงชูรส | 1. ไม่มีผงชูรส |
2. ใส่เนื้อสัตว์ | 2. ไม่มีเนื้อสัตว์ ผลิตจากการแปรรูปหอมหัวใหญ่ |
3. ปริมาณเนื้อสัตว์ 0.4% - 5.4% | 3. ปริมาณหอมหัวใหญ่ 17% |
4. ใช้วัตถุปรุงแต่ง กลิ่น สี และรสอาหาร | 4. ไม่ใช้วัตถุปรุงแต่ง กลิ่น สี และรสอาหาร |
5. ใช้สารเคมี และสารป้องกันการเกาะตัว | 5. ไม่ใช้สารเคมี ไม่มีสารป้องกันการเกาะตัว ธรรมชาติล้วนๆ |
6. คุณประโยชน์ต่อสุขภาพต่ำ | 6. มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคอ้วน ความด้น เบาหวาน |
| หัวใจ และต้านสารก่อมะเร็ง ด้วยหอมหัวใหญ่ อุดมด้วยสาร เบตาแคโรทีน กรดโฟลิค |
| และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน ทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น |
| 7. ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันนวัตกรรมใหม่ ซอสผงปรุงรสหอมหัวใหญ่ เพื่อสุขภาพ |
| ผ่านการตรวจผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร จากสถาบันอาหาร รวมถึง อย. และ ฮาลาล |
คูณประโยชน์จากเนื้อสัตว์ | คุณประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ |
เนื้อหมู ไก่ ให้โปรตีน ไขมันเพื่อเจริญ | เบต้าแคโรทีน ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ชะลอความเสื่อมของผิวพรรณ |
เติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดย | ฟลาโวนอยด์ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งริ้วรอย ลดความดัน เบาหวาน และการอักเสบ |
เฉพาะวัยเด็ก | กรดโฟลิค สร้างภูมิต้านทานโรค ดูดซึมไขมัน ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปรกติ |
โครงสร้างอนุภาคหอมหัวใหญ่อบแห้งจะเกาะตัวกันเป็นธรรมชาติ
โดยไม่ใช้สารเคมีป้องกันการเกาะตัว Non Anti Caking & Bulking Agent Chemical
..............................................................................